- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 1 month ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 1 month ago
- โลกธรรมPosted 1 month ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 1 month ago
- สลายความเกลียดชังPosted 1 month ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 1 month ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 1 month ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 1 month ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 1 month ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 1 month ago
เซียนแสตมป์โอลิมปิก / โดย ฟ้าใส

คอลัมน์ : โลกนักสะสม
ผู้เขียน : ฟ้าใส
การสะสมแสตมป์เป็นงานอดิเรกที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก เพราะแสตมป์เป็นสิ่งที่บอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นหรือเรื่องราวของบุคคลต่างๆได้ดี คนที่สะสมมีทั้งที่สะสมเป็นชุดหรือดวงที่ชอบทั่วๆไป และคนที่เลือกสะสมเฉพาะธีมที่สนใจ สำหรับกีฬาโอลิมปิก ประเทศต่างๆก็ออกแสตมป์มาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ และคนหนึ่งที่สะสมแสตมป์เกี่ยวกับโอลิมปิกโดยเฉพาะคือ แฟร์นานโด ฟรังซา ชาวบราซิล
มหกรรมกีฬาโอลิมปิกถือเป็นมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก สำหรับปี 2016 นี้เพิ่งจะเสร็จสิ้นไปไม่นานมานี้ พูดถึงเรื่องราวของโอลิมปิก นอกจากการติดตามชม ติดตามลุ้นการแข่งขันกีฬาแล้ว ยังเป็นเวทีของนักสะสมต่างๆมากมาย ทั้งเข็มกลัด สมุด รวมทั้งแสตมป์ที่ฟรังซาเลือกสะสม
“สำหรับผม การสะสมแสตมป์เกี่ยวกับโอลิมปิกทำให้การติดตามโอลิมปิกสนุกยิ่งขึ้น และในโอลิมปิกครั้งนี้ผมก็สนุกกับแสตมป์มาก” ฟรังซากล่าว
แสตมป์ที่เกี่ยวข้องกับโอลิมปิกมีทั้งที่เป็นภาพชนิดของกีฬา รวมทั้งมาจากหลายๆประเทศ ทั้งจากประเทศใหญ่ๆที่เป็นที่รู้จัก และประเทศเล็กๆอย่างบุรุนดี, กินีบิสเซา, เยเมน ฯลฯ
“แม้แต่ประเทศที่ส่งนักกีฬาน้อยมาก หรือบางครั้งไม่ได้ส่งนักกีฬาเข้าแข่งขัน ก็มักจะออกแสตมป์สำหรับโอลิมปิกออกมา ทั้งเพื่อโปรโมตการแข่งขัน หรือโปรโมตศิลปะในแบบของประเทศตนเอง”
ฟรังซากล่าวถึงแสตมป์โอลิมปิกที่เขาชอบชุดหนึ่งคือ แสตมป์โอลิมปิก 1984 (แข่งขันที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา) ที่ออกโดยญี่ปุ่น รวมทั้งแสตมป์โอลิมปิกที่กรุงลอนดอนปี 1948 และโอลิมปิกที่เบอร์ลินปี 1936 ซึ่งหายากมากๆ
สำหรับแสตมป์ที่ฟรังซาเก็บสะสมไว้ตอนนี้มีอยู่กว่า 4,000 ดวง มีทั้งที่เขาไปเดินซื้อหาจากร้านขายแสตมป์ หรือประมูลทางเว็บไซต์ต่างๆ
ฟรังโซขยายความว่า บราซิลมักจะออกแสตมป์เกี่ยวกับโอลิมปิกเมื่อใกล้จะถึงเวลาการแข่งขัน สำหรับ โอลิมปิก 2016 ที่ผ่านมา บราซิลก็ออกแสตมป์ และเขาก็ซื้อมา รวมทั้งยังได้ซื้อแสตมป์เกี่ยวกับโอลิมปิก 2016 จากประเทศอื่นๆด้วย
เรื่องการสะสมแสตมป์ ฟรังโซเปิดเผยว่าเป็นงานอดิเรกที่ได้รับความรู้และมีคุณค่ามาก แม้ปัจจุบันการส่งจดหมายอาจน้อยกว่าแต่ก่อน เพราะมีการสื่อสารช่องทางอื่นๆ เช่น ไลน์ อีเมล์ โทรศัพท์ แต่แสตมป์ก็ยังเป็นสิ่งที่มีคุณค่า เพราะบอกเล่าเรื่องราวต่างๆผ่านภาพ และนานไปมูลค่าของแสตมป์ก็จะยิ่งสูงขึ้น
You must be logged in to post a comment Login