- ปีดับคนดังPosted 35 seconds ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 day ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 2 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 3 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 6 days ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 7 days ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 1 week ago
- หนีกรรมไม่พ้นPosted 2 weeks ago
‘ซูจี’เตรียมเยือนทำเนียบขาว / โดย กองบรรณาธิการ
คอลัมน์ : รายงาน
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
ในระยะหลัง เมียนมาร์ ถือเป็นประเทศที่น่าจับตามอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของธุรกิจหรือการท่องเที่ยว เพราะเริ่มเปิดประเทศ ซึ่งสหรัฐอเมริกา ก็กำลังพิจารณาการผ่อนคลายเพิ่มเติมหรือยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรที่มีต่อเมียนมาร์ ในช่วงเวลาที่ นาง อองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมาร์ จะไปเยือนทำเนียบขาว
โดยตอนนี้ ประธานาธิบดี บารัก โอบามา ของสหรัฐอเมริกา กำลังร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม G20 ในจีน และจะเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออกในลาว กลางสัปดาห์นี้ ที่ซูจีอาจไปปรากฏตัวที่นั่น และตามกำหนดซูจีจะเดินทางเยือนกรุงวอชิงตัน ดีซี ในวันที่ 14-15 ก.ย. เพื่อพบหารือกับโอบามา รองประธานาธิบดีโจ ไบเดน สมาชิกสภาคองเกรส และผู้นำทางธุรกิจ โดยคาดว่าประธานาธิบดีบารัค โอบามา จะตัดสินใจขยายขอบเขตการคลายมาตรการคว่ำบาตรหลังการปรึกษาหารือระหว่างซูจีและฝ่ายบริหารของสหรัฐ โดยเรื่องที่พิจารณาคือเรื่องการค้า การลงทุน การพาณิยช์ และประเมินว่าควรทำสิ่งใดเพื่อปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนในเมียนมาร์ ทั้งหมดนี้อาจรวมถึงการให้เมียนมาได้สิทธิพิเศษทางภาษีเป็นการทั่วไป (จีเอสพี)
การเยือนวอชิงตัน ดีซี ของซูจีจะเป็นการเยือนครั้งแรกนับตั้งแต่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ตบเท้าเข้าสู่อำนาจหลังการเลือกตั้งเดือนพ.ย. 2015
สาเหตุที่สหรัฐ กระตือรือร้นที่จะขยายความสัมพันธ์กับเมียนมาก็เพื่อเพื่อรับมือจีนที่ขยายอิทธิพลในเอเชีย และช่วยให้นักธุรกิจสหรัฐ เข้าใช้ประโยชน์จากการเปิดตลาดที่เมียนมาร์ได้
งานนี้คงจะต้องรอดูว่าเมื่อถึงเวลาจริงๆแล้ว การพูดคุยจะลงเอยอย่างไร ซึ่งถ้าสำเร็จ ประโยชน์คงตกอยู่ที่เมียนมาร์อยู่เหมือนกัน
ก่อนหน้านี้ เมียนมาร์ เอง ก็เพิ่งสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและที่น่าชื่นใจไปทั่วโลก เมื่อพยายามสร้างความปรองดองในประเทศ โดยนาง ออง ซาน ซูจี เปิดประชุมเจรจาสันติภาพครั้งสำคัญ กับชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธ์ในประเทศ ถึง 17 กลุ่ม
โดยชนกลุ่มน้อยที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ เช่น กะเหรี่ยง คะฉิ่น ฉาน และว้า ถือเป็นความพยายามก้าว
สำคัญของรัฐบาลชุดใหม่ของเมียนมาร์ หวังให้ยอมวางอาวุธ ยุติการสู้รบเพื่อความสงบสุขให้เกิดขึ้นในประเทศ ยุติการสู้รบกับเจ้าหน้าที่ทางการที่ดำเนินมาหลายสิบปี โดยจะได้รับข้อแลกเปลี่ยน คือการที่ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้จะมีอำนาจมากขึ้นภายใต้ระบบสหพันธรัฐแบบใหม่
แต่ที่น่าสังเกตคือ การประชุมในครั้งนี้ ยกเรื่องความวิตกกังวลที่มากขึ้น เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยชาวโรฮีนจา ขึ้นมาพูดคุยด้วย
You must be logged in to post a comment Login