- ปีดับคนดังPosted 14 mins ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 day ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 2 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 3 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 6 days ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 7 days ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 1 week ago
- หนีกรรมไม่พ้นPosted 2 weeks ago
รัฐบาลหลังเลือกตั้ง? / โดย Pegasus
คอลัมน์ : เพื่อชาติประชาชน
ผู้เขียน : Pegasus
มี 2 พรรคการเมืองใหญ่ที่หวังว่าหลังการเลือกตั้งจะได้จัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศตามที่หาเสียงไว้ ถ้าเป็นพรรคประชาธิปัตย์ก็จะออกมาในแนวอนุรักษ์นิยม สนับสนุนทุนใหญ่ให้ขับเคลื่อนประเทศ ถ้าเป็นพรรคเพื่อไทยก็จะออกมาในแนวประชานิยม คือใช้งบประมาณส่วนใหญ่ไปในการให้สวัสดิการกับประชาชน
จากผลการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะมีคำครหาอย่างไรก็ตาม ทุกอย่างก็เงียบสนิท ผลคือจะมีกฎหมายลูกออกมาจำนวนมากที่จะมัดมือมัดเท้าพรรคการเมืองไม่ให้มีบทบาทต่อไปในอนาคตอย่างน้อย 20 ปีหรือมากกว่า โดยใช้ระบบราชการมาปกครอง มีผู้นำเป็นทหารที่จะเปลี่ยนหน้ากันมาเป็นนายกรัฐมนตรี หรือหากเป็นพลเรือนก็จะเป็นผู้ที่รัฐบาลทหารไว้วางใจ
ภาพที่ชัดเจนคือ การเมืองรูปแบบพม่าช่วง 40 ปีที่ผ่านมา การตกลงธุรกิจ นโยบายต่างๆ ต้องเข้าหาผู้นำทางทหารทั้งหน้าบ้านและหลังบ้าน
เงื่อนไข 2 ประการที่จะทำให้พรรคข้าราชการมีบทบาทต่อไปยาวนานในอนาคตได้แก่ การรัฐประหารได้โดยไม่ถูกลงโทษตามกฎหมาย เนื่องจากระบบของไทยสนับสนุนระบอบเผด็จการอย่างออกหน้าออกตา ดังนั้น ผู้ที่จะถูกลงโทษแทนที่จะเป็นผู้กระทำผิดกลับกลายเป็นผู้ทักท้วง เช่น คนปล่อยคลิป คนไปตรวจสอบทุจริตของหน่วยงานรัฐ คนที่เปิดเผยข้อมูลการกระทำผิดกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ ดังที่เห็นกัน
ประการที่สองคือ เงื่อนไขในทางการเมืองที่เกิดจากรัฐธรรมนูญ ซึ่งพรรคการเมืองเองไม่คัดค้านหรือพยายามคัดค้าน ทั้งการมี ส.ว.สรรหามาคุมรัฐสภา มีคณะกรรมการต่างๆมาคุมรัฐบาล แม้กระทั่งการเลือกตั้ง
มีคำพูดว่า “มีรัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้ง ไม่ได้หมายความว่าเป็นประชาธิปไตย” คำพูดนี้จะได้เห็นการเมืองในอนาคต เมื่อรัฐธรรมนูญให้ผู้ที่มาจากการแต่งตั้งคือข้าราชการและนายทุนเข้ามามีอำนาจเหนือประชาชนทั่วไป คืออำนาจไม่ได้อยู่ที่ประชาชนที่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย จึงควรเรียกว่า “คณาธิปไตย” ซึ่งเป็นรูปแบบเผด็จการแบบหนึ่งที่ทหาร ข้าราชการ และนักธุรกิจผูกขาด ร่วมกันใช้อำนาจรัฐและเศรษฐกิจแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรและแรงงานของประชาชน เพื่อความมั่งคั่งของกลุ่มตนเอง
รัฐธรรมนูญยังหลอกลวงประชาชนว่าเป็นประชาธิปไตย แต่ให้อำนาจข้าราชการและนักการเมืองที่มาจากการแต่งตั้งควบคุมรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่ประชาชนให้การสนับสนุน ถ้ารัฐบาลไม่ยอมอยู่ภายใต้เงื่อนไขก็จะถูกปลดออกง่ายๆ ถ้าเป็นรัฐบาลที่มาจากฝ่ายเดียวกันก็จะบริหารประเทศอย่างราบรื่น นี่คือคำว่า “มีรัฐธรรมนูญไม่ได้หมายความว่าเป็นประชาธิปไตย” เพราะประชาชนไม่สามารถกำหนดชะตาชีวิตของตนเองได้
ส่วนการเลือกตั้งก็จะเห็นได้จากการลงประชามติที่ผ่านมา เมื่อผู้จัดการเลือกตั้งไม่ต้องแสดงคะแนนและการนับคะแนน ตลอดจนไม่ยอมให้ประชาชนเข้าตรวจสอบได้ ก็อาจมี “คะแนนผี” แม้จะมีคลิปแสดงให้เห็นชัดเจนก็ไม่สามารถตรวจสอบเอาความอะไรได้
ยิ่งในอนาคตจะให้ข้าราชการจัดการเลือกตั้ง ให้ทหารและตำรวจมาเป็นผู้ดำเนินการ ก็น่าจะคาดเดาได้ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไร ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ฝักใฝ่เผด็จการก็สามารถเข้ามาเป็นสมาชิกรัฐสภาได้ง่ายขึ้น อาจใช้กลไกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชักจูงแกมบังคับให้ลูกบ้านมาลงคะแนนให้ หรืออาจให้สัญญาต่างๆมาสนับสนุนโดยไม่มีการตรวจสอบ แม้จะมีข่าว 5-10-15% ซึ่งน่าจะหมายถึงผู้เกี่ยวข้องระดับต่างๆก็ตาม แต่สุดท้ายเรื่องก็จะเงียบไปในที่สุด
“มีรัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้ง ไม่ได้หมายความว่าเป็นประชาธิปไตย” พรรคการเมืองที่หวังว่าการเลือกตั้งจะทำให้กลับมามีสิทธิมีเสียง จึงเป็นแค่ “ฝันกลางวัน” ขณะที่แกนนำก็อาจจะเข้าไปอยู่ในคุกก่อนวันเลือกตั้งด้วยซ้ำไป!
You must be logged in to post a comment Login