- ปีดับคนดังPosted 16 hours ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 2 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 3 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 4 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 7 days ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
- หนีกรรมไม่พ้นPosted 2 weeks ago
อย่างนี้สิโดน
คอลัมน์ : โลกวันนี้มีประเด็น
ยึดอำนาจเพื่อปฏิรูปประเทศมา 2 ปีกว่า ประชาชนเพิ่งจะรู้สึกและสัมผัสได้ว่าประเทศกำลังจะมีการปฏิรูปอย่างจริง
ที่สำคัญยังเป็นประเด็นโดนใจ ที่เมื่อทำได้ก็เรียกเสียงปรบมือได้รัวๆ
ประเด็นที่ว่านั้นคือการออกมาตรการ กฎหมาย เพื่อขจัดการทุจริตในทุกแวดวง ไล่ตั้งแต่เรื่องเล็กๆน้อยๆไปจนเรื่องใหญ่
ที่เรียกเสียงฮือฮาได้เป็นอย่างมากในตอนนี้คือ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดระหว่างประโยชน์ส่วนตัวกับประโยชน์ส่วนรวม หรือที่เรียกว่า “กฎหมาย 7 ชั่วโคตร” ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนรายละเอียดของคณะกรรมการกฤษฎีกา
คาดว่าจะส่งกลับให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ เมื่อผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก็จะส่งตรงเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อตราเป็นกฎหมายออกมาบังคับใช้
หลักการของร่างกฎหมายนี้เขียนขึ้นมาเพื่อสร้างระบบป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนในหลายแวดวง ทั้งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ครอบคลุมไปฝ่ายนักการเมือง องค์กรอิสระ อะไรที่ขึ้นชื่อเป็นหน่วยงานของรัฐ ใช้งบประมาณแผ่นดินอยู่ในข้อบังคับของกฎหมายนี้ทั้งหมด
โดยตัวกฎหมายวางกำหนดหลักเกณฑ์กลางไว้เป็นแนวทางให้แต่ละหน่วยงานไปกำหนดรายละเอียดข้อห้ามที่เหมาะสมกับหน่วยงานของตัวเองอีกชั้นหนึ่ง
ประเด็นที่ทำให้ร่างกฎหมายนี้โดนใจประชาชนและจะเรียกคะแนนให้รัฐบาลได้เป็นกระบุงโกย คือการห้ามทำในสิ่งที่ทำกันมาจนคุ้นชินของคนในแวดวงราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ
ยกตัวอย่างเช่น ห้ามเอารถหลวงไปใช้ในภารกิจส่วนตัว ห้ามนำเครื่องมือ อุปกรณ์ บุคลากรของหลวงไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว ประเภทใช้ลูกน้องไปยกของ ใช้หน่วยงานขนของเวลาย้ายบ้าน ไม่ว่าจะในเวลาราชการหรือนอกเวลาราชการก็ทำไม่ได้
นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามยิบย่อยไปถึงห้ามเอาซองจดหมายของหน่วยงานราชการไปในเงินช่วยงานกุศลต่างๆที่เป็นงานส่วนตัว ห้ามหยิบจับ ใช้ของหลวงทุกอย่างเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
ข้อห้ามนี้ไม่ได้บังคับเฉพาะคนที่เป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือว่าพนักงานของรัฐเท่านั้น แต่ครอบคลุมไปถึงบุพการี ลูกเมีย ญาติพี่น้องก็ห้ามมาหยิบยืมของหลวงเอาไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว
ต่อไปเราจะไม่ได้เห็นรถที่มีข้อความเขียนไว้ว่า “ใช้ในราชการเท่านั้น” ไปจอดอยู่ตามศูนย์การค้า หรือเบิกน้ำมันหลวงแล้วดูดออกไปใส่รถส่วนตัว หรือมีใช้สิทธิ์อยู่บ้านหลวงแต่ตัวไม่ได้อยู่ ให้ญาติพี่น้องมาอยู่หรือปล่อยเช่า ฯลฯ
เรื่องแบบนี้ประชาชนคลางแคลงใจมานาน เมื่อมีกฎหมายออกมาห้ามเป็นเรื่องเป็นราวจึงเป็นเรื่องที่ประชาชนพึงพอใจ และสรรเสริญรัฐบาลทหาร คสช.ที่กล้าทำ
นอกจากกฎหมาย 7 ชั่วโครตรที่จะออกมาแล้ว ล่าสุด ศาลรัฐธรรมนูญได้นัดประธานองค์กรอิสระ 5 แห่งมาจับเข่าวางกรอบเขียนมาตรฐานจริยธรรม ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 276 ที่ผ่านประชาประชามติ
มาตรฐานจริยธรรมที่จะกำหนดออกมาจะไปช่วยเสริมกฎหมาย 7 ชั่วโคตรให้เข้มข้นขึ้น
กฎหมาย 7 ชั่วโคตรเป็นข้อห้ามเรื่องการกระทำที่จับต้องได้ว่าไม่สมควร ส่วนมาตรฐานจริยธรรมจะเป็นข้อห้ามที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณ ศีลธรรม กิริยามารยาท
เมื่อทั้งสองเรื่องมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการประเทศนี้จะเต็มไปด้วยคนดีมีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริต
น่าจะเป็นการปฏิรูปบ้านเมืองที่เป็นรูปธรรมสัมผัสได้มากที่สุดตั้งแต่ทหารเข้ามายึดอำนาจปกครองประเทศดีกว่าไปเสียเงินจัดอีเวนต์เดินขบวน ปล่อยลูกโป่ง เปิดไฟ ฉีดน้ำไล่คนโกง
อะไรดีก็ต้องชื่นชม ขอปรบมือให้รัวๆ
You must be logged in to post a comment Login