- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 1 month ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 1 month ago
- โลกธรรมPosted 1 month ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 1 month ago
- สลายความเกลียดชังPosted 1 month ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 1 month ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 1 month ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 1 month ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 1 month ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 1 month ago
ยกเลิกคว่ำบาตร‘เมียนมาร์’ / โดย กองบรรณาธิการ

คอลัมน์ : รายงาน
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
นางอองซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมาร์ พบกับประธานาธิบดีบารัก โอบามา ของสหรัฐ ในกรุงวอชิงตัน ดีซี ซึ่งประเด็นสำคัญในการพูดคุยครั้งนี้คือการที่เมียนมาร์ร้องขอการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อเมียนมาร์ ขณะที่ ประธานาธิบดีบารัก โอบามา กล่าวว่า สหรัฐ พร้อมที่จะดำเนินการดังกล่าว และต้องการที่จะปรับความสัมพันธ์สู่ระดับปรกติกับเมียนมาร์
นอกจากการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรแล้ว สหรัฐได้ออกคำแถลงฉบับหนึ่งระบุว่า จะคืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร หรือ GSP ให้แก่เมียนมาร์ ที่เป็นการงดเว้นภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศยากจน และประเทศกำลังพัฒนา
เมียนมาร์ ถูกถอดชื่อจากกลุ่มประเทศที่ได้รับสิทธิประโยชน์ GSP เมื่อปี 1989 อันเนื่องจากเหตุปราบปรามรุนแรงต่อการลุกฮือของผู้สนับสนุนเรียกร้องประชาธิปไตยโดยรัฐบาลเผด็จการทหารในช่วงปีก่อนหน้านั้น ซึ่งหน้าที่สหรัฐ ระบุว่า พม่าจะกลับเข้าโครงการสิทธิพิเศษนี้อีกครั้งในวันที่ 13 พ.ย. ที่จะถึงนี้
“การคืนสิทธิประโยชน์เหล่านี้ รวมทั้งการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตร จะช่วยให้สหรัฐ ธุรกิจของเรา สถาบันที่ไม่แสวงหากำไรของเรา มีแรงจูงใจที่จะเข้าลงทุน และมีส่วนร่วมมากขึ้นในสิ่งที่เราหวังให้เป็นหุ้นส่วนที่เจริญรุ่งเรือง และเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นสำหรับเราในภูมิภาค” โอบามา กล่าว
นอกเหนือจากการได้พูดคุยกับ ประธานาธิบดี โอบามา แล้ว นางซูจี ยังได้พบหารือกับสมาชิกบางคนของสภาผู้แทนราษฎร รวมถึง นายจอห์น แคร์รี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ขณะเดียวกันที่ด้านนอกมีชาวเมียนมาร์มารอคอยให้กำลังใจอย่างอบอุ่น
แต่อย่างไรก็ตาม มีสมาชิกบางส่วนของสภาคองเกรสแสดงความรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในเมียนมาร์และรายงานด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศ พวกเขาได้เสนอร่างกฎหมายอย่างน้อย 2 ฉบับ ที่จะทำให้สมาชิกสภานิติบัญญัติมีอิทธิพลต่อกระบวนการการคลายมาตรการคว่ำบาตร
ซึ่งในการที่จะยกเลิกมาตรการคว่ำบาตร ผู้นำสหรัฐ จำเป็นที่จะต้องออกคำสั่งยุติการประกาศฉุกเฉินแห่งชาติต่อเมียนมาร์ที่ออกครั้งแรกในปี 1997 ซึ่งสนับสนุนบทลงโทษต่างๆ และถอนคำสั่งมาตรการคว่ำบาตรที่เกี่ยวข้องต่อเมียนมาร์ก่อนหน้านี้
แต่การยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรจะไม่นำไปใช้กับความช่วยเหลือทางทหาร ขณะเดียวกัน กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ระบุว่า ข้อจำกัดบางส่วนยังคงมีผลบังคับใช้ รวมทั้งการห้ามออกวีซ่าแก่ผู้นำทางทหาร
และแม้สหรัฐได้คลายมาตรการคว่ำบาตรบางส่วนกับเมียนมาร์ในปีนี้ เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปทางการเมือง แต่ยังคงข้อจำกัดส่วนใหญ่ด้วยมีเป้าหมายที่จะลงโทษผู้ที่ถูกมองว่าขัดขวางรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
หากการคว่ำบาตรได้รับการยกเลิกแล้ว น่าจะเป็นโอกาสอันดีของเมียนมาร์ ที่จะได้มีบทบาทมากขึ้นในประชาคมโลกอย่างแท้จริง
You must be logged in to post a comment Login