- ปีดับคนดังPosted 4 hours ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 day ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 3 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 3 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 7 days ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 1 week ago
- หนีกรรมไม่พ้นPosted 2 weeks ago
ดีแทคหนุนภูเก็ตเป็นศูนย์กลางธุรกิจดิจิทัล
นายสมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมธุรกิจและดีแทค แอคเซอเลอเรท บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นทางด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นหลัก ในขณะที่ ซิป้า (SIPA) สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟแวร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) ก็ระบุว่า ภูเก็ต สมาร์ทซิตี้ จะเน้นสร้างอุตสาหกรรมดิจิทัล ขึ้นมารองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาควบคู่กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ยั่งยืน ภูเก็ตมีประชากร 378,364 คน แต่มีนักท่องเที่ยวในปี 2557 สูงถึง 11,855,000 คน หรือคิดเป็น 3 เท่าของประชากรในพื้นที่ และในจำนวนนักท่องเที่ยวนี้เป็นชาวต่างชาติถึง 70% กิจการส่วนใหญ่เป็นของต่างชาติ จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการดึงชาวต่างชาติที่มีความชำนาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ามาจัดตั้งบริษัทหรือสาขาที่ภูเก็ต นอกจากการเติบโตด้านการท่องเที่ยว แล้วภูเก็ตยังได้ถูกกำหนดให้เป็น 1 ใน 9 ของซูเปอร์ คลัสเตอร์ (Super Cluster) หรืออุตสาหกรรมแห่งอนาคตสําหรับกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อสร้างความแข็งแกร่งด้านอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและเสริมศักยภาพในกลุ่มอุตสาหกรรมได้มากขึ้น และก้าวสู่การเป็นคลัสเตอร์ดิจิทัลอย่างแท้จริง
ดีแทค แอคเซอเลอเรท ได้ตระหนักถึงการเติบโตด้านการท่องเที่ยวและการสร้างอุตสาหกรรมดิจิทัลของภูเก็ต จากเหตุผลดังกล่าว ดังนั้นเพื่อสนับสนุนให้ภูเก็ตก้าวสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้ จึงได้ริเริ่มจัด ดีแทค แอคเซอเลอเรท และผองเพื่อนโรดโชว์ ที่จ.ภูเก็ต เมื่อเร็วๆนี้ และในงานสตาร์ทอัพและดิจิทัล ไทยแลนด์ครั้งนี้ก็ได้นำทีมสตาร์ทอัพ มาแชร์ประสบการณ์และสร้างความตื่นตัวให้กับผู้ประกอบการเทคสตาร์ทอัพในภูเก็ตโดยมีรูปแบบและวัตถุประสงค์ 3 ข้อคือ
1) เพื่อค้นหาสตาร์ทอัพช้างเผือก ที่มีบุคลิกหรือคุณลักษณะในการเป็นสตาร์ทอัพ ทั้งความปรารถนาอันแรงกล้า หรือ passion ความต้องการแก้ปัญหาให้กับคนหมู่มากในสังคม และประเทศชาติ มีสินค้าและบิสิเนสโมเดล ที่เป็นที่ต้องการของตลาด หรือตอบโจทย์เพนพ้อยท์ของตลาดได้
2) นำเอาองค์ความรู้ในบูธแคมป์ จากกูรูระดับโลกมาแชร์ให้เพื่อนๆสตาร์อัพในภูเก็ต ได้รับความรู้อย่างทัดเทียมกับสตาร์ทอัพในกรุงเทพฯ เพราะเราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง หลังจากที่ไปจัดงานมาเรารู้สึกได้ถึงพลังของสตาร์ทอัพคอมมูนิตี้ โดยได้รับความสนใจมาร่วมงานอย่างคับคั่ง โดยเฉพาะในภูเก็ต ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่มีผู้ประกอบการรุ่นใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเติบโตของสตาร์ทอัพ อีโคซิสเต็ม ชุมชนของเหล่าสตาร์ทอัพ และโคเวิร์คกิ้งสเปซ
3) สร้างความสัมพันธ์กับสตาร์ทอัพ คอมมูนิตี้ในระดับท้องถิ่น เพื่อช่วยภาครัฐในการผลักดันผู้ประกอบการธุรกิจรุ่นใหม่ในท้องถิ่นให้มีศักยภาพ รองรับการขยายตัวของธุรกิจในท้องถิ่น จังหวัด รวมถึงภูมิภาค การขยายตลาด AEC เป็นการพัฒนากระบวนการเริ่มขับเคลื่อนธุรกิจสายใหม่ๆที่เป็นนวัตกรรมให้กับประเทศ ซึ่งเป็นการดำเนินไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ว่า ไทยต้องผลิตนักรบเศรษฐกิจขึ้นมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้”
จากข้อมูลของ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในปัจจุบันมีสตาร์ทอัพ ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 500 ราย โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเทพ (80%) ภูเก็ต (5%) และเชียงใหม่ (10%) โดยมีกลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจหลากหลายด้าน อาทิ การท่องเที่ยวและโรงแรม ธุรกิจความงามและสุขภาพ กลุ่มธุรกิจเกษตรและอาหาร รวมถึงไอทีและดิจิทัลคอนเท้น
You must be logged in to post a comment Login