- ปีดับคนดังPosted 16 hours ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 2 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 3 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 4 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 7 days ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
- หนีกรรมไม่พ้นPosted 2 weeks ago
เทศมองไทยปราบแรงงานเถื่อน / โดย กองบรรณาธิการ
คอลัมน์ : รายงาน
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
สร้างความปั่นป่วนให้ประเทศเพื่อนบ้านพอสมควร สำหรับปฏิบัติการกวาดล้างแรงงานเถื่อนของไทย ซึ่งต่างด้าวที่เข้ามาประกอบอาชีพอิสระ ถูกมองว่าเข้ามา “แย่งอาชีพคนไทย” ก็อยู่ในข่ายถูกจับกุมด้วย
ปฏิบัติการปราบปรามแรงงานเถื่อน ซึ่งหลายครั้งมีการส่งผู้กระทำผิดกลับประเทศจำนวนมาก เป็นความเคลื่อนไหวที่สื่อเพื่อนบ้านเอเชียและอาเซียนหลายสำนักนำเสนอ รวมทั้งสื่อออนไลน์ภาคภาษาอังกฤษ Radio Free Asia (RFA)
อาร์เอฟเอมีสาขาอยู่ในเอเชียหลายประเทศ ประกอบด้วย จีน เกาหลีใต้ เวียดนาม และกัมพูชา เน้นนำเสนอข่าวภูมิภาคเอเชียเป็นหลัก
สำหรับปฏิบัติการกวาดล้างแรงงานเถื่อน และต่างด้าวที่เข้ามาประกอบอาชีพผิดกฎหมายของไทย อาร์เอฟเอเจาะเฉพาะกรณีของเวียดนามและกัมพูชา โดยนำเสนอข้อมูลส่วนหนึ่งที่ได้จากนายซิม นัมยุง เจ้าหน้าที่ประจำจังหวัดบันเตียเมียนเจย ซึ่งมีด่านพรมแดนอยู่ที่ปอยเปต ติดอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้วของไทย
ซิม นัมยุงระบุว่าไทยส่งกลับแรงงานเขมรอย่างน้อยวันละ 300 ราย เฉพาะเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาเดือนเดียว มีแรงงานเขมรถูกผลักดันกลับประเทศมากกว่า 4,000 ราย
แรงงานกัมพูชาที่ลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย และถูกจับกุมส่งกลับประเทศ ส่วนใหญ่เข้ามาทำงานก่อสร้าง
แตกต่างจากผู้กระทำผิดจากเวียดนาม ที่ส่วนใหญ่เข้ามาค้าขายในกลุ่มพ่อค้าแม่ค้ารถเข็นและมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง ขายผลไม้แช่เย็น ผลไม้ดอง ไส้กรอก และอาหารอื่นๆ
อาร์เอฟเอระบุว่า ไทยและเวียดนามทำบันทึกข้อตกลงเอ็มโอยู (MOU) กันเมื่อปีที่แล้ว โดยไทยอนุญาตให้ชาวเวียดนามเข้ามาประกอบอาชีพในประเทศได้เฉพาะภาคบริการและแรงงาน ทำให้ผู้เข้ามาประกอบอาชีพอิสระค้าขายถูกจับกุม
ด้านนายอารักษ์ พรหมณี อธิบดีกรมการจัดหางาน ให้สัมภาษณ์อาร์เอฟเอว่า ต่างด้าวที่มีความผิดมี 3 ประเภท คือผู้ลักลอบเข้าเมือง ผู้มีใบอนุญาตแต่เลือกทำงานประเภทที่ไม่อยู่ในกรอบอนุญาต และผู้อยู่ในประเทศนานเกินกำหนดวีซ่า
อธิบดีกรมการจัดหางานระบุว่า การแก้ปัญหาตอนนี้ใช้วิธีบุกค้นและจับกุมเพียงอย่างเดียว
ขณะนายซัม จันเกีย เจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชนกัมพูชา มองว่าปัญหาเกิดจากแก๊งนายหน้า หรือขบวนการค้ามนุษย์ ที่ลักลอบขนส่งแรงงานผิดกฎหมายเข้าไทย โดยคิดค่าหัวสูงสุดคนละประมาณ 3,500 บาท
ขณะแรงงานที่ต้องการพาสปอร์ต แก๊งนายหน้าก็สามารถจัดหาให้ได้ โดยคิดราคาประมาณ 2,600-3,500 บาท
อีกส่วนที่ซัม จันเกียมองว่าเป็นต้นตอของปัญหาคือ เจ้าหน้าที่ด่านพรมแดนกัมพูชาไม่เคยจับกุมหรือกวาดล้างแก๊งนายหน้าเลย
You must be logged in to post a comment Login