วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ก.อุตฯ เปิดมหกรรมวันนัดพบผู้ประกอบการ

On October 6, 2016

ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุ ตสาหกรรม กล่าวว่า ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาสู่ การเป็นประเทศอุ ตสาหกรรมและการยกระดับรายได้ ของประชากรในประเทศให้สูงขึ้ นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และยังนับได้ว่าเป็นประเทศที่น่ าลงทุนในระดับภูมิ ภาคจากการสำรวจของกลุ่มบริษัทข้ ามชาติ ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายส่งเสริ มการพัฒนาอุตสาหกรรมในระดับต่ างๆ ที่ทำให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็ นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่ประสบผลสำเร็จในการพั ฒนาสู่ระดับภูมิภาคและการเข้าถึ ง SMEs รายย่อยที่มีความต้องการในการส่ งเสริมเท่าที่ควร เนื่องจากความเจริญส่วนใหญ่ยั งคงกระจุกตัวอยู่ในจังหวัดใหญ่ ๆ ซึ่งการกระจายความเข้มแข็งเข้ าไปสู่ภาคธุรกิ จขนาดกลางและขนาดย่อมในระดับภู มิภาคนั้นถือเป็นการช่วยให้ ระบบธุรกิจมีการกระจายตัวได้สม่ำ เสมอ ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่ จะต้องปรับเปลี่ยนแนวทางเพื่อพั ฒนาภาคอุตสาหกรรมในกลุ่มดังกล่ าว เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจเกิ ดความสมดุล ทั้งนี้ยังคงต้องเร่งเพิ่มประสิ ทธิภาพและผลิตภาพ พร้อมทั้งการบริหารจัดการที่ดี และได้มาตรฐาน เพื่อให้ SMEs สามารถแข่งขันได้ท่ ามกลางสภาวการณ์ที่ต้องปรับตั วอยู่ตลอดเวลา รวมถึงสอดคล้องกับการเข้าสู่ การค้าเสรีที่เกิดขึ้นในปัจจุบั น

ดร.อรรชกา กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมอุ ตสาหกรรมดำเนินการจัดสัมมนาเชิ งปฏิบัติการเรื่อง “พลิกธุรกิจสู่อุตสาหกรรม 4.0 และ SME 4.0” พร้อมจัดมหกรรมวันนัดพบผู้ ประกอบการ ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่ วประเทศ โดยเป็นกิจกรรรมที่นำหน่ วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้ านการส่งเสริม SMEs เข้าร่วมเผยแผนการจัดการธุรกิจ การเผยแพร่โครงการ และการให้บริการในด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ ประกอบการทั้ง SMEs และ OTOP เพื่อเป็นการสร้างความรู้และพั ฒนาขีดความสามารถให้ผู้ดำเนินธุ รกิจมีความพร้อมเข้าสู่ยุคอุ ตสาหกรรม 4.0 สอดคล้องกับสถานการณ์และความต้ องการของบริบทประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดการเชื่ อมโยงไปในทิศทางเดียวกันอย่ างเป็นรูปธรรมและมุ่งไปสู่การพั ฒนาในทุกระดับทั่วภูมิภาคอย่ างยั่งยืน ทั้งนี้ กระทรวงฯ ตั้งเป้าให้ SMEs สามารถเข้าถึงบริการต่างๆ จากภาครัฐ ในปี 2560 ไม่ต่ำกว่า 6,000 ราย พร้อมมุ่งหวังให้สามารถใช้ ประโยชน์จากบริการเหล่านี้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพสามารถปิดจุ ดอ่อนในการดำเนินธุรกิจได้ต่อไป
อย่างไรก็ดี การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กั บระดับภูมิภาคของอุ ตสาหกรรมไทยนั้น ต้องใช้จุดแข็งที่มีอยู่ คือ การมีวัตถุดิบที่หลากหลายและมี คุณภาพ การมีแรงงานฝีมือ การมีภาคเกษตรและภาคบริการที่ เอื้อต่อการต่อยอดการพัฒนาห่ วงโซ่อุปทาน การมีทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปั ญญาไทยที่สามารถนำมาสร้างมูลค่ าเพิ่มให้สินค้าและบริการ ทั้งนี้ จุดแข็งดังกล่าวสามารถนำมาสร้ างความได้เปรียบต่างๆ ให้เกิดขึ้นได้อย่างหลากหลาย อาทิ การเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิ จและอุตสาหกรรม การเข้าถึงตลาดใหม่ๆ ในภูมิภาคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ฯลฯ โดยจะต้องมุ่งเน้นการพัฒนาอุ ตสาหกรรมด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่ มจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม การวิจัย และความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ ใช้ร่วมกัน ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ถือเป็ นเครื่องมือที่สำคัญ ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพทุกภาคส่ วนให้เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน ดร.อรรชกา กล่าวปิดท้าย

ด้าน ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวเสริมว่า ภาคตะวันออก ถือเป็นแหล่งอุตสาหกรรมระดับภู มิภาคที่สำคัญของประเทศ โดยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่ อมกว่า 226,000 ราย (ข้อมูลจาก สสว.) และถือเป็นฐานอุตสาหกรรมที่สำคั ญมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ เนื่องจากมีการลงทุนในอุ ตสาหกรรมขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก รวมถึงยังถือเป็นภูมิภาคที่มีศั กยภาพและโอกาสในการพัฒนาที่ หลากหลาย ทั้งโครงการเขตเศรษฐกิจภาคตะวั นออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ การมีโครงข่ายการคมนาคมขนส่งทั้ งทางบกและทางน้ำเชื่อมต่อกันอย่ างเป็นระบบ มีสภาพภูมิประเทศที่เอื้อต่ อการท่องเที่ยวและมีแหล่งท่ องเที่ยวที่มีชื่อเสียง รวมถึงเป็นแหล่งผลิ ตอาหารและการเกษตรที่สำคัญ โดยเฉพาะการเพาะปลูกผลไม้ และยางพาราที่สามารถรองรั บการบริโภค แปรรูป และส่งออก นอกจากนี้ยังมีความโดดเด่นในด้ านนวัตกรรมการผลิตที่ใช้ในภาคอุ ตสาหกรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจั ยและแนวทางอันดีที่เอื้ อประโยชน์ไปสู่การสร้างขี ดความสามารถในการแข่งขันของอุ ตสาหกรรมระดับประเทศให้มี ความเข้มแข็ง พร้อมเสริมสร้างให้มีการเชื่ อมโยงกับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซึ่งจะก่อให้เกิดผลต่อการปรั บโครงสร้างภาคการผลิตของอุ ตสาหกรรมได้ในระยะยาวต่อไป

ขณะเดียวกัน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เล็ งเห็นถึงศักยภาพของอุ ตสาหกรรมสำคัญใน 5 กลุ่ม SMEs ภาคตะวันออก ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ จากยางพาราและยางพาราดิบ กลุ่มผลไม้ กลุ่มสินค้าอาหารและเกษตรแปรรูป กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์อัจฉริยะ และกลุ่มสมุนไพรและเครื่องสำอาง ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้ถือเป็ นอุตสาหกรรมหลักที่ต้องเร่งผลั กดันและพัฒนาด้วยการยกระดับในด้ านประสิทธิภาพและการบริหารจั ดการให้เกิดขึ้นอย่างทั่วถึ งในภูมิภาค โดยยังพบปัญหาที่จำเป็นต้องเร่ งแก้ไข อาทิ การขาดแคลนแรงงานฝีมือ ปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำ ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเสื่ อมโทรม การเกิดภัยธรรมชาติ ปัญหามลพิษ และปัญหาด้านการพัฒนานวัตกรรม เป็นต้น ทั้งนี้ จำเป็นต้องสร้างนวั ตกรรมและการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีที่เหมาะสม การให้ความสำคัญกับการผลิตตามศั กยภาพของแต่ละพื้นที่ การเพิ่มผลิตภาพการผลิ ตตามกระแสการบริโภคที่ปลอดภั ยและได้มาตรฐานสากล อีกทั้งยังต้องให้ความสำคัญกั บคุณค่าของผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากภาคการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการแปรรูปผลไม้ รวมทั้งวัตถุดิบจากการประมงเพื่ อการส่งออก การแปรรูปยางพาราเพื่อเป็นวัสดุ ทดแทน ฯลฯ ซึ่งมีความเชื่อมั่นว่าหลังจาก SMEs ในภูมิภาคเกิดการปรับตัวและพั ฒนาศักยภาพผ่านโครงการต่างๆ ของภาครัฐแล้ว จะช่วยสร้างและกระจายความเข้ มแข็งให้กับเศรษฐกิจและอุ ตสาหกรรมในระดับมหภาคได้ในอนาคต


You must be logged in to post a comment Login