- อย่าไปอินPosted 3 days ago
- ปีดับคนดังPosted 3 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 4 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 6 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 6 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
ปตท.เผยแนวโน้มราคาน้ำมันจากปัจจัยบวก-ลบ
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยทีมวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ เผยถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปประจำสัปดาห์ที่ 31 ต.ค. – 4 พ.ย. 59 และแนวโน้มสัปดาห์ที่ 7-11 พ.ย.59 ว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ลดลง 3.37 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 47.11 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสฯ (WTI) ลดลง 4.10 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 45.52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) ลดลง 3.93 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 44.67 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในส่วนของราคาน้ำมันสำเร็จรูป ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ลดลง 3.78 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 60.79 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดีเซลลดลง 2.95 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 58.75 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
· นักลงทุนกังวลว่า OPEC จะไม่สามารถดำเนินการลดอุปทานน้ำมันตามข้อตกลงปลายเดือน ก.ย. 59 ที่ผ่านมา ในการประชุมระดับผู้เชี่ยวชาญ วันที่ 28 ต.ค. 59 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียโดยผู้ผลิตกลุ่ม OPEC ยังไม่สามารถตกลงรายละเอียดในการลดปริมาณการผลิตได้ อีกทั้งผู้ผลิตนอกกลุ่ม OPEC ได้แก่ อาเซอร์ไบจาน บราซิล คาซัคสถาน เม็กซิโก โอมานและรัสเซีย ไม่แสดงความประสงค์ร่วมมือลดกำลังปริมาณผลิตอย่างชัดเจน
· Reuters รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่ม OPEC ในเดือน ต.ค. 59 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 130,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 33.82 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำสถิติสูงสุดใหม่ในประวัติศาสตร์ จากอิรัก ไนจีเรียและลิเบียส่งออกเพิ่มขึ้น
· กระทรวงพลังงานรัสเซียรายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในเดือน ต.ค. 59 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 100,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 11.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดเป็นประวัติการณ์หลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย เนื่องจากผู้ผลิตดำเนินการลงทุนขุดเจาะเพิ่มขึ้นจากแรงสนับสนุนของเงินรูเบิลที่อ่อนค่าลง ทั้งนี้ Sberbank CIB ประเมินว่าการขุดเจาะช่วง 9 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2559 ขยายตัวจากปีก่อน 16%
· Baker Hughes Inc. รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมัน (Oil Rigs) ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุด 4 พ.ย. 59 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 9 แท่น มาอยู่ที่ 450 แท่น สูงสุดตั้งแต่เดือน ก.พ. 59
· EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 28 ต.ค. 59 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 14.4 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 482.6 ล้านบาร์เรล เพิ่มขึ้นรายสัปดาห์มากสุดเป็นประวัติการณ์ (มากกว่าที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดย Reuters ซึ่งคาดว่าเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเพียง 1.0 ล้านบาร์เรล)
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
· Reuter รายงานวันที่ 3 พ.ย. 59 กองกำลังติดอาวุธไม่ทราบสังกัดโจมตีท่อขนส่ง Trans Forcados ในไนจีเรียซึ่งใช้ลำเลียงน้ำมันดิบไปท่าส่งออก Forcados (ปริมาณส่งออกวันละ 400,000 บาร์เรลต่อวัน) อนึ่งท่อดังกล่าวกลับมาดำเนินการ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 2.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้การโจมตีล่าสุดทำให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบลดลง 200,000 บาร์เรลต่อวัน
· Reuters รายงานปริมาณผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งน้ำมันดิบในทะเลเหนือ 12 แห่ง เดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 171,000 บาร์เรลต่อวัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 38,000 บาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย. 59 68,000 บาร์เรลต่อวัน
แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ
ราคาน้ำมันดิบลดลงจากนักทุนลดการลงทุนในตลาดสินค้าล่วงหน้าจากความกังวลต่อผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันที่ 8 พ.ย. 59 โดยมีสัญญาณชี้ว่านาย Donald Trump จากพรรค Republican ซึ่งมีแนวนโยบายก้าวร้าวรุนแรง มีคะแนนตีตื้น นาง Hillary Clinton จากพรรค Democrat ซึ่งนำอยู่ ประกอบกับกระแสข่าวความตึงเครียดระหว่างซาอุดีอาระเบียกับอิหร่านทำให้ลดปริมาณการผลิตลำบาก โดย Reuters รายงานว่า ในการประชุมผู้เชี่ยวชาญ (Expert Committee) เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 59 ซาอุดีอาระเบียเตือนว่าจะปรับเพิ่มระดับปริมาณการผลิต หากอิหร่านปฏิเสธที่จะจำกัดอุปทานน้ำมัน แหล่งข่าวจาก OPEC รายงานปัจจุบันซาอุดีอาระเบียผลิตน้ำมันในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ 10.5-10.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน และเห็นว่าอิหร่านควรตรึงปริมาณการผลิต (Output Freeze) ที่ระดับ 3.66 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งประเมินล่าสุดโดย OPEC (Secondary sources) ขัดแย้งกับอิหร่านซึ่งต้องการได้รับการยกเว้น เนื่องจากพึ่งกลับมาผลิต หลังจากได้รับการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตร มีรายงานว่าอิหร่านต้องการจำกัดระดับการผลิตที่ 4.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยอิหร่านเห็นว่าซาอุดีอาระเบียเพิ่มปริมาณการผลิตเกือบ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 แต่กลับให้ประเทศสมาชิกอื่นๆ ลดปริมาณการผลิต ทั้งที่ซาอุดีอาระเบียได้ผลิตเพิ่มและได้รับรายได้เพิ่มไปแล้ว อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานแอลจีเรีย นาย Nouredine Bouterfa มั่นใจว่าสมาชิกในกลุ่ม OPEC จะยึดมั่นใน โดยคณะกรรมการทางเทคนิค (Technical Committee) ของ OPEC กำลังอยู่ระหว่างการจัดการประชุม ในวันที่ 25 พ.ย. 59 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ก่อนการประชุมสามัญ (ระดับรัฐมนตรี) ในวันที่ 30 พ.ย. 59 ทางด้านเทคนิคสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดิบ ICE Brent เคลื่อนไหวในกรอบ 43-47 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบ NYMEX WTI ที่ 41.5-45.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบดูไบ ที่ 40.5-44.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน
ราคาเฉลี่ยน้ำมันเบนซินลดลงจากโรงกลั่น Dung Quat (กำลังการกลั่น 130,000 บาร์เรลต่อวัน) ของเวียดนามกลับมาดำเนินการ หลังปิดซ่อมแซมจากเหตุท่อขนส่งขัดข้อง และ Platts รายงานบริษัท Petrochina ของจีนผลิตน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นโดยปรับสัดส่วนการผลิต น้ำมันดีเซล/ น้ำมันเบนซิน ช่วงไตรมาส 1-3/59 อยู่ที่ 1.41 จากเดิมที่ 1.72 ช่วงเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ตามอุปทานน้ำมันเบนซินในสหรัฐฯ ตึงตัว หลัง Colonial Pipeline Co. หยุดดำเนินการระบบท่อขนส่งบางส่วน เมื่อ 31 ต.ค. 59 เนื่องจากอุบัติเหตุระเบิดและเพลิงไหม้ ที่ Line 1 ทั้งนี้ บริษัทเป็นผู้ขนส่งน้ำมันสำเร็จรูปรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ โดยท่อดังกล่าวใช้ขนส่งน้ำมันเบนซิน ไปยังฝั่งตะวันออก (East Coast) ประมาณ 1/3 ของปริมาณการใช้ที่ 3.2 ล้านบาร์เรล ขณะที่โรงกลั่นน้ำมันหลายแห่งบริเวณ Gulf Coast ของสหรัฐฯ โดยเฉพาะในรัฐ Texas ยังอยู่ระหว่างการหยุดดำเนินการเพื่อซ่อมบำรุง ด้านปริมาณสำรองน้ำมัน Energy Information Administration (EIA) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุด 28 ต.ค. 59 ลดลง จากสัปดาห์ก่อน 2.2 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 223.8 ล้านบาร์เรล และ International Enterprise Singapore (IES) รายงานปริมาณสำรอง Light Distillates เชิงพาณิชย์ในสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 พ.ย. 59 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1.4 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 11.25 ล้านบาร์เรล สัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 57-61 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล
สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดีเซลปรับลดลงจาก Platts รายงาน Arbitrage ของน้ำมันดีเซลจากเอเชียและตะวันออกกลางสู่ตะวันตกปิด ในขณะที่ปริมาณสำรองในเอเชียอยู่ระดับสูง นอกจากนี้ผู้ค้ายังวิตกต่อการส่งออกของจีนซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังล่าสุดทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเดือน ก.ย. 59 ที่ 398,000 บาร์เรลต่อวัน และ โรงกลั่น Yokkaichi (132,000 บาร์เรลต่อวัน) ในญี่ปุ่น ของ Cosmo Oil Co. กลับมาเดินเครื่องหน่วยกลั่นน้ำมันดิบ หมายเลข 6 (85,000 บาร์เรลต่อวัน) เมื่อ 30 ต.ค. 59 หลังหยุดซ่อมบำรุงตั้งแต่ 20 ก.ย. 59 ประกอบกับ IES รายงานปริมาณสำรอง Middle Distillates เชิงพาณิชย์ในสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 พ.ย. 59 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 700,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 13.74 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม Platts รายงานความต้องการน้ำมันดีเซลของจีนเพิ่มขึ้น เพราะจีนเพิ่งเก็บสำรองหลังช่วงวันหยุด Golden Week (1-7 ต.ค. 59 ที่ผ่านมา) อีกทั้งยังมีแรงสนับสนุนจากภาคคมนาคมทั้งทางน้ำและทางบกจากฤดูห้ามทำการประมงใกล้สิ้นสุด และกฎหมายห้ามรถขนสินค้าบรรทุกน้ำหนักเกินขนาด (เริ่มใช้เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 59) ส่งผลให้เที่ยวรถขนสินค้าเพิ่มขึ้น ขณะที่ Japan Meteorological Agency (JAM) คาดการณ์สภาพอากาศช่วงฤดูหนาวในญี่ปุ่นช่วง ธ.ค. 59- ก.พ. 60 บริเวณภาคใต้มีโอกาส 40% ที่อุณหภูมิจะหนาวเย็น ทำให้ส่งผลให้ความต้องการ Kerosene เพื่อทำความอบอุ่นเพิ่มขึ้น ด้านปริมาณสำรองน้ำมันดีเซล EIA รายงานปริมาณสำรอง Middle Distillates เชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุด 28 ต.ค. 59 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1.8 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 150.6 ล้านบาร์เรล สัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดีเซลจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 55-59 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
You must be logged in to post a comment Login