- อย่าไปอินPosted 3 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 21 hours ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 2 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 3 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 4 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
‘คลินตัน’จะกลับมาชนะ? / โดย กองบรรณาธิการ
คอลัมน์ : รายงาน
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
มีการชุมนุมต่อต้านผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีในสหรัฐมากกว่า 10 เมือง โดยชุมนุมต่อเนื่องมาตั้งแต่รู้ผลอย่างไม่เป็นทางการ ตรงกับเวลาไทย 9 พ.ย.ที่ผ่านมา ว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งพรรครีพับลิกัน เป็นผู้ชนะ
ฝ่ายต่อต้านทรัมป์และเชียร์นางฮิลลารี คลินตัน แห่งพรรคเดโมแครต ชุมนุมประท้วงในหลายเมือง เช่น ที่นิวยอร์ก กรุงวอชิงตัน แอตแลนตา ชิคาโก ลอสแอนเจลิส ซานดิเอโก อินเดียแนโพลิส เดย์ตัน ซินซินเนติ โอคลาโอมาซิตี ซอลต์เลคซิตี โพรวิเดนซ์ และพอร์ทแลนด์
ส่วนใหญ่เป็นการชุมอย่างสงบ กดดันและเรียกร้องคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) โหวตให้คลินตันเป็นผู้นำสหรัฐแทนทรัมป์
ยกเว้นที่อินเดียแนโพลิสและพอร์ทแลนด์ ที่เกิดความรุนแรงขึ้น มีการปะทะกับตำรวจ ทุบกระจกอาคารและรถยนต์ ที่พอร์ทแลนด์ถึงขั้นกลายเป็นจลาจล
สำหรับผลการนับคะแนนล่าสุด ตรวจสอบถึงเย็นวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ซึ่งยังนับไม่ครบสมบูรณ์ คลินตันได้คะแนนจากประชาชน (Popular vote) นำทรัมป์อยู่ที่ 630,877 เสียง
ป๊อปปูลาร์โหวต เป็นคะแนนสะท้อนเจตนา ไม่ใช่การเลือกประธานาธิบดีโดยตรง
ส่วนคะแนนอย่างไม่เป็นทางการของผู้เลือกตั้ง (Electoral vote) ซึ่งเป็นผู้เลือกประธานาธิบดีโดยตรง คลินตันตามทรัมป์อยู่ที่ 232 ต่อ 290 เสียง
คะแนนของผู้เลือกตั้งดังกล่าว เป็นตัวเลขที่สื่อประเมินจากป๊อปปูลาร์โหวต ไม่ใช่ตัวเลขอย่างเป็นทางการ
โดยสื่อประเมินจากระบบเลือกตั้งว่า ผู้สมัครที่ได้คะแนนอีเล็กทอแรลโหวตเกินกึ่งหนึ่งคือ 270 เสียง จากจำนวนคณะผู้เลือกตั้งทั้งหมด 538 คน ถือเป็นผู้ชนะ
ทั้งนี้ คณะผู้เลือกตั้งมีกำหนดลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ วันที่ 19 ธันวาคมนี้
ฝ่ายต่อต้านผลการเลือกตั้ง เรียกร้องคณะผู้เลือกตั้งฟังเสียงประชาชนเสียงข้างมาก ด้วยการโหวตให้คลินตันแทน
มีการลงชื่อออนไลน์กว่า 3.6 ล้านชื่อ ส่งถึงคณะผู้เลือกตั้ง และอีกกลุ่มล่ารายชื่อทำหนังสือถึงคณะผู้เลือกตั้ง
ธรรมเนียมปฏิบัติของคณะผู้เลือกตั้งเท่าที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีตามระบบเลือกตั้งอย่างที่สื่อประเมินไว้ ไม่เคยมีการแหกกฎถึงขั้นได้ผู้ชนะคนใหม่มาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐ
อย่างไรก็ตาม ผู้เลือกตั้ง (Elector) ประจำคณะผู้เลือกตั้ง มีอิสระในการลงคะแนน โดยจะเลือกผู้สมัครคนใดก็ได้ ตามความต้องการของตน
ดังนั้น ความหวังสุดท้ายของฝ่ายชอบฝ่ายเชียร์คลินตัน จึงอยู่ที่ผู้เลือกตั้งว่า จะแปรพักตร์ (Faithless Elector) หันมาลงคะแนนให้คลินตันแทนทรัมป์หรือไม่ ในวันที่ 19 ธันวาคม
You must be logged in to post a comment Login