- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 1 month ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 1 month ago
- โลกธรรมPosted 1 month ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 1 month ago
- สลายความเกลียดชังPosted 1 month ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 1 month ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 1 month ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 1 month ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
กลุ่มเอเปกต้าน‘ทรัมป์’ / โดย กองบรรณาธิการ

คอลัมน์ : รายงาน
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
ผู้นำกลุ่มเอเปกแถลงปิดการประชุมประจำปี 2016 ที่ประเทศเปรูยืนยันจะร่วมมือกันต่อต้านการกีดกันทางการค้าการลงทุนทุกรูปแบบ
ด้วยเห็นว่าการกีดกันโดยไม่เปิดให้มีการแข่งขันอย่างเสรี จะทำให้สถานะเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมทั้งเศรษฐกิจโลกอ่อนแอ และเป็นตัวถ่วงทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้า
การประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) จำนวน 21 เขตเศรษฐกิจ มีสหรัฐและประเทศไทยรวมอยู่ด้วย ปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 24 ระหว่างวันเสาร์-อาทิตย์ (19-20 พ.ย.) ที่ผ่านมา ที่กรุงลิมาเมืองหลวงของประเทศเปรู
การประชุมปีนี้มีหัวข้อว่า “การเติบโตอย่างมีคุณภาพและการพัฒนามนุษย์” (Quality Growth and Human Development)
ผู้นำกลุ่มเอเปกได้ออกแถลงการณ์ร่วมหลังการประชุมว่า ชาติสมาชิกเอเปกต้องพัฒนาระบบการศึกษาให้มีคุณภาพดีขึ้นต่อเนื่อง และให้คนในชาติเข้าถึงระบบการศึกษา รวมทั้งการฝึกทักษะอย่างเท่าเทียมกัน
คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน และความเสมอภาคในสังคม คือปัจจัยสำคัญของการเติบโตอย่างมีคุณภาพ
ส่วนประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจของแถลงการณ์กลุ่มเอเปกยืนยันจะเป็นตลาดเปิด เป็นเขตเศรษฐกิจที่ส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรีต่อไป
ในขณะเดียวกัน กลุ่มเอเปกจะต่อต้านการกีดกันทางการค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น และเป็นสิ่งที่สร้างความกังวลให้กับโลกโดยจะใช้ทุกมาตรการ ทั้งนโยบายการเงิน งบประมาณ และด้านโครงสร้าง ต่อต้านการกีดกันทางการค้าการลงทุน
เอเปกมองว่า การเปิดตลาดเสรีทางการค้าการลงทุน จะช่วยให้มีการจ้างงาน การพัฒนาเทคโนโลยีมีความก้าวหน้า และประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
ในทางตรงกันข้าม การกีดกันทางการค้า จะทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจโลกด้อยประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นมาตรการที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้า
สำหรับคำแถลงที่ว่า “การกีดกันทางการค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น” มุ่งไปที่กรณีอังกฤษแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) และนายโดนัลด์ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ
ทั้งนี้ ทรัมป์ไม่เห็นด้วยกับนโยบายการค้าเสรีโดยมองว่าเป็นมาตรการที่ทำลายการจ้างงานในสหรัฐ และทำให้สินค้าสหรัฐเป็นรองด้านการแข่งขัน
อย่างไรก็ตาม กลุ่มเอเปกยืนยันว่าจะต่อต้านการกีดกันทางการค้าการลงทุนทุกรูปแบบ ไม่ว่าผู้นำใหม่สหรัฐจะชื่อ “ทรัมป์” หรือไม่ก็ตาม
You must be logged in to post a comment Login