- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 1 month ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 1 month ago
- โลกธรรมPosted 1 month ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 1 month ago
- สลายความเกลียดชังPosted 1 month ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 1 month ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 1 month ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 1 month ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 1 month ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 1 month ago
สหรัฐทิ้งTPP‘อาร์เซป’ยิ้ม

เขตการค้าเสรีภายใต้ข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) นำโดยอาเซียน และมีจีนเป็น “พี่เลี้ยงใหญ่”
ผงาดขึ้นมาโดดเด่นทันที เมื่อนายโดนัลด์ ทรัมป์ ยืนยันว่าจะนำสหรัฐถอนตัวจากข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement : TPP) ทันที หลังเข้าดำรงตำแหน่งผู้นำสหรัฐ
ทรัมป์ ซึ่งมีกำหนดเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอย่างเป็นทางการ วันที่ 20 มกราคมปีหน้า ระบุว่าทีพีพีเป็นข้อตกลงที่ทำลายการจ้างงานในสหรัฐอย่างร้ายกาจ จึงจำเป็นต้องถอนตัว โดยมีแผนทำสัญญาการค้ากับคู่ค้าเป็นรายประเทศ ระดับทวิภาคีแทน
ด้านนายกรัฐมนตรีชินโสะ อาเบะ แห่งญี่ปุ่น ระบุว่าทีพีพีไร้ความหมาย หากไม่มีสหรัฐเข้าร่วม ส่อถึงแนวโน้มที่ทีพีพีจะล้มไปในที่สุด หรือไม่ก็อยู่อย่างไร้พลังด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
จากความเคลื่อนไหวนี้ ทำให้อาร์เซป (RCEP) กลายเป็นเขตการค้าเสรีที่ได้รับความสนใจแทน
อาร์เซปประกอบด้วยสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจา 6 ชาติ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
นักวิเคราะห์ในต่างประเทศมองว่า การที่สหรัฐทิ้งทีพีพี นอกจากอาร์เซปกลายเป็นเป้าหมายใหม่ของหลายประเทศ ที่แสวงหาพันธมิตรด้านการค้า และตลาดส่งออก ซึ่งรวมทั้งเปรู และชิลี ที่แสดงความสนใจแล้ว
ยังถือเป็นโอกาสของจีน ที่จะเพิ่มบทบาทความเป็นผู้นำประชาคมโลกให้โดดเด่นยิ่งขึ้น เนื่องจากจีนเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนอาร์เซป
อย่างไรก็ตาม กรอบของอาร์เซปยังมีข้อจำกัดในรายละเอียดหลายอย่าง อีกทั้งไม่ครอบคลุมถึงประเทศในทวีปอเมริกาใต้และเหนือ
จึงเป็นไปได้ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง นำอาร์เซปผนวกรวมกับเขตการค้าเสรีเอเชียแปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia-Pacific : FTAAP)
เอฟทาป (FTAAP) เป็นข้อตกลงที่กลุ่มประเทศความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) อยู่ระหว่างการผลักดัน โดยจีนมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนข้อตกลงนี้ เช่นเดียวกับอาร์เซป
ถ้าข้อสรุปเป็นไปตามที่คาดไว้ในอนาคต ย่อมส่งผลดีต่อกลุ่มอาร์เซปที่จะมีตลาดส่งออกกว้างขึ้น มีประเทศคู่ค้าให้เลือกมากขึ้น
สำหรับประเทศไทย แน่นอนว่าขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า จะแสวงหาโอกาสจากตัวแปรดังกล่าวได้มากน้อยแค่ไหน
You must be logged in to post a comment Login