- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 3 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 4 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 6 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
ชาติเอเชียขาด‘คนเก่ง’
สถาบันจัดอันดับชื่อดังของโลก นำผลสำรวจปีล่าสุดในหัวข้อ “World Talent Ranking 2016” ออกมาติงชาติเอเชียรวมทั้งประเทศไทยว่า เสี่ยงเป็นฝ่ายแพ้การแข่งขันทางธุรกิจบนเวทีโลก
สถาบันพัฒนาการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development: IMD) แห่งนครโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ติงประเทศในเอเชียเป็นนัย ด้วยทำเนียบอันดับขีดความสามารถด้านการแข่งขันทางธุรกิจจำนวน 61 ประเทศ
ซึ่งปรากฏว่าประเทศในเอเชีย ติดอันดับท็อปเทนเพียงเขตเศรษฐกิจเดียวคือ ฮ่องกง โดยปรับจากอันดับ 12 เมื่อปีที่แล้ว ขึ้นมารั้งอันดับ 10
สิงคโปร์หลุดจากอันดับ 10 ลงไปรั้งอันดับ 15 มาเลเซียร่วงจากอันดับ 15 ลงไปรั้งอันดับ 19 ไต้หวันร่วงจากอันดับ 23 ลงไปรั้งอันดับ 24 ญี่ปุ่นร่วงจากอันดับ 26 ลงไปรั้งอันดับ 30 และจีนร่วงจากอันดับ 40 ลงไปรั้งอันดับ 43
ประเทศไทยร่วง 3 อันดันเช่นเดียวกับจีน จากอันดับ 34 ลงไปรั้งอันดับ 37
ส่วนประเทศรั้ง 3 อันดับแรก ประกอบด้วยสวิตเซอร์แลนด์ ตามด้วยเดนมาร์ก และเบลเยียมรั้งอันดับ 3
ไอเอ็มดี จัดอันดับ จากผลสำรวจความเห็นของนักธุรกิจระดับบริหารใน 61 ประเทศ จำนวน 4,300 คน บวกกับผลประเมินองค์ประกอบหลักของแต่ละประเทศ 3 อย่าง คือ (1)การพัฒนาและการลงทุน (2)การสร้างความน่าสนใจเพื่อดึงบุคลากรมีความสามารถจากต่างชาติ และ (3)ความพร้อมด้านบุคลากรมีความสามารถภายในประเทศ
ทั้ง 3 องค์ประกอบ ประเมินจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง เช่น การพัฒนาและการลงทุน ประเมินจากการลงทุนด้านการศึกษาของภาครัฐ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขอนามัยและการรักษาโรค และการฝึกลูกจ้าง
ขณะองค์ประกอบที่ 2 ประเมินจากบรรยากาศและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ เช่น ค่าครองชีพ อัตราภาษีเงินได้ส่วนบุคคล และเงินเดือน เป็นต้น ส่วนองค์ประกอบที่ 3 ประเมินจากแรงงานมีฝีมือ ระบบการศึกษา และการบริหารจัดการระบบการศึกษา เป็นต้น
ศาสตราจารย์อาร์ตูโร บริส ผู้อำนวยการศูนย์ WorldCompetitivenessCenter ของไอเอ็มดี มองกรณีที่ประเทศเอเชียได้คะแนนต่ำในการประเมินว่า มีสาเหตุหลักมาจากภาครัฐไม่ใส่ใจเท่าที่ควร ต่อการลงทุนด้านการศึกษา สำหรับพัฒนาบุคลากรให้มีความชำนาญในวิชาชีพ มีความรู้ความสามารถด้านธุรกิจ และเทคโนโลยี (Local talent)
บริส มองว่า หากชาติเอเชียยังละเลยการศึกษาสำหรับผลิตบุคลากรภายในประเทศให้มีคุณภาพ มีแนวโน้มสูงที่จะเป็นฝ่ายแพ้ในการแข่งขันทางธุรกิจบนเวทีโลก
You must be logged in to post a comment Login