- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 3 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 4 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 6 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
‘ผู้นำกีวี’ลาออกสวนกระแส
มีปรากฏการณ์ทางการเมืองโลกที่น่าสนใจกรณีหนึ่ง เกิดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ที่นิวซีแลนด์ ประเทศขนาดย่อมในซีกโลกใต้ มีประชากร 4.7 ล้านคน
นั่นคือนายกรัฐมนตรีจอห์น คีย์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเนชั่นแนล (National Party) และตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สร้างความตกตะลึงไปทั่วประเทศ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิด
ผู้นำแดนกีวี วัย 55 ปี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีติดต่อกัน 3 สมัย รวมเวลา 8 ปี ก้าวเป็นผู้นำได้รับความนิยมมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศนิวซีแลนด์ยุคใหม่
คีย์ให้เหตุผลถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ว่า ทำหน้าที่มานานแล้ว ถึงเวลาที่ควรมีการเปลี่ยนแปลง โดยระบุว่ามีตัวอย่างผู้นำหลายประเทศ ที่อยู่ในอำนาจนานเกินไป แล้วเกิดความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่
อีกเหตุผลหนึ่ง คีย์ระบุว่าต้องการใช้เวลาอยู่กับครอบครัว เนื่องจากขณะเป็นผู้นำแทบไม่มีเวลาว่างอยู่กับภรรยาและลูกเลย
คีย์เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์สมัยแรก เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ปี 2008 หลังนำพรรคชนะเลือกตั้ง โดยเป็นผู้นำแดนกีวีคนที่ 38
ตลอดระยะเวลา 8 ปี ที่เป็นผู้นำนิวซีแลนด์ คีย์ได้ใช้ความสามารถในฐานะอดีตนักลงทุนเงินตราต่างประเทศ มาขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ขยายตัวต่อเนื่อง
จนกระทั่งนิวซีแลนด์ก้าวเป็นประเทศเศรษฐกิจแข็งแกร่ง ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2008
ผลงานของคีย์ ช่วยให้เศรษฐกิจนิวซีแลนด์เติบโตกว่าปีละ 3% ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการขยายตัวด้านการท่องเที่ยว ภาคการก่อสร้าง และอุตสาหกรรมนม ขณะรัฐบาลมีรายได้เกินดุลงบประมาณ และมีการสร้างตำแหน่งงานต่อเนื่อง ทำให้อัตราว่างงานปัจจุบันต่ำกว่า 5%
ความสำเร็จด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้คีย์รักษาคะแนนนิยมได้สม่ำเสมอ
โพลหลายสำนักออกมาในทิศทางเดียวกันว่า คีย์จะนำพรรคชนะเลือกตั้งปีหน้า คว้าเก้าอี้ผู้นำสมัยที่ 4 ได้ไม่ยากนัก
แต่ในที่สุด คีย์ก็สวนกระแส สร้างเซอร์ไพรส์ด้วยการประกาศอำลาวงการ เป็นการโบกมือลาด้วยความสมัครใจ โดยไม่มีแรงกดดันทางการเมืองใดๆทั้งจากภายในพรรค และพรรคฝ่ายค้าน
การตัดสินใจ เกิดจากแรงกระตุ้นภายในที่ทำให้รู้สึกว่า “พอแล้ว เปิดโอกาสให้คนอื่นทำงานบ้าง”
ชาวนิวซีแลนด์ส่วนใหญ่ รวมทั้งผู้นำหลายประเทศที่รู้จักคีย์ รำพึงหลังการประกาศของคีย์ว่า “เสียดายคนดี”
You must be logged in to post a comment Login