- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 16 hours ago
- อย่าไปอินPosted 4 days ago
- ปีดับคนดังPosted 4 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 6 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 7 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
ฟ็อกซ์ฟ้องธนาคารกรุงเทพ 2,500 ล้าน
นายซูบิน กานเดเวีย ประธานบริษัท ฟ็อกซ์ เน็ตเวิร์ค กรุ๊ป ประจำภูมิภาพเอเชีย-แปซิฟิก และตะวันออกกลาง กล่าวว่า วันนี้ ฟ็อกซ์ เน็ตเวิร์ค กรุ๊ป เอเชีย (“ฟ็อกซ์”) ได้ยื่นเรื่องต่อศาล ที่ฮ่องกงและไทย ฟ้องธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (“ธนาคารกรุงเทพ”) กรณีไม่จ่ายแบงก์การันตีสำหรับค่าลิขสิทธ์การออกอากาศรายการของฟ็อกซ์ แทนบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) (“จีเอ็มเอ็ม”) และบริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) (“ซีทีเอช”) สองยักษ์ใหญ่ธุรกิจดิจิทัลทีวีที่ยุติการให้บริการไปแล้ว
ฟ็อกซ์ได้ทำสัญญาให้สิทธิ์ในการออกอากาศรายการต่างๆ แก่จีเอ็มเอ็ม และซีทีเอช ตั้งแต่ปี 2556 โดยทั้งสองบริษัทได้ค้างชำระค่าสิทธิ์การออกอากาศดังกล่าวเป็นมูลค่ากว่า 2,500 ล้านบาท และต้องชำระดอกเบี้ยกรณีจ่ายล่าช้า ซึ่งธนาคารกรุงเทพเป็นผู้ออกแบงก์การันตีเพื่อค้ำประกันการชำระเงินให้กับจีเอ็มเอ็ม และซีทีเอช และตั้งแต่ปี 2558 ธนาคารกรุงเทพ ไม่ได้ทำตามสัญญาเพื่อจ่ายแบงก์การันตีแทน 2 บริษัทดังกล่าวเลย
“ฟ็อกซ์ มีความผูกพันอย่างยาวนานต่ออุตสาหกรรมสื่อในประเทศไทย เรามุ่งมั่นที่จะนำเสนอรายการบันเทิง และรายการกีฬาระดับคุณภาพแก่ผู้ชมชาวไทย เรื่องนี้ทำให้เราผิดหวังเป็นอย่างยิ่งที่ธนาคารที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของประเทศไทยผิดสัญญาในการจ่ายแบงก์การันตี ซึ่งการผิดสัญญาในครั้งนี้ไม่เพียงจะส่งผลต่อฟ็อกซ์เท่านั้น แต่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาติที่มีต่อประเทศไทยอยู่ในระดับที่สูง”
เมื่อ 3 ปีที่แล้วคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เปิดประมูลใบอนุญาตการดำเนินกิจการทีวีดิจิทัล และสร้างรายได้ให้แก่รัฐกว่า 50,000 ล้านบาท โดยมีธนาคารกรุงเทพเป็นผู้ออกแบงก์การันตีรายใหญ่ที่สุดแก่ผู้ให้บริการทีวีดิจิทัลในประเทศไทย โดยออกแบงก์การันตีแก่ผู้ให้บริการจำนวน14 ราย จากทั้งหมด 24 ราย คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 20,000 ล้านบาท หรือราวร้อยละ 41 ของค่าลิขสิทธิ์ทั้งหมด
อย่างไรก็ตามผู้ชนะการประมูลต้องประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากการซื้อขายเวลาโฆษณาชะลอตัว อันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน อีกทั้งผู้ชมยังคงนิยมรับชมทีวีแบบอนาล็อก และเปลี่ยนมาดูทีวีแบบดิจิทัลในอัตราที่ต่ำอยู่มาก การยุติการให้บริการของทีวีดิจิทัลช่องต่างๆ นับเป็นการทดสอบระบบของธนาคารไทย เนื่องจากส่งผลให้บรรดาเจ้าหนี้ขอให้ธนาคารหลักหลายแห่งในประเทศไทยต้องจ่ายแบงก์การันตีแก่คู่สัญญา และผู้ผลิตหลายราย
ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา การซื้อเวลาโฆษณาในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยการซื้อเวลาโฆษณาผ่านช่องทีวีดิจิทัล ถือว่าต่ำมาก โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559 การซื้อเวลาโฆษณาผ่านทีวีดิจิทัล คิดเป็นมูลค่าราว 9,000 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การซื้อเวลาโฆษณาผ่านทีวีอนาล็อกลดลงร้อยละ 11 คิดเป็นมูลค่าราว 26,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากการบริโภคภายในประเทศที่ลดลง
“ความน่าเชื่อถือของธนาคาร ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดของการเป็นผู้ให้บริการทางการเงิน แบงก์การันตีที่ออกโดยธนาคารถือว่าเป็นเครื่องมือทางการเงินที่เป็นพื้นฐานต่อทั้งระบบการเงินและการพาณิชย์ของประเทศ ดังนั้น การทำหน้าที่ผู้ค้ำประกันตามสัญญา ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้ผู้ลงทุนเชื่อมั่นต่อธนาคารไทย การเพิกเฉยในการทำหน้าที่ดังกล่าว จึงถือเป็นความเสี่ยงต่อความน่าเชื่อถือของธนาคารกรุงเทพเอง” นายกานเดเวีย กล่าว
You must be logged in to post a comment Login