วันพฤหัสที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2568

ความจริงที่น่ากลัว!?/ โดย ทีมข่าวการเมือง

On December 19, 2016

คอลัมน์ : เรื่องจากปก
ผู้เขียน : ทีมข่าวการเมือง

กฎหมายที่เป็นประเด็นร้อนทางการเมืองและกระแสสังคมที่มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากขณะนี้คือ ร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ… (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์) และร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (พ.ร.ป.พรรคการเมือง) ซึ่งกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ มีผลอย่างมากต่อการเมืองไทยในอนาคต โดยเฉพาะเรื่องสิทธิเสรีภาพและการถ่วงดุลอำนาจทางการเมือง แม้จะมีการเลือกตั้งและรัฐบาลจากการเลือกตั้ง แต่ก็ต้องอยู่ใต้ร่มเงารัฐประหารผ่านรัฐธรรมนูญฉบับพิสดารและแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

2 พรรคใหญ่รุมค้าน กรธ.

ร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมืองที่จะใช้กับการเลือกตั้งมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าแผนยุทธศาสตร์ชาติ เพราะวางกฎเข้มให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและพรรคการเมืองต้องเป็น “เด็กดี” ไม่ออกนอกลู่นอกทางที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กำหนดไว้ ซึ่งร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมืองประกอบด้วย 10 หมวด 129 มาตรา หนึ่งในมาตราที่มีการคัดค้านอย่างมากคือ กำหนดให้สมาชิกพรรคการเมืองต้องชำระค่าบำรุงพรรคการเมืองปีละไม่น้อยกว่า 200 บาท ซึ่งพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ต่างก็เห็นว่าไม่สอดคล้องกับเจตนาของรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองให้มากที่สุด พรรคเพื่อไทยจึงไม่มาร่วมแสดงความคิดเห็นในเวทีของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ในวันที่ 14 ธันวาคม

นายคณิน บุญสุวรรณ ประธานคณะทำงานติดตามการร่างรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทย เห็นว่า ข้อบังคับให้สมาชิกพรรคการเมืองต้องจ่ายค่าบำรุงพรรคเป็นการกีดกันคนมีรายได้น้อยไม่ให้เป็นสมาชิก ส่วนข้อกำหนดที่ให้พรรคการเมืองที่ตั้งใหม่ต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 5,000 คน ภายใน 1 ปี มีสาขาพรรคอย่างน้อยภาคละ 1 สาขา และต้องเพิ่มสมาชิกเป็น 20,000 คนใน 4 ปี ก็ขัดแย้งกับที่ กรธ. บอกว่าไม่อยากเห็นนายทุนครอบงำพรรค

นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ชี้ว่า จะทำให้การจัดตั้งพรรคการเมืองมีข้อจำกัดและเงื่อนไขเรื่องเงินเพิ่มมากขึ้น ทำให้คนที่มีอุดมการณ์และอยากตั้งพรรคทางเลือกทำได้ยากขึ้น

ทำไมเบียร์ 3 ขวด 100 ซื้อได้?

ท่าทีของ 2 พรรคใหญ่ไม่ได้ทำให้ กรธ. มีแนวโน้มจะแก้ไขร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง โดยนายปกรณ์ นิลประพันธ์ หนึ่งใน กรธ. กล่าวถึงพรรคเพื่อไทยที่ไม่เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นว่า ใครไม่ร่วมเราไม่สนใจ เราทำใจเเล้ว และกล่าวถึงข้อกำหนดการจัดตั้งสาขาพรรคและการจ่ายเงินบำรุงพรรคว่า คนมีอุดมการณ์เดียวกันก็ต้องส่งเสริมให้มีส่วนร่วมและรวมกลุ่มกันจัดตั้งพรรคการเมืองได้มิใช่หรือ

“เงิน 100 บาท จะว่ามากก็มาก จะว่าน้อยก็น้อย เชื่อว่าพรรคเก่าๆไม่มีปัญหา เขากันเงินที่มีอยู่เดิมมาเป็นทุนประเดิมได้ ขนาดเบียร์ 3 ขวด 100 กว่าบาทยังซื้อกินได้ จะทำการเมืองแล้วยังบ่น สละเงินร้อยกว่าบาทไม่ได้ ผมว่าชีวิตอยู่ยากแล้ว”

นายปกรณ์ยืนยันว่า หัวใจหลักของกฎหมายพรรคการเมืองคือ โปร่งใส มีส่วนร่วม และตรวจสอบได้ ถ้าพรรคการเมืองยังยึดติดเเบบเดิมคงไม่เหมาะสมกับยุคนี้ ส่วนการกำหนดโทษ ใครผิดก็ต้องรับโทษ แต่ไม่มีเหมารวมให้ยุบพรรคเหมือนในอดีต ถ้าไม่ทำผิดก็ไม่เห็นต้องกลัว สำหรับโทษประหารกรณีซื้อขายตำแหน่งนั้นก็อยู่ที่ศาล ซึ่งในประมวลกฎหมายอาญาก็กำหนดโทษลักษณะนี้กับข้าราชการ ที่ผ่านมาก็ไม่มีใครบ่น แล้วนักการเมืองมาบ่นทำไม

พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เห็นว่า การกำหนดโทษถึงขั้นประหารชีวิตนั้นทำเหมือนพรรคการเมืองเป็นอาชญากร ทั้งที่ควรดึงให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยให้ได้มากที่สุด ไม่ใช่กำหนดบทลงโทษที่รุนแรงหรือสร้างเงื่อนไขและข้อจำกัดมากมาย

พ.ร.บ.คอมพ์ยิ่งกว่าฝันร้าย

พ.ร.ป.พรรคการเมืองไม่ใช่แค่พยายามบอนไซและควบคุมพรรคการเมืองเท่านั้น แต่ประเด็นสำคัญคือเรื่องสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เต็มไปด้วยเงื่อนไข เช่นเดียวกับสิทธิเสรีภาพภายใต้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่าน 2 วาระรวดในการประชุมเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม และพิจารณาวาระ 3 ในวันที่ 15 ธันวาคม ซึ่งเชื่อว่าร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จะผ่านแน่นอน

เครือข่ายพลเมืองเน็ตและโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) รณรงค์ให้ประชาชนคัดค้านไปยัง สนช. หรือผู้มีอำนาจให้ชะลอหรือยับยั้งการพิจารณากฎหมายฉบับนี้ ซึ่งโลกโซเชียลแห่ต้าน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์กว่าแสนคนแล้ว และเครือข่ายพลเมืองเน็ตนำไปยื่นค้านก่อนการประชุม สนช. วันที่ 15 ธันวาคม

ขณะเดียวกันในโลกโซเชียลมีการโพสต์ แท็ก และแชร์สรุปเนื้อหาผลกระทบที่จะเกิดต่อสิทธิเสรีภาพจากร่างกฎหมายฉบับนี้ ตลอดจนส่งอีเมล์เรียกร้องไปยัง สนช. และผู้ที่เกี่ยวข้องตามแนวทางการรณรงค์ของ iLaw

ขณะที่กลุ่มพลเมืองต่อต้าน Single Gateway ประกาศต่อต้านการทำสงครามไซเบอร์ทุกรูปแบบโดยโพสต์พร้อมภาพ “ขออยู่อย่างอิสรชน ไม่ใช่ทาส…” ถึงความเลวร้ายที่จะตามมา อาทิ เพจต่างๆที่ทำหน้าที่เป็นสื่อเสรีจะเป็นเพจผิดกฎหมายทันที คนแชร์ คนไลค์ก็ผิดกฎหมายด้วย เจ้าหน้าที่รัฐสามารถบังคับให้ผู้ให้บริการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของคนโพสต์ คนไลค์ คนแชร์ ข่าวสารต่างๆในโลกออนไลน์จะหายไปมากกว่า 90% โทรศัพท์ สมาร์ตโฟนคือของกลาง ต้องระวังการถูกจับถูกตรวจค้น ข้อมูลส่วนตัวจะไม่ปลอดภัยอีกต่อไป ฯลฯ

นอกจากนี้การบล็อกเว็บด้วย “มาตรการทางเทคนิค” ตามประกาศกระทรวงดิจิทัลฯข้อ 8 ที่จะประกาศใช้ตามอำนาจมาตรา 20 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ทำให้ไอเอสพีเห็นข้อมูลส่วนบุคคลทั้งแชต ธุรกรรมออนไลน์ในการโอนเงิน ซื้อของ คุยกับแฟน คุยกับพ่อแม่ ฯลฯ และยังให้กระทรวงดิจิทัลฯตั้ง “ระบบคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง” (Single Gateway) ให้เจ้าหน้าที่ระงับหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้เอง โดยระบบดังกล่าวอาจเชื่อมโยงกับผู้ให้บริการแต่ละราย

นายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวถึงการคัดค้านร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ว่า ก่อนหน้านี้ได้ส่งรายชื่อให้ สนช. ทบทวนถึง 40,000 ชื่อ แต่ร่างกฎหมายนี้ก็ไม่ได้รับการแก้ไข ที่แย่กว่าคือ กฎหมายใหม่ไม่ใช่แค่การปิดกั้นเว็บไซต์ แต่ให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถเข้าถึงข้อมูลการสื่อสารของประชาชนทั้งหมดได้

“การคัดค้านร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์รอบนี้ทำให้เกิดกระแสตื่นตัวอย่างกว้างขวาง สามารถรับรู้ได้ว่ามันจะกระทบกับคนทุกคน จึงต้องการทราบว่า สนช. ต้องการทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติหรือเพื่อตัวเอง สนช. จะลงมติเห็นชอบทั้งที่ประชาชนจำนวนมากนอกสภายังคัดค้านหรือไม่ แม้วาระแรก สนช. จะลงมติเห็นชอบร่างกฎหมายนี้ด้วยคะแนน 160 ต่อ 0 แต่อย่างน้อยก็ยังแอบหวังว่าจะมีสมาชิก สนช. สักคนอภิปรายคัดค้าน เพื่อบันทึกไว้ให้ง่ายต่อการเสนอปรับแก้ไขในภายหลัง”

คดีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อย้อนไปช่วงรัฐประหารปี 2549 กฎหมายแรกที่ถูกผลักดันให้ผ่าน สนช. คือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยมีการอภิปรายถึงความจำเป็นเพื่อให้ครอบคลุมอาชญากรรมอันกระทำผ่านระบบคอมพิวเตอร์อย่างการแฮกหรือฟิชชิ่ง และเมื่อมีการนำมาใช้กลับใช้มาตรา 14 (1) ฟ้องร้องในคดีหมิ่นประมาทผ่านระบบคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ซึ่ง iLaw ได้วิจัยผลกระทบจาก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และนโยบายของรัฐกับสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ปรากฏว่าระหว่างเดือนกรกฎาคม 2550 ถึงธันวาคม 2554 มีคดีความทั้งสิ้น 325 คดี โดยคดีที่ขึ้นสู่ชั้นศาลเป็นคดีที่เกี่ยวกับการเผยแพร่เนื้อหาร้อยละ 66.15 ส่วนคดีที่กระทำต่อตัวระบบหรืออาชญากรรมคอมพิวเตอร์โดยแท้มีเพียงร้อยละ 19 เท่านั้น

ขณะที่ข้อมูลจากสำนักงานศาลยุติธรรมระบุว่า ข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่เข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลเพิ่มขึ้นจาก 6 ข้อหาในปี 2554 เป็น 13 ข้อหาในปี 2555, 46 ข้อหาในปี 2556, 71 ข้อหาในปี 2557, 321 ข้อหาในปี 2558 และ 399 ข้อหา (มกราคม-สิงหาคม 2559) ซึ่งที่ผ่านมามีการสัมมนารับฟังความคิดเห็นเพื่อแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะมาตรา 14 เพื่ออุดช่องว่างเรื่องปลอมแปลงเอกสารและฉ้อโกง และในมาตรา 16 ที่มีเนื้อหาคล้ายกฎหมายหมิ่นประมาทอยู่แล้ว แต่มาตรา 14 (2) กลับเพิ่มฐานความผิดในลักษณะกว้างขวางมากขึ้น ทำให้วิตกว่าในอนาคตประชาชนจะไม่สามารถโพสต์วิจารณ์นโยบายรัฐหรือตรวจสอบการทุจริตใดๆได้เลย

นอกจากนี้ยังมีมาตรา 15 เรื่องภาระความรับผิดของตัวกลาง เดิมกำหนดให้ตัวกลางหรือผู้ให้บริการ (ซึ่งมีนิยามกว้างขวางตั้งแต่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เจ้าของเน็ตคาเฟ่ ตลอดจนเจ้าบ้านที่ปล่อยสัญญาณไวไฟ) ต้องรับผิดเท่ากับผู้โพสต์ ต่อมามีความพยายามแก้ไขโดยกำหนดว่าจะเอาผิดกับผู้ให้บริการที่ “ให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจ” ซึ่งเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ยาก ทั้งระบุว่า หากมีผู้แจ้งแล้วนำข้อมูลออกจะไม่ต้องรับโทษ แต่ในร่างประกาศกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกลับเปิดให้ใครก็แจ้งลบได้ โดยที่ผู้ให้บริการต้องลบใน 3 วัน อาจส่งผลให้เกิดการเซ็นเซอร์ตัวเองไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัย

มาตรา 20 เปิดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ขอให้ศาลสั่งบล็อกเว็บได้ มีการเพิ่มความผิดตามกฎหมายอื่นๆ เช่น กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา หรืออื่นๆ ซึ่งส่งผลให้เกิดการบล็อกอย่างกว้างขวางเช่นกัน

มาตรา 20/1 เพิ่มคณะกรรมการกลั่นกรองจำนวน 5 คน ทำหน้าที่ส่งเรื่องต่อศาลพิจารณาบล็อกเว็บที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน คำถามคือจะมีเกณฑ์อย่างไร เนื่องจากไม่ได้อิงกับกฎหมายใดๆเลย

มาตรา 26 กำหนดว่าในกรณีจำเป็น เจ้าหน้าที่อาจสั่งให้ผู้ให้บริการเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการ จากเดิมไม่เกิน 90 วัน เป็นไม่เกิน 2 ปี รวมถึงมาตรา 18 ให้อำนาจเจ้าหน้าที่สั่งให้เก็บข้อมูลที่เป็นหลักฐานในการกระทำความผิดเอาไว้ก่อนได้โดยไม่ได้กำหนดระยะเวลา

มาตรา 18 และ 19 มีการขยายฐานอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจค้นตรวจสอบ จากเดิมที่มีเฉพาะในความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ แต่ร่างใหม่ให้รวมถึงความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย

เสรีภาพที่น้อยลง

นายอาทิตย์กล่าวถึงความผิดตามมาตรา 112 จากผู้ใช้ในโลกโซเชียลว่าอาจไม่ได้ต่างจากเดิมมากนัก เพราะอย่างไรรัฐก็ใช้ทรัพยากรตามจับอยู่แล้ว และคนทั่วไปก็อยู่กับสถานการณ์แบบนี้มานานแล้วนับแต่หลังรัฐประหาร 2557 แม้ไม่มี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ใหม่ ก็มีประกาศ คสช. แต่สิ่งที่ต่างคือ สเกลที่ใหญ่ขึ้น มีการใช้เครื่องไม้เครื่องมือในการตามจับได้สะดวกขึ้น

แม้แต่ความเห็นทั่วไปที่วิจารณ์ธุรกิจ หรือกลุ่มคนต่างๆพูดถึงนักการเมืองหรือภาครัฐ ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย หากมีใครไม่พอใจก็ใช้ พ.ร.บ.คอมพ์ฉบับใหม่ฟ้องร้องกล่าวหาได้ หรือไม่ผิดกฎหมายก็สามารถบล็อกเว็บได้ ทั้งยังขยายไปถึงเรื่องลิขสิทธิ์ที่สามารถตีความให้ครอบคลุมเรื่องอื่นๆได้คือ “ขอบเขตของกฎหมายมันกว้างขึ้น ขอบเขตการควบคุมมากขึ้น ขอบเขตของเสรีภาพย่อมน้อยลง”

นายอาทิตย์ยังระบุถึงการตั้งศูนย์บล็อกว่า จะทำให้มีการปิดกั้นอย่างกว้างขวาง จากเดิมที่อาจมีขั้นตอน ต้องเดินทาง มีค่าใช้จ่ายในการกรอกแบบฟอร์ม เมื่อเป็นแบบรวมศูนย์ เจ้าหน้าที่สามารถทำทุกอย่างในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ ส่งทีเดียวถึงทุกไอเอสพีก็ทำได้อย่างสะดวก การบล็อกหรือปิดกั้นเว็บหรือตัวเนื้อหาต่อไปนี้จึงเชื่อว่าจะมีการควบคุม ระงับ และลบมากขึ้น

ส่วนการใช้ดุลยพินิจและความสม่ำเสมอของคณะกรรมการกลั่นกรองเพื่อส่งเรื่องขอคำสั่งบล็อกต่อศาลนั้น เปลี่ยนจากการใช้มติเอกฉันท์เป็นเสียงข้างมาก ซึ่งจะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลง เพราะไม่ใช่แค่ความไม่ยุติธรรมในแง่เสรีภาพในการแสดงออก แต่อาจมีการเลือกปฏิบัติเพิ่มขึ้น เพราะเปิดให้มีการตีความได้มากขึ้น ผู้ประกอบการที่สามารถเข้าถึงคณะกรรมการที่มีอำนาจตัดสินใจก็อาจได้เปรียบมากกว่ารายเล็กๆ

น.ส.สฤณี อาชวานันทกุล หนึ่งในเครือข่ายพลเมืองเน็ต ซึ่งรณรงค์ให้แก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตั้งแต่เริ่มใช้ปี 2549 กล่าวว่า อาจกล่าวได้ว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่เป็นฉบับที่เลวร้ายที่สุดในสามโลก แม้หลายคนจะพูดว่าไม่ต้องกลัว ผู้บริสุทธิ์จะไม่เดือดร้อน แต่เกือบ 10 ปีที่มีกฎหมายนี้มาไม่แย่เท่าฉบับที่แก้ไขใหม่ ทั้งยังมีข้อมูลสถิติมากมายว่าถูกใช้เพื่อการกลั่นแกล้ง คุกคาม หรือปิดปากคนวิพากษ์รัฐ มากกว่าใช้ปราบอาชญากรรมคอมพิวเตอร์หลายเท่า ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ยอมรับว่า คดีมาตรา 14 (ถูกใช้ควบกับกฎหมายหมิ่นประมาท) มีคนมาฟ้องและยังไม่ถึงศาลอีกกว่า 1,400 คดี

น.ส.สฤณียังกล่าวในบทความ (เว็บไซต์ The Momemtum) ว่า ในโลกจริงที่ชื่อประเทศไทย หลังรัฐประหาร พ.ศ. 2557 ลำพังการวิพากษ์วิจารณ์เผด็จการทหาร การโพสต์ภาพขันแดงจากอดีตนายกรัฐมนตรี หรือเป็นแอดมินเพจล้อเลียน หรือเพจวิพากษ์วิจารณ์รัฐ ก็ถูกทางการจับกุมในข้อหายุยงปลุกปั่น นำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงได้ทั้งสิ้น

ยังไม่นับว่าการบล็อกเนื้อหาตามร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่จะทำให้ผู้ประกอบการมองเห็นข้อมูลส่วนบุคคลของเราทั้งหมด ตั้งแต่การแชต ซื้อของออนไลน์ อีเมล์ ฯลฯ เพราะมอบอำนาจให้กระทรวงดิจิทัลฯสามารถออกมาตรการทางเทคนิคใดๆก็ได้เพื่อให้ผู้ประกอบการบล็อกเนื้อหา แปลว่ามีอำนาจ “ถอดรหัส” การสื่อสารได้ทุกกรณี โลกแห่งความจริงบางครั้งก็เลวร้ายยิ่งกว่าโลกในเกมมากมาย

ความจริงที่เลวร้าย

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์และ พ.ร.ป.พรรคการเมืองจึงสะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยภายใต้ระบอบพิสดารนั้น มีการพยายามออกกฎหมายต่างๆเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมฝ่ายที่เห็นต่างหรือเป็นปรปักษ์กับผู้มีอำนาจ โดยอ้างความมั่นคงและศีลธรรมของเหล่า “คนดี” แต่ก็หนีไม่พ้นข้อครหาเรื่องอำนาจและผลประโยชน์ ซึ่งเชื่อว่ากลุ่มผู้มีอำนาจต้องการอยู่ในอำนาจให้นานและยั่งยืนที่สุด แต่ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะอยู่ได้ตลอดชาติ และที่สำคัญธรรมชาติของการเมืองไม่ว่าระบอบใดก็ต้องมี 2 ขั้วที่ต่อสู้กัน เมื่อฝ่ายหนึ่งมีอำนาจ อีกฝ่ายก็ไม่มีอำนาจ

การออกกฎหมายและมาตรการต่างๆที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม หรือเพียงเพราะความเกลียดชังเคียดแค้นเพื่อทำลายฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ในที่สุดก็ต้องถูกยกเลิกไปตามกาลเวลา จะช้าหรือเร็วเท่านั้น อย่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์และ พ.ร.ป.พรรคการเมือง ไม่มีวันจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนหากอยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะผิดทั้งหลักการนิติรัฐ นิติธรรม และหลักสิทธิเสรีภาพ

แม้วันนี้กฎหมายจะรับใช้ผู้มีอำนาจ แต่ในอนาคตเมื่ออำนาจมีการเปลี่ยนแปลง ขั้วอำนาจใหม่ก็จะนำกฎหมายนั้นมาเล่นงานกลุ่มอำนาจเดิมและบรรดากองเชียร์ทั้งหลาย การใช้อำนาจกฎหมายหรือกลไกต่างๆที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม สุดท้ายก็จะกลับมาเล่นงานผู้ใช้อำนาจนั้นเอง เหมือนบรรยากาศบ้านเมืองที่สงบเงียบขณะนี้ เพราะอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ที่มาจากการรัฐประหาร อำนาจภายใต้กระบอกปืนที่ไม่มีใครกล้าจะออกมาคัดค้าน ทำให้ผู้มีอำนาจจะพูด จะคิด จะทำอะไรก็ได้

บ้านเมืองวันนี้จึงไม่ได้สงบเรียบร้อยและสงบสุขจากความสามัคคีปรองดอง แต่เกิดจากความกลัวมากกว่า รัฐประหารจึงไม่ได้แก้ปัญหาที่แท้จริงของบ้านเมืองอย่างที่กล่าวอ้าง ทั้งยิ่งทำให้เกิดวัฏจักรความเกลียดชังและเคียดแค้นไม่สิ้นสุด

วงจรอุบาทว์ก็จะยังเกิดซ้ำซากไม่รู้จักจบจักสิ้น

สังคมไทยวันนี้ ไม่ว่าโลกออนไลน์หรือโลกแห่งความจริงจึงเลวร้ายและน่ากลัวยิ่งนัก!??


You must be logged in to post a comment Login

Казино левлучший портал для азартных игроков
Игровые автоматызахватывающая игра начинается сейчас
azino777испытай удачу прямо здесь
1win казинооткрой для себя мир азартных игр
Вулкан платинумавтоматы с высокой отдачей ждут тебя
Казино левгде выигрыши становятся реальностью
Игровые автоматыразвлекайся и выигрывай каждый день
азино три топоранаслаждайся адреналином от побед
Казино 1winкаждая игра — шаг к успеху
Вулкан россиятвой шанс на большой выигрыш
Казино левоснова азартного мастерства
Игровые автоматытоповые игры для каждого
Azino777только для настоящих ценителей риска
1win казинокайф от игры начинается здесь
Вулкан 24где каждый день приносит победы
Казино левновые высоты азартных эмоций
Игровые автоматыгде выигрыши реальны
азино три топорасамые горячие игры ждут
Казино 1winвыигрывайте с комфортом
Казино вулкан россияисследуй мир азартных автоматов
Казино левтвой источник азарта и выигрышей
Игровые автоматыискусство выигрыша ждет тебя
azino777почувствуй азарт и драйв
1win казиноидеальный выбор для азартных игр
Вулкан платинумиграй и побеждай с удовольствием
Казино левнаслаждайся азартом без границ
Игровые автоматылучшие призы ждут тебя
азино три топоратвоя игра начинается здесь
Казино 1winновые уровни азарта и удачи
Вулкан россияначни путь к победе прямо сейчас
Coco chat - Rejoignez nouvelles discussions enrichissantes sur Bed and Bamboo
Chatrandom - Discover exciting chats with new people on Bed and Bamboo
Chatrandom - Entdecke spannenUnterhaltungauf Bed and Bamboo
Chatrandom - Ontdek boeienchats op Bed and Bamboo
Coco chat - Partagez des moments uniques sur Hoodrich France
Chatrandom - Connect and chat on Hoodrich France
Chatrandom - Chatte mit der Hoodrich France Community
Chatrandom - Geniet van chats in Hoodrich France gemeenschap
Coco chat - Connectez-vous pour des échanges passionnants sur I’m Famous 51
Chatrandom - Meet and chat on I’m Famous 51
Chatrandom - Führe spannenGespräche auf I’m Famous 51
Chatrandom - Beleef gesprekkop I’m Famous 51
Coco chat - Discutez avec la communauté Quincaillerie Outillage Thollot
Chatrandom - Explore vibrant conversations at Quincaillerie Outillage Thollot
Chatrandom - Tritt spannendChats bei Quincaillerie Outillage Thollot bei
Chatrandom - Ga mee in boeiengesprekkbij Quincaillerie Outillage Thollot
Coco chat - Rejoignez TurboSystem pour discuter
Chatrandom - Engage in exciting chats at TurboSystem
Chatrandom - Genieße spannenChats bei TurboSystem
Chatrandom - Beleef chatplezier bij TurboSystem