- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 20 hours ago
- อย่าไปอินPosted 4 days ago
- ปีดับคนดังPosted 5 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 6 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
กสอ. ตั้งเป้าไทยเป็น มิลานของเอเชีย
ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรมเผยว่า ทิศทางของอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยยั งคงมีอัตราการขยายตัวอย่างต่ อเนื่อง เนื่องจากกลุ่มผู้บริโภคในระดั บต่างๆยังมีความต้องการและกำลั งซื้อในระดับสูง พร้อมกันนี้ยังมีแนวโน้ มในการผลิตเพื่อส่งออกในต่ างประเทศอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียน เอเชีย รวมถึงยังสามารถขยายเข้าสู่ยุ โรปและอเมริกา ซึ่งเป็นผลมาจากความมีเอกลักษณ์ ของสินค้า รวมทั้งภาพลักษณ์ที่ดีในด้านธุ รกิจและอุตสาหกรรมแฟชั่นของเมื องไทย ซึ่งถูกจัดให้อยู่ในระดับแถวหน้ าของทวีป โดยในขณะนี้เป็นรองแค่ ญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง และสิงคโปร์ อย่างไรก็ตามจากแนวโน้มการเติ บโตที่ดีดังกล่าว กสอ. จึงได้วางเป้าหมายให้ ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางด้ านอุตสาหกรรมแฟชั่นในภูมิ ภาคอาเซียนและก้าวสู่การเป็นผู้ นำในระดับเอเชีย หรือเป็น “มิลานแห่งเอเชีย” ในขั้นต่อไป
ดร.พสุ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเป้าหมายหลักในการส่งเสริ มเพื่อให้ตอบโจทย์ดังกล่าว ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาใน 3 อุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวข้อง ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่ งห่ม อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่ องประดับ และอุตสาหกรรมเครื่องหนั งและรองเท้า ผ่านการพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาการออกแบบ การพัฒนาเทคโนโลยี การพัฒนาตราสินค้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องเดินหน้าพั ฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการออกแบบ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์สำคั ญในการผลักดันให้อุตสาหกรรมแฟชั่ นไทยเติบโตและก้าวทั นกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกที่ เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดรั บความต้องการตามยุคสมัย การผสมผสานความรู้ด้านวิ ทยาศาสตร์-เทคโนโลยีและนวั ตกรรมเพื่อการสร้างมูลค่าให้กั บสินค้า การเพิ่มแนวทางในการขยายตลาด ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการก้าวผ่านการพั ฒนาดังกล่าวได้ก็จะสามารถทำให้ ประเทศไทยมีรายได้มหาศาลจากอุ ตสาหกรรมแฟชั่นดังที่หลายประเทศทั่วโลกได้เม็ดเงินจากอุ ตสาหกรรม ดังกล่าว อาทิ ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี ญี่ปุ่น ฮ่องกง เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ในปีงบประมาณ 2560 กสอ. ได้จัดสรรงบประมาณเบื้องต้น กว่า 70 ล้านบาท เพื่อผลักดันและพัฒนาผู้ ประกอบการและนักออกแบบด้านแฟชั่ นผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการสร้างนักออกแบบและผลิตภั ณฑ์ โครงการพัฒนาศักยภาพอุ ตสาหกรรมแฟชั่นและไลฟ์สตล์ พร้อมกันนี้ยังมีศูนย์ ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือ THAILAND INDUSTRIAL DESIGN CENTER รวมถึงโครงการ Thai Touch Project เป็นต้น ซึ่งเบื้องต้นได้วางเป้าหมายให้ เกิดการจัดตั้งกิจการได้ไม่น้ อยกว่า 125 กิจการ เกิดผู้ประกอบการมากกว่า 1,140 คน / 25 ราย สร้างเครือข่าย 1 เครือข่าย (40คน) พร้อมทั้งสามารถพัฒนาสินค้าได้ มากกว่า 50 ผลิตภัณฑ์ โดยยังได้ตั้งเป้าให้เกิดมูลค่ าทางอุตสาหกรรมแฟชั่นเพิ่มขึ้ นอย่างต่อเนื่อง จากที่ในปี 2558 มูลค่าอยู่ที่ 6.4 แสนล้านบาท นอกจากนี้ยังเตรียมรุ กแผนการประชาสัมพันธ์แบรนด์สิ นค้าไทยให้เป็นที่รู้จักในตลาดต่างประเทศ ซึ่งหากสามารถพัฒนาเป้าหมายที่ วางไว้ได้ทุกจุด ก็จะทำให้ภาคอุตสาหกรรมเติ บโตได้อย่างยั่งยืน ดร.พสุ กล่าวปิดท้าย
ด้านนางสาววทันยา ศิริวรรณ นักออกแบบจากโครงการ Thai Touch Project เจ้าของผลงาน Surreal Stitch กล่าวว่า การผลักดันและส่งเสริมการเพิ่ มจำนวนนักออกแบบในอุ ตสาหกรรมแฟชั่นถือเป็นสิ่งจำเป็ นที่ต้องเร่งพัฒนาอย่างยิ่ง เนื่องจากอุตสาหกรรมดังกล่าวมี การเติบโตในระดับโลกที่รวดเร็ว รวมทั้งสร้างมูลค่าส่งออกให้กั บประเทศได้อย่างมหาศาล สำหรับอุตสาหกรรมแฟชั่นของไทยมี ความได้เปรียบ ในด้านคุณภาพสินค้าที่มี ความประณีต ครอบคลุมประเภทสินค้าที่ หลากหลาย รวมทั้งมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในสิ นค้าให้แตกต่างจากคู่แข่ง ซึ่งข้อได้เปรียบต่าง ๆ เหล่านี้สามารถช่วยขับเคลื่ อนและยกระดับมาตรฐานของอุ ตสาหกรรมสินค้าแฟชั่นไทยได้เป็ นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามในการส่งเสริ มและช่วยเหลือจากหน่ วยงานของภาครัฐ ตนมองว่ายังจำเป็นที่ต้องสนั บสนุนทั้งในด้านแหล่งเงินทุนที่ ช่วยต่อยอดแนวความคิด การสร้างพื้นที่ให้ผู้ ประกอบการได้แสดงผลงานหรือฝีมือ การจัดกิจกรรมอบรมในด้านองค์ ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆที่ใช้ ในการผลิต รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ทางสื่ อต่าง ๆ ที่ช่วยให้เกิดการรับรู้ สร้างการจดจำและเป็นที่รู้จั กในระดับต่าง ๆ ได้ในที่สุด
You must be logged in to post a comment Login