วันพฤหัสที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

ชี้คนไทย 80% คุมใช้จ่ายในไตรมาส 4

On December 19, 2016

งานวิจัยล่าสุดจากการสำรวจผู้บริ โภคคนไทย จำนวน 1,000 คน ของกันตาร์ ทีเอ็นเอส ประเทศไทย (Kantar TNS) ร่วมกับมาร์เก็ตบัซซ (Marketbuzzz) พบว่าผู้บริโภคชาวไทยมีทัศนคติด้ านบวกสำหรับอนาคตของประเทศ แม้ว่าดัชนีทางธุรกิจต่างๆ จะชะลอตัวลงในอนาคตในไตรมาสที่ 4 ในปี 2559

ในภาพรวมประเทศไทยยังคงอยู่ในภา วะบอบบางจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งในด้านเศรษฐกิจและการสูญเสี ยที่ยิ่งใหญ่จากการสวรรคตของพระ บาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิ พลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในภาวะปัจจุบันอาจจะต้องมีการกร ะตุ้นปัจจัยบวกทางเศรษฐกิจมากขึ้ น  อย่างไรก็ตามผู้บริโภคชาวไทยยั งคงมีทัศนคติเชิงบวกแม้ในช่วงเว ลาที่ไม่แน่นอนนี้

การศึกษาของ Kantar TNS ประเทศไทย และ Marketbuzzz ชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่คนไทยเป็นห่วงและกังวลมา กที่สุด คือ ราคาของสินค้าการเกษตรที่ตกต่ำ อยู่ที่ 51% รองลงมาคือความกังวลเกี่ยวกับค่ าครองชีพ อยู่ที่ 42%  และอันดับสามคือ ความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจประเ ทศไทย อยู่ที่ 40%

ในส่วนของการจับจ่ายใช้สอย คนไทยส่วนใหญ่จะใช้จ่ายเฉพาะที่ จำเป็นเท่านั้น  โดย 80% บอกว่าจะควบคุมการใช้จ่ายที่ไม่ จำเป็น และ 77% บอกว่าจะซื้อสินค้าเมื่อจำเป็นจ ริงๆ เท่านั้น

มร. แกรนท์ บาร์โทลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Marketbuzzz บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด กล่าวว่า  การใช้จ่ายของผู้บริโภคขึ้นอยู่ กับภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้นว่าดีห รือไม่ การใช้จ่ายของผู้บริโภคเป็นส่วน สำคัญของเศรษฐกิจ และเป็นส่วนหลักของ GDP ของประเทศสำหรับพฤติกรรมในการใช้ จ่ายนั้น การศึกษานี้พบว่า อาหารและเครื่องดื่ม ของแห้ง และโทรศัพท์มือถือ เป็นสิ่งที่จะมีการจับจ่ายใช้สอ ยมากที่สุด

ผู้บริโภคจะชะลอการใช้จ่ายในหมว ดหมู่ต่อไปนี้
1.  การเดินทางไปต่างประเทศ   (64% บอกว่าจะลดการใช้จ่ายลง หรือไม่มีแผนที่จะใช้จ่าย )
2.  การลงทุนใน  LTF/RMF  (60%  บอกว่าจะลดการใช้จ่ายลง หรือไม่มีแผนที่จะใช้จ่าย )
3.  รถยนต์ใหม่  (52% บอกว่าจะลดการใช้จ่ายลง หรือไม่มีแผนที่จะใช้จ่าย )

ขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่รัดเข็ม ขัดมากขึ้น   แต่กลุ่มมิลเลนเนี่ยล (Millennials อายุ 18 – 24 ปี)  เป็นกลุ่มเดียวที่จะหารายได้เพิ่มเติม  โดยทำงานพิเศษหรืองานพาร์ทไทม์ เพราะไม่ต้องการลดการใช้จ่ายลง แต่จะแก้ไขด้วยการหารายได้เพิ่ม เติมแทน  งานวิจัยนี้สอดคล้องกับงานวิจั ยของสมาคมการตลาด (TMRS) ในปี 2559  ซึ่งพบว่า กลุ่ม Millennials ชอบความเสี่ยง และรักในการทำธุรกิจส่วนตัว  โดยมีมุมมองว่า จะกำหนดอนาคตด้วยตัวเอง และใช้ชีวิตแบบที่ต้องการ

ผู้บริโภคส่วนใหญ่ 71% มองว่า อนาคตจะดีขึ้นหรือเหมือนเดิม แต่ที่น่าสนใจคือ ผู้หญิงและกลุ่มอายุน้อย จะเข้าใจว่า การเปลี่ยนจะเกิดขึ้น แต่ไม่แน่ใจว่าจะกระทบกับพวกเขา อย่างไร  ในขณะที่กลุ่มสูงอายุเข้าใจว่า การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น แต่ไม่ค่อยกังวลกับผลกระทบที่จะ ตามมา

ดร. อาภาภัทร บุญรอด ประธานกรรมการบริหาร Kantar Insights ประเทศไทย  เสริมว่า คนไทยมักจะฟื้นตัวจากเหตุการณ์ต่ างๆ ได้อย่างรวดเร็ว พร้อมกับมุมมองในเชิงบวก  ถึงแม้ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ อาจจะยังไม่ดีมาก แต่คนไทยก็ยังคิดบวกเนื่องด้วยยั งมีความหวังกับอนาคตที่ดีในวั นข้างหน้า  สิ่งที่เราพบที่น่าสนใจคือ คนส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจกับสถานก ารณ์ และยังไม่เข้าใจกับผลกระทบต่างๆ   ถึงแม้ว่าจะมองโลกในแง่ดีก็ตาม

ปัจจัยที่ผู้บริโภคมองว่าดีขึ้น ในอนาคต คือ  การท่องเที่ยวของชาวต่างชาติ  (46%)   ธุรกิจการท่องเที่ยวภายในประเท ศของคนไทย (44%)  และภาพลักษณ์โดยรวมของประเทศ (41%)

การวิจัยในครั้งนี้ ได้ศึกษาถึงความต้องการของผู้บริ โภค เกี่ยวกับบริษัท และแบรนด์ต่างๆ ในช่วงเวลานี้  ผู้บริโภคมองว่า   บริษัทควรจะจะช่วยเหลือสังคม และสนับสนุนค่านิยมที่ดี เช่น เศรษฐกิจพอเพียง  การสร้างความมั่นคงความปลอดภัยใ นสังคมและสิ่งแวดล้อม  และการสนับสนุนโครงการในพระราชดำ ริฯ ต่างๆ

ในส่วนของการโฆษณา  ผู้บริโภค 58%  คิดว่าโฆษณาเกี่ยวกับความรับผิ ดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของอ งค์กร (หรือ CSR)  และโฆษณาภาพลักษณ์องค์กร (หรือ Corporate Ad) ควรมีมากขึ้น ในขณะที่ 42% บอกว่าให้มีการโฆษณาได้ตามปกติ

ดร. อาภาภัทร กล่าวเสริมว่า “ในขณะที่บริษัทต่างๆ สามารถออกโฆษณาได้ตามปกติ และผู้บริโภคก็เริ่มใช้ชีวิตเหมื อนเดิม แบรนด์ที่มีคุณธรรม และมีความรับผิดชอบต่อสังคมจะมี ภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาผู้บริโภค   โดยรวมแล้วผู้บริโภคมีความคาดหวั งมากขึ้นให้แบรนด์รับผิ ดชอบในการแก้ไขปัญหาสังคม ผู้บริโภคต้องการเห็นบริษัทต่าง ๆ คืนสิ่งดีๆ ให้แก่สังคม ภาพลักษณ์ของแบรนด์เป็นผลมาจากแ บรนด์นั้นๆ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังค มมากแค่ไหน”

ในขณะที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ อยู่ในภาวะที่บอบบาง คนไทยมองไปในอนาคตด้วยความหวังแ ละทัศนคติเชิงบวก  ซึ่งน่าจะทำให้เกิดพลังความกระตื อรือล้นมากขึ้นเพื่อการก้าวเข้ าสู่ปี 2560


You must be logged in to post a comment Login