- ปีดับคนดังPosted 18 hours ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 2 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 3 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 4 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
- หนีกรรมไม่พ้นPosted 2 weeks ago
รอยร้าว’พม่า-มาเลย์’
ความขัดแย้งระดับรัฐบาลในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน เป็นเหตุการณ์ที่แทบจะไม่ปรากฏให้เห็น กรณีที่เกิดขึ้นระหว่างพม่ากับมาเลเซีย จึงทำให้ภาพลักษณ์ของอาเซียนดูแตกต่างไป
มาเลเซียเป็นฝ่ายเปิดประเด็น โดยรัฐบาลจัดชุมนุมประท้วงพม่า และเรียกร้องให้พม่ายุติทำร้ายชาวโรฮีนจา
งานนี้มีนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค เป็นแกนนำ ถือเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่งของกลุ่มประเทศอาเซียน ที่ผู้นำประเทศเป็นแกนนำชุมนุมประท้วงชาติอื่น
นอกจากเป็นแกนนำแล้ว ราซัคยังโจมตีพม่าด้วยถ้อยคำที่รุนแรงว่า ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮีนจา ทำให้พม่าต้องยื่นประท้วงต่อทูตมาเลเซียประจำพม่า
ต่อมา พม่าได้ประกาศห้ามส่งแรงงานใหม่ไปทำงานยังมาเลเซีย ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย และแจ้งให้ชาวพม่าที่ทำงานอยู่ในมาเลเซียระมัดระวังตัว เนื่องจากยังมีความเคลื่อนไหวประท้วงพม่าอย่างต่อเนื่อง
พม่าระบุว่า นโยบายนี้เป็นมาตรการชั่วคราว มีผลบังคับใช้เมื่อ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา แต่ไม่ระบุระยะเวลาว่าจะใช้ไปนานแค่ไหน
ด็อกเตอร์อาหมัด ซาฮิด ฮามิดี รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ระบุว่าการตัดสินใจของพม่า ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อมาเลเซีย
แตกต่างจากสหพันธ์ผู้ประกอบการโรงงานของมาเลเซีย ที่ระบุว่ามาตรการของพม่า ทำให้ผู้ประกอบการเสียหาย เพราะโรงงานหลายแห่งได้ทำสัญญาเตรียมนำแรงงานใหม่จากพม่าเข้ามาทำงาน โดยจ่ายค่าเดินทาง และค่าธรรมเนียมล่วงหน้าไปแล้ว
นอกจากนั้น ทางสหพันธ์ยังระบุว่า มาตรการของพม่าเป็นความเคลื่อนไหวซ้ำเติมปัญหาขาดแคลนแรงงานของมาเลเซีย ให้ย่ำแย่หนักกว่าเดิม
ยิ่งกว่านั้น ยังมีกระแสข่าวว่า หากสถานการณ์ความขัดแย้งเลวร้ายลง พม่าอาจเรียกแรงงานที่ทำงานอยู่ในมาเลเซียกลับทั้งหมด ทำให้ผู้ประกอบการกังวล โดยเฉพาะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโรงงาน
ทั้งนี้ แรงงานพม่าที่ทำงานอยู่ในมาเลเซียปัจจุบัน มีประมาณ 147,000 คน โดยทำงานโรงงานมากที่สุด คิดเป็น 71% งานก่อสร้าง 11% งานบริการ 10.5% และงานภาคการเกษตร 4%
จากตัวเลขดังกล่าว มาเลเซียจะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจค่อนข้างมาก หากพม่าเรียกแรงงานกลับทั้งหมดจริง
อย่างไรก็ตาม โอกาสที่พม่าจะใช้มาตรการนี้ มีความเป็นไปได้น้อย ยกเว้นความขัดแย้งบานปลายและรุนแรง
นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งมองว่า เหตุการณ์นี้กลายเป็นรอยด่างของอาเซียน ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศมีภาพลักษณ์เป็นปึกแผ่นด้านความสามัคคีมานาน
You must be logged in to post a comment Login