- อย่าไปอินPosted 14 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 1 day ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 4 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
บทเรียนตั้งธง!
คอลัมน์ : โลกวันนี้มีประเด็น
สถานการณ์บ้านเมืองในรอบวันที่ผ่านมากลุ่มต่อต้านพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่รอขั้นตนประกาศใช้อย่างเป็นทางการยังปฏิบัติการณ์โจมตีเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐเพื่อแสดงจุดยืนคัดค้านต่อไป โดยรอบวันที่ผ่านมาพุ่งเป้าไปที่เว็บไซต์เกี่ยวกับการเงิน เช่น กรมบัญชีกลาง กรมการเงินทหารบก
แม้จะมีการย้ายไอพีหนีแต่ก็ยังถูกตามโจมตีส่งผลให้เว็บไซต์ติดๆดับๆการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐติดขัดพอสมควร กลุ่มคัดค้านยืนยันว่าจะเดินหน้าในแนวทางนี้ต่อไปจนกว่า “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะใช้อำนาจมาตรา 44 สั่งยกเลิกร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว
อย่างไรก็ตามดูจากท่าทีของฝ่ายรัฐแล้วไม่น่าจะตอบสนองต่อความต้องการนี้ จึงต้องจับตาดูการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านต่อไปว่าจะทำอะไรได้อีกและจะสร้างความเสียหายได้มากแค่ไหน ขณะเดียวกันก็ต้องจับตาดูว่าอำนาจรัฐจะเข้าไปจัดการกับกลุ่มต่อต้านได้หรือไม่ หากทำไม่ได้กฎหมายที่จะออกมาบังคับใช้ใหม่ก็คงหมดความศักดิ์สิทธิ
สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากการพิจารณากฎหมายโดยไม่เปิดรับฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง แม้จะบอกว่าพิจารณาอย่างรอบคอบและเปิดรับฟังความเห็นจากนอกสภา แต่ทุกอย่างก็เดินไปตามธงที่ตั้งกันเอาไว้แล้ว
นี่จึงเป็นบทเรียนสำหรับคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) และสนช.ที่กำลังจะพิจารณาร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายลูกสำคัญๆหลายฉบับ
ร่างกฎหมายพรรคการเมืองใหม่ที่เปิดเผยอกมามีเสียงคัดค้านดังอื้ออึง ทั้งกรธ.และสนช.ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าจะรับฟังความเห็นต่าง สุดท้ายต้องรอดูการพิจารณาในสภาว่าจริงๆแล้วแค่เปิดรับฟังเฉยๆ หรือว่าเปิดรับฟังแล้วนำมาพิจารณาอย่างจริงจัง
เช่นเดียวกับร่างกฎหมายคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ใหม่ ที่กกต.ไม่เห็นด้วยกับการยุบกกต.จังหวัด
กกต.ทำหนังสือถึง กรธ.ยืนยันถึงความจำเป็นที่ต้องมีกกต.จังหวัดต่อไป โดยกกต.จังหวัดจะไม่ได้รับผลตอบแทนในรูปเงินเดือนจะได้เฉพาะเบี้ยประชุมเท่านั้น และให้มีที่มาหลากหลายต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ มีวาระทำงาน 4 ปี
กกต.ยืนยันว่าข้อครหากกต.จังหวัดถูกฝ่ายการเมืองครอบงำแทรกแซงกันเป็นเรื่องที่พูดกันไปเองไม่มีหลักฐานยืนยันว่ามีการครบงำแทรกแซงการทำงานจริงอย่างที่กล่าวอ้าง ที่สำคัญผู้ตรวจการเลือกตั้งที่ กรธ.จะให้เข้ามาทำงานแทนกกต.จังหวัดนั้นไม่มีหลักประกันอะไรว่าจะไม่ถูกฝ่ายการเมืองครอบงำแทรกแซงการทำงาน
ที่สำคัญการตั้งขึ้นมาทำงานเฉพาะกิจในระยะเวลาสั้นๆแค่ 2 เดือนการทำงานจะไม่ต่อเนื่อง ความรับผิดชอบต่องานจะไม่มีแค่ทำให้จบๆหน้าที่ไป และหากทำหน้าที่ไม่เป็นกลางก็ไม่สามารถเอาผิดทางวินัยได้เพราะเลือกตั้งเสร็จก็พ้นตำแหน่งไป
ต้องรอดูว่ากรธ.ที่นั่งยันนอนยันมาตลอดว่าเปิดกว้างรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายนั้นจะรับฟังความเห็นจากกกต.ที่ถือว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ตรงในการทำงานทั้งระดับชาติระดับท้องถิ่นหรือไม่ หรือว่าจะยึดตามธงที่ตั้งไว้ให้ยุบกกต.จังหวัดแล้วให้มีคณะผู้ตรวจการเลือกตั้งขึ้นมาทำหน้าที่แทน
ที่ผ่านมาเรามีบทเรียนจากการออกกฎหมายที่ไม่เปิดกว้างรับฟังรับเห็น โดยเฉพาะความเห็นต่าง อย่างกรณีของ ร่างพ.ร.บ.คอมฯที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้
ทางที่ดีไม่ควรรับฟังแต่ปาก หรือรับฟังพอเป็นพิธีเพื่อให้ได้ชื่อว่าไม่ปิดกั้นเปิดรับฟังแล้ว แต่เมื่อรับฟังแล้วควรรับไปพิจารณาด้วยเหตุผลถ้าเหตุผลของผู้เห็นต่างดีกว่าก็ไม่ควรดันทุรังเดินตามธงทั้งที่รู้ว่าจะมีปัญหาตามมาในวันข้างหน้า
You must be logged in to post a comment Login