- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 4 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 6 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
Civilization die from suicide? / โดย เรืองยศ จันทรคีรี
คอลัมน์ : กรีดกระบี่บนสายธาร
ผู้เขียน : เรืองยศ จันทรคีรี
บทความชิ้นนี้ต้องเริ่มต้นที่การหาความหมายในพจนานุกรมก่อน คือคำว่า Culture หรือวัฒนธรรม ที่แปลว่าความเจริญงอกงามของชีวิตหรือสังคม สำหรับคำว่า Civilization แปลว่าการเจริญเติบโตของวัฒนธรรม หรืออารยธรรมนั้น เป็นเรื่องใหญ่โตกว่าวัฒนธรรม ถ้าในความหมายของประวัติศาสตร์ Civilization หรืออารยธรรม กลับแปลว่าความซับซ้อนและส่วนประกอบต่างๆในสังคม โดยแนวคิดของ Arnold Toynbee แม้จะมองไปที่อารยธรรมการเปลี่ยนแปลงของประวัติศาสตร์ แต่กลับเห็นว่าไม่ใช่เงื่อนไข ทั้งไม่ใช่การเดินทาง (voyage) แต่เห็นว่ามันคือ movement
เมื่ออดีตหลายปีก่อนผมเคยเป็นผู้ปฏิบัติงานวัฒนธรรมในฐานะเลขาธิการสภาวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก ขณะนั้นงานด้านวัฒนธรรมของประเทศไทยอยู่ภายใต้การดูแลของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ประกอบด้วย 4 ส่วนคือ ภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคเอกชนหรือธุรกิจ และภาควิชาการ ซึ่งอาจรวมสาย NGO เข้าไปด้วย โครงสร้างนี้ประกอบเป็นสภาวัฒนธรรมตั้งแต่ระดับหมู่บ้านจนถึงจังหวัด ในขณะนั้นผมเห็นว่างานวัฒนธรรมของประเทศผิดทาง เพราะกิจกรรมส่วนใหญ่มักเป็นเพียงเรื่องศิลปะการแสดง ต่อมาสภาวัฒนธรรมแห่งชาติได้จัดการอบรมแกนนำทางวัฒนธรรม สมาชิกที่ผ่านการอบรมยกให้ผมเป็นประธานแกนนำสภาวัฒนธรรม 16 จังหวัดภาคเหนือ
จากจุดนี้ผมได้ศึกษาลงลึกและเผยแพร่ความหมายวัฒนธรรมในความหมายเป็นวิถีชีวิตหรือ the way of life เริ่มจับกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมงานแรก โดยประสานกับเทศบาลนครพิษณุโลกที่มีคุณเปรมฤดี ชามพูนท เป็นนายกเทศมนตรี กิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะจนเกิดรูปแบบเฉพาะของเทศบาลนครพิษณุโลก อีกด้านก็ประสานกับบริษัท วงษ์พาณิชย์ จำกัด ที่มีคุณสมชัย วงษ์เจริญ เป็นประธานกรรมการ ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนรายแรกที่ดำเนินธุรกิจรีไซเคิลขยะอย่างจริงจังในประเทศไทย คงต้องยอมรับว่าทั้งบริษัทวงษ์พาณิชย์และเทศบาลนครพิษณุโลกได้มีอิทธิพลให้เกิดความตื่นตัวในการจัดการขยะและคัดแยกขยะในประเทศไทย
จากกิจกรรมดังกล่าวทำให้ผมเชื่อมั่นและเห็นจริงเห็นจังว่า การรณรงค์เรื่องวัฒนธรรม การอนุรักษ์ต่างๆ น่าจะหมายถึงการรณรงค์ซึ่งเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของประชาชนไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ผมเริ่มตระหนักชัดว่าแท้จริงแล้ววัฒนธรรมมีอำนาจในตัวเองที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรในสังคมนี้
มีผู้เขียนหนังสือชื่อ Culture is power and power is culture เป็นความหมายที่สับกันระหว่างวัฒนธรรมคืออำนาจกับอำนาจคือวัฒนธรรม ซึ่งเรื่องดังกล่าวถ้าเราย้อนสมัยเมื่อรัสเซียยังเป็นสหภาพโซเวียตอยู่ ผู้นำสหรัฐอเมริกาคือ โรนัลด์ เรแกน ได้ไปเยือนโซเวียต และตกลงกับประธานาธิบดีมิคาอิล กอร์บาชอฟ ขอให้โซเวียตอนุมัติเปิดสาขาแมคโดนัลด์สักแห่งหนึ่ง ปรากฏว่าเพียงสาขาเดียวของแมคโดนัลด์กลายเป็นที่ประจักษ์ของอำนาจทางวัฒนธรรมอเมริกัน ชาวโซเวียตคลั่งไคล้กันมาก ผู้คนทั้งประเทศต้องดิ้นรนขวนขวายมาใช้บริการให้ได้สักครั้งหนึ่ง จากนั้นเป็นต้นมาวัฒนธรรมของอเมริกันก็สามารถแทรกซึมและครอบงำสังคมโซเวียตให้พลิกได้
นี่เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดว่า culture is power เรื่องอำนาจทางวัฒนธรรมยังมีอีกหลายตัวอย่างให้เห็น แม้กระทั่งวัฒนธรรมของคนดำก็ส่งผลในสหรัฐอเมริกาเหมือนกัน
ล่าสุดประเทศไทยมีความพยายามจะผลักดันกฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยอ้างเหตุผลความมั่นคง ซึ่งขณะนี้มีการต่อต้านไม่น้อย โดยข้อเท็จจริงแล้วไม่ได้มีเฉพาะประเทศไทย แม้กระทั่งในอินเดีย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ก็กำลังเป็นปัญหาเหมือนกัน คงไม่ใช่เฉพาะรัฐบาลเท่านั้นที่วิตกกังวลว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติได้ แม้กระทั่งกลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนาก็ต่อต้านเหมือนกัน โดยให้เหตุผลว่าอินเทอร์เน็ตได้เผยแพร่เรื่องราวลามก ซึ่งขัดกับคำสั่งสอนของศาสนาอิสลาม รวมทั้งเป็นเครื่องมือให้อเมริการุกรานทางวัฒนธรรม แม้โดยความจริงแล้วสื่อดังกล่าวไม่มีอำนาจอะไรมากมายนัก เพียงแต่ทำให้ประชาชนมีปากมีเสียงมากขึ้น
หันมามองในประเทศไทย ผมตั้งข้อสังเกตว่ารัฐคงมีเหตุผลเกี่ยวกับความมั่นคง แต่น่าจะมีหนทางอื่นที่ดีกว่าการใช้อำนาจทางกฎหมาย เพราะถ้ากระทำตามนั้นก็เท่ากับว่ารัฐได้ใช้ power ให้กลายเป็น culture ไป
ผมคิดว่าการใช้ culture ให้เป็น power น่าสนใจและนุ่มนวลกว่า!
มีคำหนึ่งที่น่าสนใจมากว่า key inside ที่มีหลายความหมาย อาจแปลว่าเรื่องลับเฉพาะคนวงใน หรือเรื่องของคนภายในก็ได้ ผมคิดว่าสังคมต่างๆน่าจะต้องมีคนเล่นบทเป็น key inside เพราะหลายเรื่องนั้นต้องมีคนเกาะติดและมีคนสนใจเฉพาะด้านจริงๆ
รัฐน่าจะใช้ประโยชน์จากบรรดา key inside นี้ให้คอยเป็นหูเป็นตา เป็นสติ คอยส่งสัญญาณให้สังคมได้แยกแยะบรรดาข้อมูลข่าวสารต่างๆที่มีอยู่มากมาย ถ้ามีปัญหาอะไรรัฐก็ควรเข้าไปแทรกเป็นเรื่องๆที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ถ้าต้องการขอความร่วมมือใดๆรัฐก็สามารถเคลียร์ภายในกับ key inside ได้
ผมว่าวิธีดังกล่าวจะนิ่มนวลกว่า เป็นลักษณะหนึ่งที่จะใช้ culture เป็น power เพราะการใช้ power เป็น culture มีแง่มุมที่น่าคิดว่าในการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษเคยกล่าวว่า “civilization never die from murder but die from suicide” บางทีการใช้ culture เป็น power ก็นำไปสู่จุดจบที่เป็น suicide ได้ครับ
You must be logged in to post a comment Login