- อย่าไปอินPosted 14 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 1 day ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 2 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 4 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
รอสัญญาณ‘ตีธง’
คอลัมน์ : โลกวันนี้มีประเด็น
กลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้งเรื่องการแก้ไขพ.ร.บ.คณะสงฆ์ ที่มีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จำนวน 84 คน เข้าชื่อกันแก้ไขด้วยการเสนอให้ตัดทิ้งมาตรา 7 ริบอำนาจการเสนอแต่งตั้งพระสังฆราชให้กลับไปใช้ความเดิมตามโบราณราชประเพณี ที่กำหนดให้ “พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง และให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ”
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่มีความพยายามมาอย่างต่อเนื่องที่จะแก้ไข ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากกรณีที่มหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ที่มีความอาวุโสสูงสุดขึ้นเป็นพระสังฆราชแต่ถูกคัดค้านต่อต้านจากคนกลุ่มหนึ่งและนายกรัฐมนตรีซึ่งต้องเป็นผู้นำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯซื้อเวลาไม่ดำเนินการตามขั้นตอนมาถึงทุกวันนี้โดยมีเรื่องคดีความของสมเด็จช่วงเข้ามาเกี่ยวข้อง
ตามกรอบเวลา สนช.จะพิจารณาร่างแก้ไขพ.ร.บ.คณะสงฆ์กันในวันนี้ (29 ธ.ค.) โดยที่รัฐบาลจะส่ง นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มาเป็นตัวแทนเข้าประชุมเพื่อรับฟังเหตุผลของ สนช. เพื่อนำเรื่องกลับไปพิจารณา
ความจริงถ้าว่ากันตามขั้นตอนการออกกฎหมายขั้นตอนนี้รัฐบาลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพิจารณาเพราะ สนช.เป็นผู้เสนอขอแก้ไข และหน้าที่การพิจารณาออกหรือแก้ไขกฎหมายก็เป็นอำนาจของ สนช.ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับรัฐบาล
แต่เข้าใจว่าที่รัฐบาลต้องส่งตัวแทนมาร่วมรับฟังการอภิปรายและของนำเรื่องกลับไปพิจารณาก่อนที่จะส่งสัญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งให้สนช.ว่าจะให้เดินหน้าต่อหรือหยุดเอาไว้ก่อนเพราะเรื่องนี้เป็นประเด็นใหญ่ที่อาจส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในวงกว้าง จนกระทบต่อสถานะของรัฐบาลได้ เพราะมีสงฆ์คณะใหญ่ที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขพ.ร.บ.สงฆ์ในครั้งนี้
แม้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะพูดตามหลักการว่าใครก็สามารถเสนอกฎหมายหรือเสนอแก้กฎหมายได้ หากดำเนินการทุกอย่างถูกต้องตามขั้นตอน และออกตัวว่าตัวเองไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้
แต่การมาร่วมประชุมของนายออมสิน ทั้งนี้ไม่มีหน้าที่ ไม่อยู่ในขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาแก้กฎหมายก็ย้อนแย้งอยู่พอสมควร
พระเมธีธรรมาจารย์ หรือเจ้าคุณประสาร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร หนึ่งในแกนนำคณะสงฆ์ที่คัดค้านการแก้ไขพ.ร.บ.คณะสงฆ์ ระบุว่าที่ผ่านมามีความพยายามจะแก้ไขเรื่องนี้มาโดยตลอดและดูเหมือนผู้มีอำนาจอยู่ในปัจจุบันจะคิดเห็นไปในทางเดียว พร้อมตั้งคำถามว่า
“ทำไมคฤหัสน์ญาติโยมเหล่านี้ถึงได้มีความเดือดร้อนอะไรกันมากมายขนาดนี้ต่อการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชของคณะสงฆ์ไทย ทำไมวันนี้ท่านเดือดร้อนดิ้นรนอะไรกันนักหนา เป็นอะไรกันไปแล้ว การเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชนั้น เป็นแนวปฏิบัติตามโบราณราชประเพณี และเป็นที่ยอมรับกันในวงการคณะสงฆ์ วันนี้คณะสงฆ์ผู้ใช้กฎหมายฉบับนี้ยังไม่เห็นพระรูปไหนเดือดร้อนอะไรเลย ทุกรูปอยู่กันอย่างปรกติ คณะสงฆ์ก็ปกครองกันไป ท่านจะเข้ามาล้วงมาควักอะไรกันนักกันหนา จะไม่ให้ท่านปกครองกันเองได้บ้างหรืออย่างไร”
นอกจากนี้ยังส่งคำเตือนว่าหากไม่หยุดจะต้องเจอกับพระสงฆ์จำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยอย่างแน่นอน
ต้องรอดูว่าหลังนายออมสินนำเรื่องจากที่ประชุมสนช.ไปรายงาน พร้อมกับประเมินสถานการณ์ต่างๆ อย่างรอบด้านแล้วผู้มีอำนาจจะสะบัดธงเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร จะลุยแก้ไข หรือว่าให้ชะลอเอาไว้ก่อน
ความจริงเรื่องนี้ออกแขกโหมโรงกันมานาน
แก้ข้อความสั้นๆ ใน มาตรา 7 แค่มาตราเดียว ถ้าใจถึงก็ตีธงให้สนช.พิจารณา 3 วาระรวดจบไปภายในวันเดียวเลยเพราะเนื้อหาที่แก้ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน
ถ้าใจไม่ถึงก็ไม่ต้องแก้ เพราะซื้อเวลาไปก็ไร้ประโยชน์ เพราะเมื่อถึงเวลาจะหยิบมาพิจารณาก็ถูกคัดค้านต่อต้านอีก
You must be logged in to post a comment Login