วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

กพร. เผยกรอบร่าง พ.ร.บ.แร่ฉบับใหม่

On January 3, 2017

นายสมบูรณ์ ยินดียั่งยืน รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานแ ละการเหมืองแร่ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตสาหก รรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กล่าวว่า ร่างพระราชบัญญัติแร่ฉบับใหม่ ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุ มสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวาระที่ 2 และที่ 3 แล้ว เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2559 โดยภาพรวมเนื้อหาของพระราชบัญญั ติแร่ฉบับใหม่นี้มี ความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบั นมากขึ้น ด้วยคำนึงถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิ จของชาติ รวมทั้งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแ ละสุขภาพของประชาชนเป็นสำคัญ

นายสมบูรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ร่างพระราชบัญญัติแร่ฉบับใหม่ ได้กำหนดสาระสำคัญ คือ
·           กำหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแ ร่แห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพ ยากรแร่ในประเทศไทยให้เกิดประโย ชน์สูงสุด โดยหนึ่งในบทบาทสำคัญของคณะกรรม การดังกล่าวคือ การจัดทำแผนแม่บทบริหารจั ดการแร่ ภายใต้ดุลยภาพด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน  โดยแผนแม่บทบริหารจัดการแร่นอกจ ากจะจัดทำข้อมูลการสำรวจแร่  แหล่งแร่สำรอง  การจำแนกพื้นที่หรือชนิดแร่ที่ส มควรสงวนหรืออนุรักษ์ไว้แล้ว จะมีการกำหนดพื้นที่ที่มีแหล่งแ ร่อุดมสมบูรณ์และมีมูลค่าทางเศร ษฐกิจสูงเพื่อกำหนดเป็นเขตแหล่ง แร่เพื่อการทำเหมือง ซึ่งเขตแหล่ งแร่เพื่อการทำเหมืองดังกล่าว ต้องมิใช่พื้นที่ในเขตอุทยานแห่ งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตโบราณสถาน พื้นที่แหล่งต้นน้ำหรือป่าน้ำซั บซึม พื้นที่เขตปลอดภัยและความมั่นคง แห่งชาติ หรือพื้นที่ที่มีกฎหมายห้ามเข้า ใช้ประโยชน์โดยเด็ดขาด
·           กำหนดให้แบ่งเหมือง ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เหมืองประเภทที่ 1 เนื้อที่ไม่เกิน 100 ไร่  เหมืองประเภทที่ 2 เนื้อที่ไม่เกิน 625 ไร่ และเหมืองประเภทที่ 3 เป็นการทำเหมืองในทะเล เหมืองใต้ดิน หรือเหมืองที่ส่งผลกระทบต่อคุณภ าพสิ่งแวดล้อมสูง  โดยกำหนดอำนาจในการอนุ ญาตและกำกับดูแลการประกอบกิ จการแร่จะเป็นไปในรู ปแบบของคณะกรรมการ คือ คณะกรรมการแร่ และคณะกรรมการแร่จังหวัด
·           กำหนดให้การทำเหมือ งแร่ทุกประเภทต้องเสนอแผนฟื้นฟู การพัฒนา การใช้ประโยชน์ และการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสิ่งแ วดล้อมและสุขภาพของประชาชนทั้งร ะหว่างการทำเหมืองแร่และหลังจาก ปิดเหมือง รวมถึงต้องวางหลักประกันการฟื้น ฟูพื้นที่การทำเหมืองตามแผนฟื้น ฟูและการเยียวยาผู้รับผลกระทบจา กการทำเหมือง และสำหรับเหมืองแร่ ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้ อมและสุขภาพของประชาชนสูง ต้องจัดทำแนวพื้นที่กันชนการทำเ หมืองและข้อมูลพื้นฐานด้านคุณภา พสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาช นทั้งก่อนและหลังการทำเหมือง
·           กำหนดให้การประกอบโ ลหกรรมในเขตประทานบัตรไม่ต้องขอ รับใบอนุญาต เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่มี ความต่อเนื่องในโครงการทำเหมื องแร่ขนาดใหญ่ แต่กำหนดให้ผู้ยื่นคำขอประทานบั ตรต้องเสนอแผนผัง โครงการทำเหมือง การแต่งแร่และการประกอบโลหกรรมม าในคราวเดียวกัน เพื่อในขั้นตอนการพิจารณารายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายที่ว่าด้วยการส่งเสริ มและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่ งชาติจะได้พิจารณาถึงผลกระทบต่ อคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุ มทั้งโครงการ สำหรับการประกอบโล หกรรมที่อยู่นอกเขตประทานบัตรยั งคงต้องขอใบอนุญาตเพื่ อประกอบการดังเดิม
·          กำหนดอัตราค่ าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นจากพระราชบั ญญัติแร่ พ.ศ. 2510 จำนวน 100 เท่า และกำหนดให้มีการเรียกเก็บเงิ นบำรุงพิเศษ อัตราไม่เกินร้อยละ 10 ของค่าภา คหลวงแร่ เพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ ายในการพัฒนาท้องถิ่น การศึกษาวิจัยด้านแร่ การปรับสภาพพื้นที่ที่ผ่านการทำ เหมือง รวมทั้งการป้องกันและปราบปรามกา รกระทำความผิด รวมทั้งกำหนดให้การทำเหมืองแร่โ ดยไม่ได้รับอนุญาต หรือทำเหมืองในพื้นที่ที่ห้ามมิ ให้ทำเหมือง นอกจากจะมีความผิดทางอาญาแล้วต้ องมีความผิดทางแพ่งด้วย และกำหนดให้ผู้ได้รับความเสียหา ยทั้งต่อร่างกาย สุขภาพ และอนามัยจากการประกอบกิจการ สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนไ ด้

อย่างไรก็ตาม สำหรับทุกคำขอที่ได้ยื่นไว้ก่อน พระราชบัญญัติแร่ฉบับใหม่มีผลบั งคับใช้ให้ถือว่าเป็นคำขอตามกฎห มายแร่ฉบับใหม่  และในส่วนของ อาชญาบัตร ประทานบัตร หรือใบอนุญาตที่ออกให้ตามพระราช บัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 และ พระราชบัญญัติพิกัดอัตราค่าภาคห ลวงแร่ พ.ศ. 2509 ให้มีผลต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ หรือถูกเพิกถอน ทั้งนี้ ตามกระบวนการตราพระราชบัญญัติ เมื่อร่างพระราชบัญญัติได้รับคว ามเห็นชอบจากที่ประชุมสภานิติบั ญญัติแห่งชาติแล้ว นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้ าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยให้ ประกาศใช้เป็นกฎหมายภายใน 20 วันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระรา ชบัญญัติ และมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุ เบกษา ทั้งนี้ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมื องแร่ ได้ดำเนินการแต่งตั้ งคณะทำงานเพื่อจัดทำอนุบัญญัติ ที่จะออกตามความในพระราชบัญญัติ แร่ฉบับใหม่นี้ จำนวนกว่า 100 เรื่อง  ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการให้ แล้วเสร็จได้ทันตามระยะเวลาที่ก ฎหมายกำหนด  นายสมบูรณ์ กล่าว


You must be logged in to post a comment Login