- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 4 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 6 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
‘Arnold Toynbee-Oswald Spengler’ ความคิดวิวัฒนาการทาง civilization / โดย เรืองยศ จันทรคีรี
คอลัมน์ : กรีดกระบี่บนสายธาร
ผู้เขียน : เรืองยศ จันทรคีรี
การจะเข้าใจ Arnold Toynbee ให้ลึกซึ้งจำเป็นต้องทำความเข้าใจปรัชญาพื้นฐานของสำนักความคิดหลายสำนัก เพราะปรัชญาและวิธีคิดของเขาเป็นแบบ mish-mash หรือปรัชญาลูกผสมที่คลุกเคล้าบดและป่นเข้าหากัน เช่นเดียวกับแนวความคิดของ Oswald Spengler ก็ถือเป็นอีกแนวคิดที่ปนอยู่ในแนวคิดของ Toynbee
Spengler เป็นนักคิดและนักปรัชญาประวัติศาสตร์ชาวเยอรมัน นอกจากนั้นยังเป็นนักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แนวคิดของคนทั้งสองมีทั้งความคล้ายและความแตกต่างกัน แต่ที่เหมือนกันคือ การมอง civilization ที่จะเปลี่ยนแปลง
เมื่อมองลึกเข้าไปในประวัติศาสตร์เช่นในช่วงสมัยโรมัน ก็มีแนวคิดของศาสนาคริสต์เป็นคู่ขนานที่เข้มแข็งในลัทธิความเชื่อที่เคียงคู่ไปกับความเชื่อทางอำนาจของพวกโรมัน การจะเข้าใจทฤษฎี challenge and respond ของ Toynbee ซึ่งมองไปที่ civilization เราจำเป็นจะต้องนิยามความหมายเสียใหม่อย่างกว้างๆ เช่น คำว่า “civilization” คงไม่ได้แปลว่าอารยธรรม แต่ควรแปลว่าองคาพยพต่างๆที่รวมกันเป็นประวัติศาสตร์ในความหมายของประวัติศาสตร์
คำว่า “religion” ก็ไม่ควรแปลว่าศาสนา แต่น่าจะหมายถึงเรื่องของลัทธิความเชื่อ และคำว่า “moral” ก็คงไม่ได้แปลว่าศีลธรรม แต่น่าจะหมายถึงตัวตนและพฤติกรรม
เหมือนอย่างช่วงสงครามเย็นที่เป็นการเผชิญหน้าระหว่างอเมริกาและโซเวียต เราต้องมองว่าสงครามเย็นคือลัทธิและความเชื่อ
เช่นเดียวกับในปัจจุบันที่กระแสของโลกาภิวัตน์และระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตย เราต้องนิยามให้เป็นลัทธิและความเชื่อเช่นเดียวกับการปกครองแบบอำนาจนิยม
ในการอธิบายความหมายของ Spengler นั้นมองว่า “civilization” มีการเปลี่ยนแปลง และเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบวงจรชีวิต แต่เป็นวงจรในแบบการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลธรรมชาติ
ตรงนี้เองคือข้อแตกต่างกับความคิดของ Toynbee ที่ไม่เชื่อเรื่องวิวัฒนาการเช่นนั้น ไม่เห็นเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบฤดูกาล แต่มองว่าเป็นวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงในแบบวงจรของชีวิต
มีข้อน่าสังเกตอีกประการว่า Toynbee เขียนหนังสือเล่มที่ 1 ในชุด “A study of history” มีชื่อว่า Decline the west ซึ่งก็เป็นชื่อเดียวกับหนังสือที่ Spengler เขียนขึ้นมา นั่นคือการปฏิเสธวัฒนธรรมตะวันตก แต่ของ Toynbee เริ่มต้นด้วยความหมายของการกำเนิดวัฒนธรรม (genesis)
ความหมายของ Toynbee คือการกำเนิดอารยธรรม แต่ตามทฤษฎีวงจรชีวิตของเขา การกำเนิดดังกล่าวได้บังเกิดพร้อมกับ designation คือตามทฤษฎีวงจรชีวิตนั้น Toynbee ตีความว่า เมื่อมีการเกิดขึ้นก็มีการกร่อนสลายไปพร้อมกันเลย
ถัดจากวงจรการกร่อนสลายก็ถึงวงจรของ growth หรือการเจริญเติบโต จากนั้นก็วิวัฒนาการไปวงจรที่เรียกว่า trouble problem หมายถึง ช่วงเวลาของการยากลำบากหรือการแก้ไขปัญหาจนวิวัฒนาการไปสู่สถานการณ์ทั่วไป (Universal state) จนถึงวงจรสุดท้ายคือวิวัฒนาการทำลายตัวเองของอารยธรรม (Collapse)
เขาเชื่อว่าทุกอย่างนั้นมีทฤษฎีและมีลำดับขั้น แต่ก็สามารถข้ามขั้นได้ ซึ่งเรียกว่า “break down” หรือการแตกหักนั่นเอง
เมื่อเรามองตามแนวคิดวิวัฒนาการแล้ว civilization ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องแตกหัก โดยเฉพาะเมื่อค้นเข้าไปในข้อเขียนบางชิ้นของ Toynbee ที่มองว่า civilization หรืออารยธรรมเป็นสิ่งที่ไม่เสถียร แต่สภาพแวดล้อมนั้นสามารถเสถียรได้
ประเด็นตรงนี้จึงน่าคิด เพราะการเสถียรของสภาพแวดล้อมมีสภาวะนามธรรมที่เสถียรได้ เช่น กระแสโลกาภิวัตน์ของทั้งโลกก็สามารถเป็นสภาพแวดล้อมที่เสถียรได้ หรือกระแสประชาธิปไตยทั่วโลกก็กลายเป็นสภาวะที่เสถียรในสังคมระดับนานาชาติแล้ว
ประเด็นตรงนี้ผมพิจารณาว่า แม้ civilization ของลัทธิการเมืองในประเทศไทยจะเป็นสิ่งที่ไม่เสถียร แต่สิ่งแวดล้อมที่เสถียรดังกล่าวก็เป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ผู้มีอำนาจจำเป็นต้องคำนึงเหมือนกัน โดยเฉพาะถ้าเราต้องการดึงการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ มันอาจจะต้องอดทนรับฟังกันและกันเพื่อให้ civilization สามารถดำเนินไปตามวงจรได้โดยไม่ต้อง break down!
You must be logged in to post a comment Login