- อย่าไปอินPosted 3 days ago
- ปีดับคนดังPosted 4 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 5 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 6 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 7 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
มอง‘เออีซี’หลังครบ1ปี
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Community : AEC) มีอายุครบ 1 ปี ท่ามกลางบรรยากาศเงียบ เหมือนไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงสำหรับประชาชนชาวบ้านทั่วไป
แต่สื่อมวลชนญี่ปุ่นแห่งเว็บไซต์ The Japan News ที่ตระเวนสอบถามข้อมูลจากผู้ประกอบการญี่ปุ่น ระบุว่ามีพัฒนาการหลายอย่าง และมีปัญหาหลายกรณีที่ต้องแก้ เพื่อสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการลงทุน
เออีซี ซึ่งมีอายุครบ 1 ปี เมื่อ 1 มกราคม ที่ผ่านมา เป็นองค์กรส่งเสริมการค้า การลงทุน และการติดต่อสัมพันธ์ของประชาชน ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ชาติ ได้แก่ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ บรูไน
เครื่องมือที่สำคัญของเออีซี คือข้อตกลงการค้าเสรี สามารถนำเข้าสินค้าระหว่างกันโดยไม่ต้องเสียภาษี
สื่อญี่ปุ่นระบุว่า พัฒนาการหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วง 1 ปีของเออีซี คือมีบริษัทจากประเทศนอกอาเซียน เช่น จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน และญี่ปุ่น เข้ามาลงทุนในกลุ่มอาเซียนเพิ่มขึ้น
ขณะผู้ประกอบการญี่ปุ่นหลายบริษัท ซึ่งรวมทั้งบริษัทผลิตอะไหล่รถยนต์ ย้ายฐานผลิตจากไทยไปลาวและกัมพูชาที่ค่าแรงถูกกว่า และอาศัยข้อตกลงการค้าเสรี ส่งอะไหล่เข้าไทยโดยไม่ต้องเสียภาษี
ความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานได้รับการพัฒนาดีขึ้น เช่น ถนนในหลายประเทศดีขึ้น ช่วยให้การขนส่งคล่องตัวมากกว่าเดิม ขณะศุลกากรพม่านำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ตรวจปล่อยสินค้า ช่วยให้การขนส่งเคลื่อนย้ายสินค้าผ่านพรมแดนรวดเร็วขึ้น
ส่วนปัญหาที่ต้องแก้ ผู้ประกอบการญี่ปุ่นชี้ไปที่การคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่ กรณีขอค่า “น้ำร้อนน้ำชา” แลกกับการทำธุรกรรมให้ และการตั้งกำแพงทางการค้าที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษี (Non-Tariff Barriers : NTB)
เอ็นทีบี เป็น “แม่ไม้” ใช้ลดจำนวนสินค้าต่างชาติ ที่นำเข้าปลอดภาษี ไม่ให้เข้ามาแย่งตลาดสินค้าภายในประเทศ เป็นมาตรการปกป้องสินค้าภายในประเทศ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งก็คือ แท็กติกกีดกันทางการค้านั่นเอง ซึ่งทำได้หลายกรณี
เช่น กำหนดภาษีเพื่อการบริโภคกับสินค้านำเข้าเป็นกรณีพิเศษ จำกัดโควตานำเข้า และกำหนดมาตรการตรวจสอบคุณภาพสินค้านำเข้าอย่างเข้มงวด เป็นต้น
ปัญหาที่ระบุเป็นเพียงอุปสรรคส่วนหนึ่ง ที่เออีซีต้องแก้ เพื่อสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการลงทุนมากขึ้น
ผู้ประกอบการญี่ปุ่นส่วนใหญ่มองว่า เออีซีเป็นตลาดอันดับต้นๆ ของโลก ที่น่าสนใจเข้ามาลงทุน
หากประเทศเจ้าภาพสามารถขจัดปัญหาที่มีอยู่ได้ ความน่าสนใจก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น
You must be logged in to post a comment Login