- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 11 hours ago
- อย่าไปอินPosted 3 days ago
- ปีดับคนดังPosted 4 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 5 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 7 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
สัตยาบัน! / โดย นายหัวดี
คอลัมน์ : ฉุก(ละหุก)คิด
ผู้เขียน : นายหัวดี
การทำ “สัตยาบัน” ถือว่ามีความสำคัญทั้งในแง่นิติรัฐหรือกฎหมายระหว่างประเทศ เพราะใน “กฎหมายแพ่ง” ถือเป็นการให้คำรับรองโมฆียกรรมให้เป็นนิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์ ส่วน “กฎหมายระหว่างประเทศ” ถือเป็นการให้คำรับรองความตกลงระหว่างประเทศ เช่น สนธิสัญญา พิธีสาร ปฏิญญา ฯลฯ
“บิ๊กป้อม” ในฐานะ “แม่งาน” ให้พรรคการเมืองลง “สัตยาบันปรองดอง” เพื่อร่วมกันเดินหน้าประเทศ
ไม่ใช่พูดถึงเรื่องในอดีต การนิรโทษกรรม การอภัยโทษ หรือกฎหมายที่จะทำให้เกิดความขัดแย้ง ส่วนคดีต่างๆที่มีอยู่ ก็ว่ากันตามกระบวนการทางกฎหมาย
“ทั่นผู้นำ” บอกว่าไม่ใช่ “สัตยาบัน” แต่เป็น “สัจสัญญา” หรือ “สัจวาจา” พูดแล้วต้องไม่ลืม ต้องทำตามนั้น “ทั่นผู้นำ” ยังย้ำว่า ตนเองไม่ได้ต้องการจะปรองดองกับใคร เพราะไม่ได้ขัดแย้งกับใคร ทั้งที่เป็นฝ่าย “ล้มกระดาน” ฉีกรัฐธรรมนูญ
การทำรัฐประหารจะอ้างเพื่อยุติความขัดแย้ง หรือกล่าวหาฝ่ายการเมืองทุจริตคอร์รัปชัน ก็ถือว่ากองทัพเข้ามาเล่นสู่การเมืองโดยตรงและเป็นคู่ขัดแย้งโดยปริยาย ทั้งฝ่ายที่ถูกโค่นล้มและกับประชาชน เพราะรัฐประหารคือการยึดอำนาจจากประชาชน
ประชาชนจึงมีสิทธิ์เรียกร้องให้กองทัพต้องร่วมทำ “สัตยาบัน” หรือ “สัจวาจา” ว่าจะไม่ทำรัฐประหาร!
You must be logged in to post a comment Login