- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
ฝ่าวิกฤติคอร์รัปชันสินบน Rolls-Royce
เว็บไซต์ thaipublica รายงานการดเสวนา “อย่าให้คนโกงมีที่ยืนในการบินไทย ปตท. และประเทศไทย กรณีสินบน Rolls-Royce” โดยองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2560
สืบเนื่องจากกรณีที่บริษัทโรลส์-รอยซ์ ยักษ์ใหญ่ด้านเครื่องยนต์ ออกมายอมรับต่อสำนักงานปราบปรามการทุจริตของอังกฤษ (Serious Fraud Office: SFO) ว่าได้จ่ายสินบนให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ระหว่างปี 2534-2548 ซึ่งหน่วยงานที่ถูกระบุถึงคือ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), เรืออากาศเอก กนก ทองเผือก รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายทรัพยากรบุคคลและกำกับกิจกรรมองค์กร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), ศ. ดร.เมธี ครองแก้ว อดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และนายบรรยง พงษ์พานิช กรรมการกลยุทธ์ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และดำเนินรายการโดย ดร.มานะ นิมิตรมงคล
“บรรยง” ต้องชง ป.ป.ช. เจ้าภาพตรวจสอบสินบน
นายบรรยงเริ่มต้นกล่าวถึงกรณีสินบนโรยส์-รอยซ์ที่เกิดขึ้นว่าคงต้องใช้เวลาอีกนานตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ แต่ถือว่าเป็นสัญญาณดีที่ประเทศใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา อังกฤษ หรือเยอรมนี เริ่มหันมาเอาจริงกับการปราบปรามการทุจริตที่มิใช่แค่เพียงภายในประเทศ แต่ตามไปถึงการกระทำผิดภายนอกประเทศด้วย
นอกจากนี้ สำหรับกรณีนี้ตนคิดว่าสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ควรรับเป็นเจ้าภาพตรวจสอบแต่เพียงผู้เดียว ขณะที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องเป็นฝ่ายให้ความร่วมมือทุกอย่างที่ ป.ป.ช. ขอ และไม่เห็นด้วยที่จะให้หน่วยงานตั้งคณะกรรมการตรวจสอบภายในกันเอง เพื่อความโปร่งใสของการตรวจสอบข้อเท็จจริง
“ต้องขออนุญาตและต้องขอโทษด้วย ไม่ได้ตั้งใจจะล่วงเกินอะไร แต่ขอตั้งข้อสังเกตไว้แบบนี้ อันนี้เป็นแนวคิดว่ามันตรวจเป็นแบบนั้นสำหรับการตรวจสอบ แล้วพอเห็นข่าวออกมาก็มีเจ้าหน้าที่โรลส์-รอยซ์วิ่งไปหาการบินไทย มันก็จริงๆ โอเคไม่เป็นไร ไปหาแล้วก็รายงาน ป.ป.ช. ว่าพูดคุยอะไรกัน ซึ่งอีกนานเป็น 10 ปี หากอ่านตามรายงานที่ออกมา SFO ใช้เวลาไป 4 ปี และเงินทุนไปกับคดีนี้ 13 ล้านปอนด์ มีจำนวนเอกสารกว่า 30 ล้านฉบับ อ่านเมื่อไรจะหมด มันสะท้อนให้เห็นหลายเรื่อง อย่างวิธีการสมัยใหม่แน่นอนมีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ ไม่เช่นนั้นใช้คน 1 คนดู 10 ฉบับชั่วโมงหนึ่ง มันต้องใช้ตั้งกี่คน มันไม่ได้ เรื่องก็คงยาวออกไปแน่นอน” นายบรรยงกล่าว
5 คำถาม “อุตสาหกรรมนายหน้า” ยังมีกรณีอื่นหรือไม่
นายบรรยง พงษ์พานิช
นายบรรยงกล่าวต่อไปถึงภาพใหญ่กว่ากรณีของสินบนโรยส์-รอยซ์ว่า แม้คดีดังกล่าวจะยังต้องใช้เวลาสอบสวนอีกค่อนข้างมาก แต่อีกด้านหนึ่งประเทศไทยสามารถประเมินสถานการณ์และออกแบบแนวทางป้องกันดังกล่าวได้ตั้งแต่ตอนนี้ โดยเริ่มต้นจากคำถามหลัก 5 ประเด็น ได้แก่
- 1) ทำไมต้องต้องจ่ายสินบน ทุกคนทราบว่าสินค้าของโรยส์-รอยซ์เป็นระดับดีที่สุดในโลกอยู่แล้ว เหตุใดจึงยังต้องติดสินบน ซึ่งโดยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แปลว่าประโยชน์ที่ได้จากการไม่ต้องแข่งขันมันดีกว่าเงินสินบนที่จ่ายไป แล้วตอนหลังไปแบ่งกันอีกหรือไม่ ไม่อาจจะทราบได้
2) มีแค่เพียงโรลส์-รอยซ์เท่านั้นหรือไม่ คนอื่นที่เข้ามาช่วงเวลาอื่นๆ จ่ายด้วยหรือไม่
3) มีแค่เพียง ปตท. หรือการบินไทยแค่นั้นหรือไม่ แล้วรัฐวิสาหกิจอื่นๆ อีก 50 กว่าแห่งเป็นอย่างไร
4) มีเพียง 3 ประเทศที่จ่ายเท่านั้นหรือไม่ แล้วประเทศอื่นๆ มีการจ่ายสินบนอีกหรือไม่
5) เรื่องแบบนี้เป็นอดีตไปแล้วจริงหรือไม่ ปัจจุบันไม่มีการจ่ายสินบนอีกต่อไปแล้วหรือไม่
“จากประเด็นที่กล่าว ถ้าเราไปมัวรอคดีโผล่ขึ้นมาแล้วไปตามจับจะป้องกันไม่ได้ แล้วการจ่ายสินบนในการจัดซื้อจัดจ้างนั้นกว้างขวางมาก ไม่ใช่แค่รัฐวิหสากิจ ในหน่วยงานของรัฐก็มีและขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ มีเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์อยู่ว่าเพราะไม่เคยจับได้ เพราะฉะนั้น ตราบใดที่ผลประโยชน์ที่ได้มากกว่าโทษที่จะได้รับคูณกับโอกาสที่จะถูกจับ มันก็เกิดขึ้น แต่ไปดูประวัติจะเจอว่าโอกาสถูกจับได้น้อยมาก เพิ่มโทษไปประหารชีวิต 7 ชั่วโคตร แต่คูณศูนย์ก็เท่ากับศูนย์ จับไม่ได้ เรื่องแบบนี้เป็นกระบวนการ เป็นอุตสาหกรรมการ เป็นผู้ประสานงานขายของให้รัฐ มีคนทำธุรกิจในนี้จำนวนมาก แล้วรัฐบาลจัดซื้อจัดจ้างปีละ 3 ล้านล้านบาทตอนนี้ เอาแค่ครึ่งเดียวที่จ่ายสินบน จ่ายสัก 8% แบบโรลส์-รอยซ์ก็ปาเข้าไป 120,000 ล้านบาทแล้ว เป็นอุตสาหกรรมที่ยิ่งใหญ่มาก การไปหยุดทันทีคงยาก” นายบรรยงกล่าว
ชงเพิ่มกลไก “โปร่งใส เชี่ยวชาญ มีส่วนร่วม เปิดเผย”
นายบรรยงกล่าวต่อไปว่า แนวทางที่จะตรวจสอบประเด็นต่างๆ ข้างต้น นอกจากจะเพิ่มอำนาจรัฐที่เข้ามาตรวจสอบแล้ว อีกแนวทางหนึ่งคือใช้หลักการ TEPP เพื่อช่วยป้องกันให้การเกิดคอร์รัปชันยากขึ้น และเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเพิ่มโอกาสดึงข้อมูลหลายอย่างขึ้นมาบนโต๊ะให้ทุกคนเห็น ได้แก่
- 1) ความโปร่งใส หรือ Transparency บังคับให้เปิดเผยทุกขั้นตอน พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารควรจะต้องปรับปรุงให้เปิดเผยข้อมูลให้มากที่สุด ไม่ใช่ขอแล้วค่อยเปิดออกมา
2) ความเชี่ยวชาญ หรือ Expertise ต้องมีผู้เชี่ยวชาญไปตามตรวจสอบ สำหรับข้อมูลบางอย่างที่ยากและซับซ้อน ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในความรู้บางอย่างตรวจสอบ
3) การมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน หรือ Participation มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งประชาชน เอกชน ภาครัฐด้วย
4) เปิดเผย หรือ Publica ประชาชนต้องได้รับรู้ขั้นตอนการเปิดเผยทั้งกระบวนการ
“4 เรื่องนี้จะต้องปรับปรุงกฎหมายหลายเรื่อง การทำโปรเจกต์ต่างๆ การทำข้อตกลงคุณธรรม หรือโครงการ CoST แต่เหล่านี้ยังเป็น Project-Based แต่ถ้าจะให้เป็นระบบแบบ System-Based ต้องปรับกฎหมายหลายอย่างเรื่อง เรื่องข้อมูลข่าวสาร การประมูลไม่ใช่การตอบโจทย์อย่างเดียวแน่นอน การประมูลก็มีคนประสานงานให้สเปกออกมาตามต้องการ มีการฮั้วประมูลต่างๆ และล่าสุดคือเรื่องทำกฎหมายการโฆษณาของรัฐ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่แท้จริง ตัดตอนไม่ให้ผู้มีอำนาจเอางบประมาณไปยัดใส่สื่อ ก็กำลังผลักดันกันอยู่ เรื่องพวกนี้ยากแน่นอน แต่สามารถทำได้เลย ไม่ต้องรอให้เกิดคดีหรือคดีสิ้นสุดก่อน” นายบรรยงกล่าว
แจงอำนาจจำกัด ขั้นตอนเยอะ ตรวจเอกชนไม่ได้
ศ. ดร.เมธี ครองแก้ว
ศ. ดร.เมธี กล่าวถึงประสบการณ์ในฐานะกรรมการ ป.ป.ช. ว่า ปัญหาประการหนึ่งที่ ป.ป.ช. ต้องเผชิญคือขาดอำนาจที่จะขอข้อมูลโดยตรงจากหน่วยงานรัฐของต่างประเทศ เพื่อจะนำมาใช้ในการดำเนินคดีทางศาล แต่ต้องขอผ่านไปทางสำนักงานอัยการสูงสุดแทน นอกจากนี้ กฎหมายของ ป.ป.ช. ยังให้อำนาจได้เพียงไต่สวนเจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้น ขณะที่กับเอกชนไม่สามารถไต่สวนได้ ยกเว้นจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐ จึงยังเป็นข้อจำกัดทางกฎหมายที่มีอยู่
“ที่เคยไปขอถามเขาให้ได้ให้ เขาบอกว่าได้นะ แต่พอจะนำมาใช้ในการพิจารณาคดีในบ้านเรา กลายเป็นว่าต้องมีขั้นตอนอื่นๆ อีก 7-8 ขั้นตอน ป.ป.ช. ไม่สามารถนำข้อมูลที่มีไปประกอบได้ ที่ผ่านมาจึงอาจจะขอไปก่อน เพื่อนำมาใช้สอบสวน แต่พอชั้นพิจารณาคดีก็ต้องทำเรื่องผ่านขั้นไปให้ถูกต้องตามกฎหมายไทยต่อไป จริงๆ มีกฎหมายที่ให้อำนาจ ป.ป.ช. ไว้แล้วแต่ไม่ถูกใช้มากนัก คือ มาตรา 103 ที่ห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐรับเงินมากกว่า 3,000 บาท ก็คิดว่าตรงนี้เป็นอาวุธของ ป.ป.ช. ที่มีอยู่” ศ. ดร.เมธีกล่าว
“ปตท.” ตั้ง กก. สอบ ดึง ป.ป.ช. ตรวจถึงบ้าน
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช
นายเทวินทร์กล่าวว่า ปตท. ได้ตั้งกรรมการตรวจสอบตั้งแต่มีข่าว ซึ่งอาจจะต้องรอกระบวนการต่างๆ ให้แล้วเสร็จก่อน และพร้อมที่จะเปิดให้ ป.ป.ช. เข้ามาเป็นศูนย์ตรวจสอบ โดยเปิดพื้นที่ให้เข้ามาอยู่ในบริษัท กรณีต้องการข้อมูลหรือสอบถามผู้เกี่ยวข้องจะสามารถทำได้สะดวกรวดเร็ว ส่วนประเด็นที่ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นเนื่องจากเกี่ยวพันกับชื่อเสียงขององค์กรโดยตรง นอกจากนี้ ในมุมมองของธุรกิจ ยังมีประเด็นต้องแยกแยะระหว่างเงินค่านายหน้าในลักษณะแรงจูงใจสำหรับพนักงานขายกับการคอร์รัปชันออกจากกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่มีความชัดเจนมากนัก
“เรื่องนี้ ในแง่หนึ่งอาจจะถือเป็นโอกาสของ ปตท. ด้วย เพราะกรณีแบบนี้จะช่วยให้คนในองค์กรตระหนักถึงปัญหาคอร์รัปชัน และสามารถปลูกฝังหรือสร้างวัฒนธรรมร่วมขององค์กรได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยในอนาคตอาจจะต้องปรับกระบวนการการจัดซื้อจัดจ้างให้รัดกุมมากขึ้น ผู้แทนต่างๆ อาจจะต้องลงทะเบียนกับ ปตท. โดยตรงเพื่อให้ตรวจสอบได้” นายเทวินทร์กล่าว
“การบินไทย” ตั้ง 2 คณะสอบ มั่นใจโปร่งใส
เรืออากาศเอก กนก ทองเผือก
ร.อ. กนก กล่าวว่า ภายหลังมีเรื่องเกิดขึ้นมา คณะกรรมการบริษัทได้ประชุมทันทีเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2560 และตั้งคณะกรรมการตรวจสอบในวันที่ 19 มกราคม 2560 ทันที คณะแรกตั้งเพื่อตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อตั้งแต่ปี 2534 ว่ากระบวนการดังกล่าวเป็นอย่างไร มีช่องว่างหรือโปร่งใสเพียงใด ขณะที่อีกคณะหนึ่งทำหน้าที่กรณีสินบนโรลส์-รอยซ์โดยตรง เพื่อหาข้อเท็จจริงว่าเป็นเช่นไร มีกระบวนการจัดซื้ออย่างไร มีช่องว่างอย่างไร
“คณะกรรมการได้เริ่มดำเนินการแล้ว ทำงานทุกวัน แต่ขณะเดียวกันข้อมูลบางส่วนในช่วงปี 2534 ยังเป็นเอกสาร ก็ต้องใช้เวลาตรวจสอบ แต่มีหลักฐานทั้งหมดแล้ว ข้อมูลก็จะทยอยออกมาตามลำดับ แต่ในฐานะเป็นรองด้านทรัพยากรบุคคล ต้องบอกว่าการบินไทยจัดซื้อแบบจัดหาตรงอยู่แล้ว แต่ที่บอกว่ามีคนกลางเกิดขึ้น เนื่องจากบริษัทที่เป็นคู่ค้าเป็นบริษัทข้ามชาติ บริษัทเหล่านี้ก็อาจจะแต่งตั้งตัวแทนติดต่อประสานของเขา อย่างโรลส์-รอยซ์ก็มีตัวแทนที่สิงคโปร์ เราก็ติดต่อตรงอยู่แล้ว แต่ถ้าต้องมาเจอกันทางโรลส์-รอยซ์สิงคโปร์จะต้องมา ดังนั้น การจัดหาเครื่องยนต์ต้องถือว่าโปร่งใส ตอบตรงนี้ก่อนเลย เพราะต้องมีการศึกษา เปรียบเทียบ วางแผนลงทุน ครบถ้วน แต่กรณีที่เกิดขึ้นต้องไปตรวจสอบหารูรั่วกัน” ร.อ. กนก กล่าว
You must be logged in to post a comment Login