- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
Nemsis ของ ‘Arnold Toynbee’ ถอดรหัสการเปลี่ยนแปลง Civilization / โดย เรืองยศ จันทรคีรี
คอลัมน์ : กรีดกระบี่บนสายธาร
ผู้เขียน : เรืองยศ จันทรคีรี
เราพอเข้าใจถึงแนวคิดของ Arnold Toynbee เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ที่มองไปที่การเกิดขึ้นและการล่มสลายของ civilization หรืออารยธรรม ในความหมายที่เป็นทุกองคาพยพของประวัติศาสตร์ ทั้งการเกิดและการล่มสลายของ civilization ต้องถือให้ทฤษฎีหลักในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงก็คือทฤษฎี challenge and respond
กระนั้นก็ตาม การจะเข้าใจกรณี civilization จะเกิดขึ้นหรือดับสลายยังมีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจต่อแนวคิดและรายละเอียดของ Toynbee ให้มากกว่านั้นอีก เริ่มต้นจากทฤษฎีหลัก (challenge and respond) ต้องเข้าใจว่าการที่ civilization จะเปลี่ยนแปลงได้ตามทฤษฎีดังกล่าวจะต้องเป็นการ challenge and respond ที่พอดีๆ ถ้า challenge เบาไป civilization ก็จะไม่เกิดขึ้น ถ้ารุนแรงไป civilization ก็จะเสียหาย ความพอดีจึงเป็นความถูกต้อง ซึ่งเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “golden mean”
นอกจากนั้นยังต้องเข้าใจศัพท์เฉพาะซึ่งเป็นกลุ่มนำที่ใช้ภาษาอังกฤษทับศัพท์ว่า creative minority หมายถึงกระแสความคิดใหม่ที่สามารถชี้นำหรือกุมทิศทางทางความคิดของสังคมได้ นอกจากนั้นก็เป็นกลุ่มส่วนใหญ่ในสังคมที่ถูกบงการให้ต้องเชื่อฟังความคิดของกลุ่มแรกเมื่อต้องมาเผชิญหน้าและโต้กระแสกัน กลุ่มดังกล่าวเรียกว่า majority คือรายละเอียดของทฤษฎีแรก แต่การเปลี่ยนแปลงของ civilization ยังมีวิถีทางอื่นๆที่ต้องทำความเข้าใจด้วย วิถีทางต่อมาซึ่งอาจถือเป็นทฤษฎีที่ 2 ได้คือ withdrawal and change คือการถอนตัวจากศูนย์กลางของ civilization เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ข้อดังกล่าวมักเป็นความพยายามปกป้องตัวเองของ civilization เก่า และข้อสุดท้ายที่น่าสนใจซึ่งอาจถือเป็นทฤษฎีที่ 3 ได้เรียกว่า nemsis of creativity ข้อนี้ทำความเข้าใจไม่ง่าย จึงต้องอธิบายกันยาวสักหน่อย
เริ่มจากความหมายของ nemsis ตามตำนานในศาสนากรีกโบราณซึ่งนับถือเทพเจ้าหลักๆ 12 องค์ ที่สูงสุดคือ “ซุส” เป็นเทพบิดรหรือพระเจ้าสูงสุด สำหรับ nemsis ถือเป็นเทพธิดา 1 ใน 12 ของเทพเจ้า เธอรับสนองพระราชโองการจากพระเจ้าสูงสุดเพื่อติดตามลงโทษผู้ที่ทำบาปหรือทำความผิดโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ไม่ว่าจะยังมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว เราอาจเรียกโทษนี้ว่า “เทวทัณฑ์” หรือการลงโทษของพระเจ้าก็ได้
เทพธิดา nemsis มีโฉมงามมากจนซุสหลงรัก แต่เธอไม่เล่นด้วย ครั้งหนึ่งเธอแปลงกายหนีไปเป็นหงส์ ซุสก็แปลงตัวเป็นห่าน จนต่อมาหงส์ตั้งท้อง ไข่ออกมาฟองหนึ่ง มีผู้นำไข่ดังกล่าวไปถวายให้แก่พระนางลีดา ซึ่งต่อมาฟักออกมาเป็นหญิงสาวที่กลายเป็นตำนานของสงครามกรุงทรอยที่เรารู้จักกันดี
คำว่า nemsis จากการค้นคว้ายังเกี่ยวข้องกับศัพท์ genocide แปลว่าการทำลายล้างชาติพันธุ์ ซึ่งแนวคิดต่อต้านการทำลายล้างชาติพันธุ์ยังเป็นกฎหมายขององค์การสหประชาชาติที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยนิยามถึงการกระทำทุกชนิดที่จะเป็นการทำลายล้างชาติพันธุ์ และยังหมายถึงกลุ่มความเชื่อทางศาสนาและลัทธิทางการเมือง ความหมายของ nemsis ถ้าเป็นศาสนากรีกโบราณหรือศาสนาคริสต์อาจอธิบายได้ว่าเป็นเรื่องของเทวทัณฑ์ แต่เรื่องของ civilization ต้องทำความเข้าใจมากกว่านั้น
ในความเข้าใจของศาสนาพุทธอาจมองอีกมุมที่มีความหมายครอบคลุม แต่ในความหมายของ civilization มีความย้อนแย้งมากกว่านั้น เพราะบางครั้งผู้ที่ทำความดีหรือยึดติดอยู่กับความดีที่ตัวเองนับถืออาจทำให้ติดอยู่กับอัตตาของตัวเองจนสามารถกระทำผิดต่อผู้อื่นได้ พวกนักบวชยุโรปสมัยกลางจึงใช้ความศักดิ์สิทธิ์และความชอบธรรมจากพระเจ้าเอาไปสังหารผู้อื่นได้ เช่นเดียวกับเรื่องการเมืองและลัทธิความเชื่ออาจมีการอ้างความชอบธรรมเพื่อกำจัดฝ่ายตรงข้ามที่ไม่เห็นด้วยกับตนเอง ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ล้วนเข้าข่ายความหมายของคำว่า nemsis ทั้งสิ้น
Toynbee อธิบายการเปลี่ยนแปลงอารยธรรมว่า ถ้ากลุ่ม creative minority ขาดความสามารถหรือขาดพลังที่จะสร้างสรรค์ความคิดขึ้นมา คือไม่สามารถ create civilization ได้ ขณะเดียวกันกลุ่ม majority ก็ไม่มีน้ำยาที่จะสร้างสรรค์อะไรขึ้นมา ซ้ำร้ายยังเป็นแบบ “ผีซ้ำด้ำพลอย” มีกลุ่มภายนอกที่เรียกว่า exogenous ที่มีพลังในการสร้างสรรค์ที่เหนือกว่า 2 กลุ่มแรกที่เผชิญหน้ากัน ผลลัพธ์ก็คือความเสียหายของ civilization
ปรากฏการณ์ต่อไปนี้คือการอธิบายความหมายของ nemsis ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ 3 ประการ สำหรับกรณีที่ civilization เกิดความเสียหายหรือถอยหลัง อาจพูดอย่าง เสธ.อ้าย-พลเอกบุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ถึงการแช่แข็ง civilization ถ้ามีการ challenge and respond ผลที่ออกมาดูเป็นเรื่องที่หลักแหลมและชาญฉลาด ปรากฏการณ์ตรงนี้ก็จะเป็น nemsis ที่ดูดีกว่า golden mean เล็กน้อย
nemsis ประการที่สองคือ withdrawal and change ที่ไม่สามารถเปรียบเทียบอะไรให้เป็น nemsis ได้เลย ผลของมันจึงสามารถจินตนาการทุกอย่างได้ทั้งหมด แม้แต่จินตนาการที่จะย่อโลกทั้งใบให้มาอยู่ในกำมือ
nemsis ประการสุดท้าย เหมือนมีกลไกหรืออำนาจบางอย่างคล้ายกับกลไกรัฐที่พยายามกีดกันทุกอย่างไม่ให้กลุ่ม creative minority มีโอกาสโงหัวแสดงบทบาทอะไร ปิดกั้นไม่ให้มีโอกาสได้เรียนรู้และเผยแพร่สิ่งใดๆกับสังคม หรือตัวอย่างการช่วยโปรโมตเพื่อให้ล้มเหลว คือให้สะดุดขาตัวเองล้มลง เช่น ถ้าพูดถึงในวงงานก็จะเป็นพวกวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ผู้ชำนาญการ หรือผู้จัดการฝ่ายต่างๆ จะมีการขึ้นเงินเดือนหรือเพิ่มรายได้ แต่ไม่มีอำนาจตัดสินใจใดๆ
การเขียนถึง nemsis อาจต้องยุติไว้ในระดับหนึ่ง เพราะซับซ้อนและต้องพูดกันยาวกว่านั้น อาจต้องพูดถึงกรรมในแง่ของกรรมฐิติหรือที่ตั้งของกรรม ซึ่งสัมพันธ์กับเรื่องของภพในกฎอิทัปปัจจยตาในศาสนาพุทธ
สรุปแล้วการจะเข้าใจ nemsis ต้องเข้าใจสัจธรรมและความย้อนแย้งในโลกนี้ ความย้อนแย้งจึงเป็นประการสำคัญที่จะทำให้เราเข้าใจ nemsis ได้กระจ่าง แต่สุดท้ายแล้วการจะให้กระจ่างเรื่อง nemsis เท่าที่พอจะสรุปได้คือ การคิดในเชิงทำลาย
You must be logged in to post a comment Login