วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ก่อสร้างไทยปี 60 คาดโต 15%

On February 1, 2017

นายณัฐพร พรหมสุทธิ ประธานสมาพันธ์สมาคมการก่อสร้างแห่งอาเซียน (ACF) และอุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (TCA)เปิดเผยว่า จากข้อมูลการประชุมของสมาคมการก่อสร้างแห่งอาเซียนปีที่ผ่านมาค่า GDP รวมในกลุ่มอาเซียนมีมูลค่า 2.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐโดยแบ่งประเทศในอาเซียนออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ บรูไน และสิงคโปร์ มีส่วนใน GDP 13%และจะมีอัตราการเติบโต 1-2% โดยสิงคโปร์จะมีแผนลงทุนก่อสร้างประมาณ 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐกลุ่มต่อมามีประเทศมาเลเซีย และไทยมีส่วนใน GDP รวมกัน29%มีอัตราการเติบโต 3-5% โดยมาเลเซีย จะมีแผนลงทุนก่อสร้างประมาณ 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และประเทศไทยมีงบก่อสร้างประมาณ 35,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.2 ล้านล้านบาทถัดมากลุ่มประเทศอินโดนีเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ มีส่วนใน GDP 46%อัตราการเติบโต 5-6%และสุดท้ายคือกลุ่มประเทศCLMV ที่มีแนวโน้มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และมีความเหมาะสมด้านการลงทุนในภาคอุตสหกรรมด้วยความพร้อมด้านทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และอัตราค่าจ้างแรงงานไม่สูงมากนักกลุ่มนี้มีส่วนในGDP 11%แต่มีอัตราการเติบโตสูงถึง7-7.5%จึงเป็นกลุ่มที่น่าจับตามองและได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างประเทศมากที่สุดในขณะนี้

ด้วยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและแนวโน้มการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมของกลุ่ม CLMV ที่เปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น รัฐบาลเมียนมาจึงพยายามเร่งการสร้างถนนและเส้นทางคมนาคมมากขึ้น ทางด้านกัมพูชาก็เช่นเดียวกัน โดยเน้นการใช้ผู้รับเหมาจากประเทศจีนและเกาหลี ซึ่งเทคนิคในการก่อสร้างถนน หรือสะพาน ยังไม่สูงมากนัก เทคโนโลยีอาจจะต่ำกว่าประเทศไทยเล็กน้อยเพราะประเทศจีนยังมีแรงงานอีกมาก จึงไม่คำนึงถึงการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อลดการใช้แรงงานคน ต่างจากประเทศมาเลยเซียและสิงคโปร์ที่ตระหนักในเรื่องของการพัฒนาประเทศ โดยเน้นการลงทุนเรื่องของบุคคลากร เพราะในปัจจุบันมาเลเซียมีการใช้แรงงานชำนาญการต่ำกว่า 1.3 ล้านคนซึ่งก็ยังไม่เพียงพอ แรงงานต่างด้าวก็เข้าไปทำงานในมาเลเซียยาก เมื่อเกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน กว่าจะแก้ปัญหาได้ การก่อสร้างก็จะเกิดความล่าช้าเป็นประจำ เพราะฉะนั้นประเทศมาเลเซียจึงนำเครื่องมือในการบริหารงานเช่น ระบบ Building Information Modeling หรือ BIM มาบังคับใช้ ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์มีการจ้างแรงงานทะลุ 5 แสนคนเป็นคนสิงคโปร์แค่ 125,000 คน ที่เหลือเป็นต่างด้าว ซึ่งต่อไปจะจำกัดจำนวนแรงงานต่างด้าว เพื่อที่จะบีบให้ผู้ประกอบการใช้เทคโนโลยีในการก่อสร้างมากยิ่งขึ้น เพื่อลดแรงงานคน

นายธนัท เวสารัชชานนท์ เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (TCA) กล่าวว่า ประเทศไทยมีโครงการก่อสร้างโครงสร้างขั้นพื้นฐานสูงมากที่สุดในรอบ10 ปีที่ผ่านมา และในอีก3-5 ปีต่อไปจะมีการขยายตัวอย่างมาก ตามนโยบาลหลักของรัฐบาลที่พยายามกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านทางก่อสร้าง โดยรัฐบาลลงทุนจำนวนมหาศาลร่วมกับเอกชนในโครงการPPP (Public Private Partnership) อาทิ รถไฟฟ้าสายสีชมพู รถไฟฟ้าสายสีเหลือง มอเตอร์เวย์นครปฐมเป็นต้น ซึ่งตอนนี้รัฐบาลมีแผนร่นระยะเวลาการพิจารณาคำขอต่างๆ จากเดิมใช้เวลา2ปี ให้ลดลงครึ่งหนึ่ง เพราะฉะนั้นคาดว่าคนไทยจะได้เห็นโครงการ PPP ออกมาในเร็ววัน
ด้านเทคโนโลยีที่จะนำเข้ามาใช้ในการก่อสร้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้เวลา รวมถึงลดต้นทุนแรงงาน แต่อีกด้านกลับเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายเนื่องจากเทคโนโลยีมีราคาสูง ภาครัฐและเอกชนจึงต้องพยายามหาทางออกที่เหมาะสมร่วมกัน และอีกประเด็นที่สำคัญคือแรงงานประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น เด็กรุ่นใหม่เข้ามาในงานก่อสร้างน้อยลง ทำให้ต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าวและเทคโนโลยีมากขึ้น ทั้งนี้ทางสมาคมฯ มีจุดประสงค์ชัดเจนที่จะเป็นศูนย์กลางระหว่างผู้ที่อยู่ในอุตสากรรมก่อสร้าง เพื่อพัฒนางานก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงร่วมกับคอมเอ็กซ์โพเซียม เจ้าของงาน INTERMAT Paris ซึ่งเป็นงานแสดงเทคโนโลยี เครื่องจักร และอุปกรณ์ก่อสร้างระดับโลกที่จัดต่อเนื่องมากว่า 150 ปี มาจัดแสดงที่ประเทศไทยในชื่องานINTERMAT ASEAN 2017 โดยมอบหมายให้อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ บจก. อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ เป็นผู้ดำเนินการจัดงานระหว่างวันที่ 8 – 10 มิถุนายน 2560 ณ อาคาร 3 – 4 และลานกลางแจ้งริมทะเลสาบ อิมแพ็ค เมืองทองธานี รวมพื้นที่ 15,000 ตารางเมตร โดยจะมีผู้ประกอบการมาร่วมแสดงสินค้ากว่า 300 บริษัท แบ่งเป็นบริษัทจากต่างประเทศ 80% และบริษัทจากประเทศไทย 20%

งาน INTERMAT ASEAN 2017 ได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการชั้นนำเป็นอย่างดี ในการเข้าร่วมแสดงสินค้าโดยมร.มาร์ติน ซอมเมอร์ ผู้จัดการเขตประเทศไทย บริษัทเจซีบี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยว่า ปี 2016 สำหรับ JCB ทั้งโลกเป็นปีที่ดีมากๆ และประเทศที่ JCB โฟกัสตอนนี้คือ ประเทศไทย เพราะตอนนี้ประเทศไทยมีเครื่องจักรด้านการก่อสร้างเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน ขึ้นนำอินโดนีเซียนเรียบร้อยแล้ว โดย JCB จะเข้าร่วมแสดงสินค้าในงาน INTERMATASEAN 2017 พร้อมจัดแสดงการใช้เครื่องจักร รวมถึงการทดลองใช้เครื่องจักร และจะพยายามนำเทคโนโลยีใหม่ ที่แสดงในงาน Bauma มาแสดงที่งาน INTERMAT ASEAN 2017

มร.เดนิโร่ แคททาลูซิ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ซีเอ็นเอช อินดัสเทรียล เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัดเผยว่าCASE ขายอุปกรณ์ก่อสร้างครบวงจรระดับโลก ปีที่ผ่านมาเป็นปีที่ดีของ CASE และCASE ก็เคยแสดงสินค้าที่งาน INTERMAT Paris และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แล้วได้ทราบว่า INTERMAT จะมาจัดที่ประเทศไทยซึ่งเป็นศูนย์กลางของอาเซียนเป็นครั้งแรก ซึ่ง CASE ก็จะไม่พลาดโอกาสที่จะได้มาเปิดตัวสินค้า และพบปะผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมจากทั่วอาเซียนในงาน

นายยรรยงค์ นิติสาโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการบริษัท ซิโน ไทย อินเตอร์เทรด จำกัด เผยว่า ภาพรวมของงานก่อสร้างสำหรับซิโน ไทย อินเตอร์เทรดปีที่ผ่านมาไม่ถือว่าดี แต่ต้นปี 60 นี้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น สินค้าของบริษัทเป็นพวกคอนกรีตปั้ม และทาวน์เวอร์เครน ซึ่งใช้สำหรับการสร้างตึกสูง ซึ่งจะได้อานิสงหลังโครงสร้างพื้นฐานเสร็จ อาทิเช่นตามเส้นทางรถไฟฟ้ามักจะก่อสร้างคอนโด เป็นต้น สำหรับปีนี้ เราพัฒนาปั๊มรุ่นใหม่ ซึ่งเล็กกระทัดรัดสามารถทำงานขนาดเล็กได้คู่กับ Truck mixer ของบริษัทคอนกรีตผสมเสร็จได้เป็นอย่าง สามารถติดตั้งด้วยตัวเองได้อย่างรวดเร็วใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที สามารถทดแทนรถโมบายเครนขนาด 100 ตันได้ จึงเข้าถึงพื้นที่ทำงานได้ดีกว่า และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายแทนที่จะต้องจ่ายค่าน้ำมันเป็นเสียค่าไฟฟ้าแทนและจะนำสินค้านี้ไปโชว์ที่งาน INTERMAT อย่างแน่นอน

ทั้งนี้ทางสมาคมฯ มีความคาดหวังว่าการจัดงาน INTERMAT ASEAN 2017 จะสามาถเป็นเวทีกลางในการเจรจาธุรกิจของผู้ที่อยู่ในธุรกิจก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นผู้รับเหมาหรือผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงในระดับภูมิภาคที่กำลังจะเกิดขึ้น อีกทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานเทคโนโลยีและนวัตรกรรมของงานก่อสร้างทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมระดับสากล สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต โดยสามารถติดตามข้อมูลการจัดงานได้ที่http://asean.intermatconstruction.com


You must be logged in to post a comment Login