- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 1 month ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 1 month ago
- โลกธรรมPosted 1 month ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 1 month ago
- สลายความเกลียดชังPosted 1 month ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
ปันน้ำใจให้ช้างอุ่น / โดย วรวุฒิ สารพันธ์

คอลัมน์ : เรื่องเล่าต่างแดน
ผู้เขียน : วรวุฒิ สารพันธ์
ภาพชาวบ้านในอินเดียช่วยกันถัก “เสื้อกันหนาว” ขนาดยักษ์ให้ช้าง เป็นภาพที่ดูแล้วน่ารักครับ
กิจกรรมนี้จัดขึ้นที่ศูนย์ดูแลช้าง Elephant Conservation and Care Center เมืองมธุรา รัฐอุตตรประเทศ อยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย โดยเป็นศูนย์ขององค์การช่วยเหลือสัตว์ป่า Wildlife SOS
ทางศูนย์นำช้างที่มีผู้ครอบครองอย่างผิดกฎหมาย รวมทั้งช้างถูกทำร้าย และนำไปขอทานตามถนน มาดูแล ปัจจุบันมีช้างทั้งหมด 23 เชือก หลายเชือกบาดเจ็บและป่วยจากการถูกทำร้ายและขาดอาหาร ขณะที่บางเชือกตาบอด
สถานที่ตั้งของศูนย์อยู่ไม่ไกลจากเทือกเขาหิมาลัยมากนัก เป็นพื้นที่ที่สภาพอากาศค่อนข้างโหด อุณหภูมิในฤดูร้อนเคยพุ่งถึง 41 องศาเซลเซียส ขณะที่ฤดูหนาวช่วงเดือนธันวาคมและมกราคมอุณหภูมิเคยลดฮวบเหลือ 8-9 องศาเซลเซียส
หนาวเหน็บครับสำหรับคนเมืองร้อนอย่างเรา และช้างก็คงหนาวด้วย
ทางศูนย์สงสารช้างจึงเปิดโครงการ “ถักเสื้อกันหนาวให้ช้าง” เป็นโครงการประเภท “ปันน้ำใจให้ช้างอุ่น” ผู้รักช้างสามารถบริจาคเงินซื้อเสื้อที่ถักมอบให้ช้างได้
คาร์ทิก สัตยานรายัน ผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์ บอกว่า มีชาวบ้านละแวกใกล้เคียงมาเป็นอาสาสมัครช่วยกันถัก เสื้อ 1 ตัวใช้เวลาถักประมาณ 4 สัปดาห์
ปีนี้ทดลองถักนำร่อง 3 ตัว ทำให้ช้างที่โชคดีได้ใส่ “เสื้อกันหนาว” สีสันสดใสและลวดลายสวยงามเพียง 3 เชือก
สัตยานรายันบอกว่า หากมีกระแสตอบรับดี มีผู้ใจบุญช่วยสมทบทุน ก็จะทำต่อไป โดยทางศูนย์ตั้งราคาเสื้อถักกันหนาวไว้ในเว็บไซต์ตัวละ 40 ดอลลาร์สหรัฐ (1,420 บาท) ให้ผู้รักช้างช่วยอุดหนุน เป็นการ “ปันน้ำใจให้ช้างอุ่น”
ผมไม่มีความรู้เรื่องของช้างกับอากาศหนาว แต่วัวควายเคยเห็นเจ้าของในบ้านเราต้องสุมไฟให้ผิงในวันที่อากาศหนาวจัด จึงเป็นไปได้ว่าช้างก็ย่ำแย่ไม่ต่างกับวัวควาย
โครงการนี้จึงเป็นแนวคิดนวัตกรรมที่น่าชื่นชมครับ เป็นการริเริ่มที่ช่วยให้ช้างได้บรรเทาทุกข์จากความหนาวเหน็บ
You must be logged in to post a comment Login