วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ญี่ปุ่นมั่นใจไทยเป็นฐานซัพพลายเชน

On February 7, 2017

ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.)กล่าวว่า ในปี 2560 กสอ. ได้ร่วมมือกับจังหวัดฟุกุโอกะ ซึ่งมีความโดดเด่นด้านอุ ตสาหกรรมอาหาร ทั้งด้วยจุดแข็งด้านเทคโนโลยี และความเชี่ยวชาญในการผลิตมี การใช้นวัตกรรมผสานความรู้ทางวิ ทยาศาสตร์ การเพิ่มมาตรฐานด้วยเทคโนโลยี สารสนเทศ ซึ่งจากปัจจัยสนับสนุนที่ดีเหล่ านี้ กสอ. จึงได้จัดกิจกรรมนำองค์ความรู้ เหล่านั้นมาถ่ายทอดให้กับผู้ ประกอบการ SMEs ไทย ภายใต้โครงการเชื่อมโยงเครือข่ ายธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อ SMEs ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งจากการร่วมมือดังกล่าวนั้น นักลงทุนญี่ปุ่นได้ลงความเห็นว่ าประเทศไทยมีศักยภาพและความพร้ อมที่จะเป็นฐานบริหารจัดการห่ วงโซ่การผลิต เพื่อยกระดับให้ไทยเป็นศูนย์ กลางของอาเซียน สามารถผลิตสินค้าที่ โรงงานในประเทศไทยได้ อีกทั้งยังสามารถสร้างเครือข่ ายเชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้ านเพื่อช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ ด้านการขนส่งสินค้า ซึ่งที่ผ่านมาผู้ประกอบการในจั งหวัดฟุกุโอกะมีการลงทุ นในประเทศไทยทั้งสิ้น 70 ธุรกิจ เกิดการเจรจาความร่วมมือด้านธุ รกิจระหว่างผู้ ประกอบการไทยและฟุกุโอกะแล้วกว่ า 500 เคส อย่างไรก็ตาม กสอ. มั่นใจว่าจะสามารถสร้างประโยชน์ ในลักษณะ win-win ให้กับภาคอุตสาหกรรมของทั้ง 2 ประเทศ พร้อมทั้งเอื้อประโยชน์ต่อทั้ งการค้าและการลงทุ นในประเทศไทยได้ต่อไปในอนาคต

นอกจากนี้ จากแนวโน้มที่ดีในการขยายตั วของอุตสาหกรรมในปี 2560 กสอ. ยังได้ร่วมมือกับประเทศในกลุ่ม CLMV ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศเป้ าหมายแรกที่ต้องส่งเสริมให้เกิ ดการร่วมมือกันอย่างมีนัยสำคั ญเนื่องจากกลุ่มประเทศนี้ยั งคงมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิ จอยู่ในระดับสูง โดยได้ตั้งเป้าความร่วมมือกั บประเทศกัมพูชาในด้านอุ ตสาหกรรมเกษตรแปรรูป สปป.ลาวเป็นการร่วมมือในด้านพลั งงาน เมียนมาร์เป็นความร่วมมือในด้ านอุตสาหกรรมอาหาร ก่อสร้าง เครื่องมือการเกษตร และเวียดนามจะเป็นการร่วมมื อในด้านอุตสาหกรรม สิ่งทอ และชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งล่าสุด กสอ. ได้เริ่มลงนามความร่วมมือกั บสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่ งสหภาพเมียนมาร์เพื่อยกระดั บความร่วมมือการลงทุนภาคอุ ตสาหกรรมและการพัฒนาผู้ ประกอบการระหว่างสองประเทศ โดยการเชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่ างไทยกับสหภาพเมียนมาร์จะเป็ นประโยชน์กับประเทศไทยในด้ านการพัฒนา SMEs และภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากเมียนมาร์มีทรั พยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีนโยบายเปิดประเทศและสนับสนุ นให้นักลงทุนจากต่างประเทศเข้ าไปลงทุน มีการเร่งรัดการพัฒนาโครงสร้ างพื้นฐานและฐานการผลิตภาคอุ ตสาหกรรม รวมทั้งมีเส้นทางคมนาคมขนส่งต่ าง ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงกับกลุ่ มประเทศตะวันออกกลางและเอเซี ยตะวันออกเฉียงใต้เข้าไว้ด้วยกั น ซึ่งในอนาคตจะเป็นเส้นทางการค้ าและการลงทุนที่สำคัญของโลกอี กแห่งหนึ่ง ทั้งนี้ ในความร่วมมือนั้น มุ่งเป้าในการส่งเสริมการค้ าการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้ าหมายที่สำคัญของทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและเครื่ องดื่ม นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมที่ สำคัญอื่น ๆ อาทิ ผลไม้แปรรูป เครื่องดื่ม เป็นต้น

จากการที่อาเซียนได้ตั้งเป้ าหมายการรวมตัวเป็ นประชาคมเศรษฐกิจ กสอ. ยังได้ตั้งเป้าหมายในการสร้ างเครือข่ายระหว่างประเทศสมาชิก โดยจะเน้นความร่วมมือในการสร้ างตลาดและฐานการผลิตเดียวรวมทั้ งการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือโดยเสรี เกิดการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิ ตต่าง ๆ ให้เสมือนอยู่ในประเทศเดียวกัน ประกอบกับส่งเสริมให้นักลงทุ นไทยขยายการลงทุนออกไปสู่ ภายนอกประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความพร้ อมทางด้านแรงงานและมีทรั พยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์เพื่ อเชื่อมโยงโอกาสทางเศรษฐกิ จในประชาคม ทั้งนี้ ในปัจจุบันธุรกิจของไทยมี ความเข้มแข็งมากขึ้นและมี ความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขามากขึ้ น ผนวกกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศมี เสถียรภาพ ซึ่งความแข็งแกร่งดังกล่าวนี้ จะเป็นอาวุธที่ทำให้อุ ตสาหกรรมของไทยก้าวต่อไปในเวที การค้าในระดับที่สูงขึ้นได้อย่ างมั่นคง ดร.พสุ กล่าวปิดท้าย

 


You must be logged in to post a comment Login