วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

บริษัทต่างชาติแห่หนี‘จีน’

On February 15, 2017

“กระแสลม” แห่งความเปลี่ยนแปลง ในภาคธุรกิจและการลงทุนของต่างชาติในจีน ดูเหมือนจะแรงขึ้นตามลำดับ

ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เป็น “กระแสลมเปลี่ยนทิศ” จากที่ผู้ประกอบการต่างชาติ เคยหลั่งไหลเข้าแดนมังกร กลับมาเป็นกระแสแห่หนีจากเขตเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลกแห่งนี้

ก่อนหน้านี้ มีรายงานว่า บริษัทชั้นนำญี่ปุ่นหลายค่าย ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้า ปิดกิจการหนีกลับบ้านญี่ปุ่น ขณะบางส่วนหนีมาปักหลักในกลุ่มประเทศอาเซียน

ล่าสุด มีรายงานลักษณะเดียวกันว่า บริษัทชั้นนำของโลกหลายค่ายก็ประกาศ “โบกมือลา” แดนมังกรเช่นกัน ส่วนหนึ่งประกอบด้วยบริษัท Seagate, Panasonic, Sony Electronics, Marks & Spencer, Metro AG, Home Depot, Best Buy, Revlon และ L’Oreal

บริษัท Panasonic ปิดโรงงานผิตเครื่องรับโทรทัศน์ทั้งหมดในจีนเมื่อปี 2015 หลังทำธุรกิจในจีนมายาวนานถึง 37 ปี ขณะ Sony ขายกิจการทั้งหมด เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีที่ผ่านมา

ส่วน Seagate บริษัทผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์รายใหญ่ที่สุดของโลกแห่งสหรัฐ ประกาศปิดโรงงานที่ซูโจวใกล้นครเซี่ยงไฮ้ ลอยแพพนักงาน 2,000 คน เมื่อเดือนที่แล้ว

สาเหตุที่กดดันให้บริษัทต่างชาติ “ถอยทัพ” จากจีน มีด้วยกันหลายกรณี ที่สำคัญส่วนหนึ่งคือ ต่างชาติมีความรู้สึกว่าทางการจีนไม่ยินดีต้อนรับเหมือนเมื่อก่อน ทำให้การดำเนินธุรกิจค่อนข้างลำบาก ไม่ราบรื่นเหมือนเดิม

นอกจากนั้น ยังเป็นผลมาจากกฎหมายที่คลุมเครือไม่ชัดเจน อัตราภาษีสูง การปรับขึ้นค่าจ้าง ทำให้ค่าแรงค่อนข้างสูง หาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถยาก และการแข่งขันกับบริษัทท้องถิ่นจีนดุเดือดขึ้น

ปัญหาดังกล่าว นอกจากทำให้การดำเนินธุรกิจยุ่งยากแล้ว ยังส่งผลต่อรายได้ด้วย ผู้ประกอบการส่วนหนึ่งที่ตัดสินใจปิดกิจการ เนื่องจากเห็นว่า มีรายได้ไม่คุ้มกับการลงทุน

ทั้งนี้ บริษัทวิจัย Tokyo Shoko Research ของญี่ปุ่น เปิดเผยข้อมูลว่า มีบริษัทญี่ปุ่นในจีนล้มละลายเมื่อปีที่ผ่านมามากถึง 150 บริษัท มีลูกจ้างถูกลอยแพสูงเป็นสถิติใหม่ 1,638 คน

ภาคอุตสาหกรรมผลิตและจำหน่ายเสื้อผ้า “เจ๊ง” มากที่สุด จำนวน 54 บริษัท ขณะธุรกิจขายส่ง ซึ่งรวมทั้งขายส่งเสื้อผ้า ล้มละลาย 63 บริษัท และธุรกิจโรงงาน ล้มละลาย 33 บริษัท

นักวิเคราะห์มองว่า “กระแสลมเปลี่ยนทิศ” ในเรื่องนี้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนในระดับหนึ่ง แต่ไม่น่าจะบานปลายถึงขั้นร้ายแรง เนื่องจากจีนมีผู้ประกอบการท้องถิ่นแทนอยู่แล้ว

ส่วนเรื่องของเสน่ห์ดึงนักลงทุนต่างชาติ อยู่ในภาวะไม่ค่อยดีนัก 


You must be logged in to post a comment Login