- อย่าไปอินPosted 9 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 1 day ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 2 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 4 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
ปัญหารุมเร้าเศรษฐกิจพม่า
เหตุการณ์ในพม่าที่ปรากฏตามสื่อกระแสหลักของโลกส่วนใหญ่ ออกไปในเชิงลบ ทำให้ “คนนอก” ส่วนหนึ่ง ที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ รู้สึกว่าพม่าไม่ปลอดภัย และบรรยากาศไม่น่าเข้าไปลงทุน
เหตุการณ์รุนแรงในพม่าล่าสุด มี 2 กรณี คือปัญหาชาวโรฮีนจาในรัฐยะไข่ และปัญหาชนกลุ่มน้อยหลายฝ่ายที่ยังสู้รบตบมือกับทหารพม่า
ความรุนแรงทั้ง 2 กรณี ยังคงเป็นภารกิจหนักของรัฐบาล ที่มีนางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ เป็นผู้นำตัวจริง ต้องใช้สรรพกำลังหาทางออกด้วยสันติวิธี
ซูจีและคณะรัฐบาลดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยทำควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดึงผู้ประกอบการต่างชาติเข้าไปลงทุนตรง (Foreign Direct Investment : FDI) ซึ่งปีที่ผ่านมา ถือว่าประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง
คณะกรรมาธิการเพื่อการลงทุนของพม่า (Myanmar Investment Commission) เปิดเผยว่า ยอดเอฟดีไอ (FDI) ช่วง 10 เดือนแรก ของปีงบประมาณล่าสุด (เมษายน 2016-มกราคม 2017) อยู่ที่ 5.8 ล้านเหรียญสหรัฐ และมั่นใจว่า เอฟดีไอจะเกินเป้าที่ตั้งไว้ 6 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังครบปีงบประมาณ
ผู้ประกอบการต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในพม่ามากที่สุด ได้แก่ สิงคโปร์ ตามด้วยเวียดนาม และจีน
สำหรับปีงบประมาณของพม่า เริ่ม 1 เม.ย. ไปสิ้นสุด 31 มีนาคม ของอีกปี
ส่วนอัตราขยายตัวของจีดีพีในรอบปีที่แล้ว (ไม่ใช่ปีงบประมาณ) อยู่ที่ 6.5% ลดลงจากปีก่อน ซึ่งขยายตัว 7.3%
แม้เอฟดีไอจะเกินเป้าที่ตั้งไว้ แต่ลดลงจาก 9.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปีงบประมาณก่อน (2015-2016) ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่รัฐบาลทหารปกครองพม่า
ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว รัฐบาลพม่าจึงเร่งมือแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคสำคัญ เพื่อกระตุ้นอัตราเติบโตของเอฟดีไอ
ส่วนหนึ่งคือการแก้กฎหมาย อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นบริษัทในพม่าได้สูงสุด 35% ปรับลดภาษีให้นักลงทุนต่างชาติ และดำเนินการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะระบบไฟฟ้าที่ยังไม่พอใช้
สำหรับกฎหมายที่คลุมเครือไม่ชัดเจน และระเบียบขั้นตอนการทำธุรกรรมของหน่วยงานรัฐที่จุกจิกเกินไป ยังคงไม่มีการแก้ไข
นอกจากนั้น ความกังวลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหา
แน่นอนว่า ถ้าพม่าสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวให้อยู่ในระดับดีหรืออย่างน้อยก็พอรับได้ เม็ดเงินจากนักลงทุนต่างชาติ จะไหลเข้าไปมากกว่าที่เป็นอยู่
You must be logged in to post a comment Login