- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
‘ความสับสน-ความจริง’โลกหลังทันสมัย อาการหลงโลกยุค waltdisney global village / โดย เรืองยศ จันทรคีรี
คอลัมน์ : กรีดกระบี่บนสายธาร
ผู้เขียน : เรืองยศ จันทรคีรี
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้เขียนบทความถึงข้อคิดของ Arnold Toynbee โดยอ้างอิงถึงข้อเขียนของ Marshall McLuhan กับข้อเขียนของ Jean Baudrillard หลายคนบอกว่าเป็นบทความที่น่าสนใจ แต่ผมเขียนไม่ชัดเจนนัก อยากให้เขียนใหม่ ผมจึงเอาบทความชิ้นดังกล่าวมาขัดเกลาและเพิ่มเติมทำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
เรื่องมีอยู่ว่า โลกปัจจุบันไม่ว่าเราจะเรียกว่าโลกอะไร จะเป็นโลกหลังทันสมัยหรืออะไรก็ตาม แต่ความจริงนั้นกลายเป็นเรื่องที่ลึกลับและยากลำบากมากขึ้น แม้กระทั่ง Toynbee นักประวัติศาสตร์และนักปรัชญามือหนึ่งของโลก ยังยอมรับว่าโลกมนุษย์กลายเป็น paradox หรือความเป็นโลกของความย้อนแย้ง ซึ่ง paradox แปลอีกอย่างได้ว่า ปริทัศน์ หมายถึงคำตอบหรือข้อสรุปแบบย้อนแย้งที่น่าฉงน ทำให้งงและเข้าใจได้ยาก
แม้กระทั่งในข้อเขียนบางชิ้นของ Toynbee ยังกล่าวว่าความเป็นไปของตัวเราที่จะทำอะไรให้ดีๆก็ต้องต่อสู้กับภาวะเบื้องสูง ซึ่งเราเรียกว่า “ศรัทธา” หรือคุณธรรมหรือศีลธรรมอะไรก็ตาม ผลของตัวเรากับสิ่งที่อยู่เบื้องบนก็จะกลายเป็น effect ออกมา
สิ่งที่ออกมานั่นแหละเป็นความจริง ซึ่งเกิดจากความย้อนแย้ง มันเป็นเรื่องยากที่ทำให้เกิดเป็นความดีที่ต้องต่อสู้จากความย้อนแย้ง ในทรรศนะของ Toynbee โลกนี้จึงเต็มไปด้วยความย้อนแย้ง
เมื่ออ้างอิงข้อเขียนของ McLuhan เพื่อเอาไปรวมกับความย้อนแย้ง โลกนี้ก็ยิ่งเข้าใจยากไปใหญ่ โดยเฉพาะข้อคิดเรื่อง global village ที่ McLuhan เห็นโลกเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ มีสื่อเป็นตัวกำหนดสำคัญ ยิ่งทำให้โลกนี้ไร้มิติของภูมิศาสตร์ ไม่มีมิติของเวลา ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่า nemsis
เมื่อเราค้นคว้าต่อไปโดยเอาแนวคิดของ Baudrillard รวมทั้งบรรดานักคิด Post Modern หลายคนมาศึกษาแบบผสมกลมกลืน เรายิ่งพบว่าแนวความคิด Post Modern หรือหลังทันสมัยนั้นยิ่งยุ่งยากเข้าไปใหญ่ ตั้งแต่การคำนึงถึงบริบทมาก ซึ่งเป็นข้อแตกต่างระหว่างความจริงแบบวิทยาศาสตร์และความจริงแบบสังคมศาสตร์
แนวคิดของ Baudrillard ปฏิเสธความจริงที่มาตรฐาน ปฏิเสธรากของความจริงคือ ทุกอย่างในโลกเป็นเรื่องที่ไม่มีความจริงหมด สามารถถอดรื้อได้ จึงเป็นแต่เพียงเรื่องเล่าเท่านั้น
ผลงานของ Jean Baudrillard ซึ่งเป็นนักคิดถอดรื้อ post modern แถวหน้าเจ้าของทฤษฎีสื่อล่าสุด ถือเป็นการเตรียมโครงสร้างเอาไว้รองรับโลกในด้านคุณค่า กิจกรรม โดยโฟกัสไปอยู่ที่สื่อ เสมือนเอาสื่อเข้าไปแทนค่าเป็นพระเจ้าก็ไม่ปาน ในการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมใหม่ไว้รองรับให้โลก Baudrillard คำนึงถึงทั้งคุณค่า กิจกรรม และสิ่งต่างๆ ยังคงเห็นว่าโลกนี้ถูกครอบงำโดยกระแสบริโภคนิยม เขาจึงยังต้องใช้พื้นฐานการวิพากษ์วิจารณ์จากลัทธิ neomarxist เป็นเครื่องมือในทางทฤษฎีเพื่อทำความเข้าใจต่อปัญหาเช่นเดียวกัน
ผมจำได้ว่าเมื่อหลายปีก่อนเป็นคนแรกที่เขียนถึงเรื่องเหตุผลวิบัติหรือ fallacy หรืออาจบอกว่าทุตรรกบทก็ได้ จะบอกว่าเป็นเหตุผลลวงก็ยังไหว โลกทุกวันนี้เจ้าพ่อสื่อสมัยใหม่แบบ Baudrillard ก็บอกว่า สื่อทุกวันนี้เข้ามาแทนค่าของพระผู้เป็นเจ้า และความจริงก็เป็นเพียงทุกสิ่งที่ถูกจำลอง เมื่อเราเอามารวมกับเรื่องของเหตุผลวิบัติ เรื่องความจริงในโลกนี้ ผมจึงมองว่ามันกำกวมและแทบจะไม่มีจริง บ่อยครั้งเป็นเพียงความจริงแบบ waltdisney square world ซึ่งน่าจะบอกได้ว่า โลกทุกวันนี้สามารถหลงได้ง่าย เพราะไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรกันแน่
ยกตัวอย่างสักเรื่องเดียวก็พอสำหรับประเทศไทยปัจจุบันที่รัฐบาลมุ่งไปสู่ยุทธศาสตร์ 4.0 ส่วนหนึ่งที่สำคัญคือต้องส่งเสริมงาน Logistic การขนส่งถ่ายลำระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นนโยบายหลักหนึ่งของรัฐบาล ต้องอาศัยกฎหมายการถ่ายลำ จนปัจจุบันนี้งานขนส่งถ่ายลำดำเนินไปได้ยาก ฝ่ายกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ไม่ส่งเสริม พ.ร.บ.ถ่ายลำ แล้วยังไปขวางลำอีก โดยบอกว่าจะต้องดำเนินการแบบนำเข้าและส่งออก งานถ่ายลำเลยไม่เกิดขึ้นตามประสงค์ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
เราอาจสะท้อนได้ว่า นี่เป็นการอ้างข้างๆคูๆของระบบราชการดึกดำบรรพ์ ซึ่งถือเป็นการอ้างแบบเหตุผลวิบัติที่มีอยู่หลายข้อ เพราะเหตุผลเช่นนี้เองจึงทำให้สินค้าเถื่อนอาศัยเข้าไปแทรกแซงขายในตลาดเพื่อนบ้าน
ผมเห็นว่าเพราะเหตุผลวิบัตินี่เองที่ทำให้เกิดการทุจริตของระบบราชการประจำที่ไปทำลายนโยบายดีๆของรัฐบาล เหตุผลวิบัติข้อแรกเรียกทางวิชาการว่า argumentum ad baculum ถ้าแปลเป็นภาษาไทยคือ เหตุผลวิบัติข้ออำนาจคือธรรม หรืออีกเหตุผลวิบัติที่มักจะใช้กัน ภาษาวิชาการเรียกว่า relevant conclusion ภาษาไทยคือ เหตุผลวิบัติแบบโมเมนอกประเด็น เช่น เชื่อว่าหมูบินได้ ทุกคนก็ต้องเห็นคล้อยตามกันว่าหมูบินได้ เหมือนเชื่อว่าธุรกิจถ่ายลำใช้ไม่ได้ในประเทศไทย ต้องไปทำธุรกิจนำเข้าและส่งออก เพราะพิสูจน์หาแหล่งที่มาของสินค้าไม่ได้
โดยความจริงแล้วเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับเรา แต่ระบบราชการดึกดำบรรพ์พยายามลากเอาเหตุผลวิบัติเข้าไปปิดบังเรื่องธุรกิจสินค้าเถื่อน เรื่องจริงจึงอยู่ที่ว่ารัฐบาลจะยึดมั่นนโยบาย 4.0 ของตัวเอง หรือรับฟังเหตุผลวิบัติกันแน่
เรื่องของธุรกิจถ่ายลำในประเทศไทยกับเรื่องธุรกิจนำเข้าและส่งออก ถึงที่สุดแล้วก็ติดขัดอยู่ตรงเหตุผลวิบัติของระบบราชการนั่นเอง !
You must be logged in to post a comment Login