วันพฤหัสที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

เก๋าๆทั้งน้าน! / โดย ทีมข่าวการเมือง

On February 21, 2017

คอลัมน์ : เรื่องจากปก
ผู้เขียน : ทีมข่าวการเมือง

ประเด็นวิศวกรยิงนักเรียน ม.4 เสียชีวิต เนื่องจากเหตุวิวาทกันบนท้องถนน เป็นประเด็นร้อนในสังคมออนไลน์ที่มีการเชียร์แต่ละฝ่ายกันอย่างเมามันในมุมมองของแต่ละคนและตามหลักกฎหมายที่ต่างมองว่าฝ่ายหนึ่งถูก อีกฝ่ายหนึ่งผิด ใครเริ่มก่อน ใครใช้ความรุนแรงก่อน แม้จะมีคลิปที่เผยแพร่ออกมาก็เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของเหตุการณ์ ไม่ใช่เหตุการณ์ทั้งหมด ทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับกระบวนการยุติธรรม เพราะฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต อีกฝ่ายใช้อาวุธ 3 ของโลก แม้ปัจจุบันประเทศไทยยังอยู่ภาย

แต่ประเด็นที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยังไม่ฉุกคิดคือ คนไทยที่ใช้รถใช้ถนนไม่เคารพกฎหมายและระบบการจราจร ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ การทะเลาะวิวาท และความรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตมากมาย
ขณะที่เจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้รับผิดชอบก็ถูกตั้งคำถามถึงการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งมักเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ออกกฎหมายมามากมาย แต่ผ่านไประยะหนึ่งก็ไม่กวดขันและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ไม่ต่างกับระบบราชการหรือการทำงานระดับกระทรวง ทบวง กรม ก็ยังมีปัญหามากมายในเรื่องวัฒนธรรมการทำงานแบบไทยๆ จนมีคำกล่าวที่ว่า “ทำอะไรตามใจคือไทยแท้”

แม้แต่เรื่องคอขาดบาดตายอย่างการเมืองการปกครอง ประชาธิปไตยล้มลุกคลุกคลานเพราะการทำรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าจนติดอันดับสูงเป็นอันดับ ใต้รัฐบาลทหาร แต่นักวิชาการต่างชาติวิเคราะห์ว่าปี 2560 ประเทศไทยยังมีความเสี่ยงจะเกิดการรัฐประหารมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ซึ่งไม่ต่างกับนักวิชาการและนักการเมืองไทยที่ไม่มีใครเชื่อว่าประเทศไทยจะไม่มีรัฐประหารอีก

สัญญาประชาคม

ภาพลักษณ์ของสังคมไทยสะท้อนถึงปัญหาของบ้านเมือง ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องการใช้รถใช้ถนน แต่ยังสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำและระบบอุปถัมภ์ที่ฝังลึก แม้แต่กระบวนการยุติธรรมที่ถือเป็นที่พึ่งสำคัญของประชาชนก็ยังถูกมองว่าเลือกปฏิบัติและสองมาตรฐาน จึงไม่แปลกที่ไม่มีใครเชื่อคำพูดของผู้นำกองทัพว่าจะไม่ทำรัฐประหารหรือไม่มีรัฐประหารอีก

การเข้ามาบริหารประเทศจึงไม่ใช่ “ดีแต่พูด” วาดฝันหรือสร้างวิมานในอากาศต่างๆ อย่างที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หลังยึดอำนาจได้ประกาศโรดแม็พ 3 ระยะว่า ขอเวลาไม่นานในการปรับเปลี่ยนทัศนคติและค่านิยมต่างๆ เพื่อทำให้ประชาธิปไตยของไทยเป็นสากล ถูกต้อง ชอบธรรม รับผิดชอบ เสียสละ และนึกถึงประโยชน์ของประชาชนทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย ทุกพื้นที่

โรดแม็พของ คสช. เหมือน “สัญญาประชาคม” ที่มีต่อประชาชนไทยและประชาคมโลก แต่ผ่านมาเกือบ 3 ปี ก็ไม่สามารถทำได้ตามที่ประกาศ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความปรองดอง ซึ่ง คสช. ประกาศจะทำให้เสร็จภายใน 2-3 เดือน ก็ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง การเลือกตั้งเพื่อคืนอำนาจให้กับประชาชนก็เลื่อนแล้วเลื่อนอีก จนวันนี้ก็ยังไม่มีอะไรที่ชัดเจน

ปราบโกง-ฝันกลางแดด

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลทหารและ คสช. ก็ต้องเดินหน้าตามโรดแม็พคือ การนำประเทศกลับสู่ระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตย 99.99% หรือรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกงที่หมกเม็ดอำนาจพิเศษต่างๆ เช่นเดียวกับการปฏิรูปประเทศที่จะมี “แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” ซึ่งเขียนไว้ในร่างรัฐธรรมนูญบังคับให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องทำตามกรอบที่กำหนดไว้ ทั้งยังมีบทเฉพาะกาล 5 ปี ให้มีองค์กรและอำนาจพิเศษต่างๆเพื่อควบคุมการทำงานของรัฐบาลอีกด้วย รวมถึง “นายกรัฐมนตรีคนนอก”

จึงไม่มีใครเชื่อว่า คสช. จะไม่สืบทอดอำนาจ หรือกองทัพจะวางมือจากการเมือง และไม่เชื่อว่าแผนยุทธศาสตร์ชาติซึ่งคิดเองเออเองจากคนไม่กี่คนไม่กี่กลุ่มจะสามารถทำให้ประเทศไทยมั่นคง มั่งคั่ง และเป็นมหาอำนาจอย่างที่รัฐบาล คสช. และพวกพ้องพยายามยัดเยียดทุกสื่อทุกวัน

เช่นเดียวกับการชูธงว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้การทุจริตคอร์รัปชันหมดไปจากแผ่นดินไทยก็ไม่ต่างกับการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ เพราะขนาดรัฐบาล คสช. มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และ พล.อ.ประยุทธ์เดินสายร่วมกิจกรรมปราบโกงอย่างต่อเนื่อง แต่ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันก็ยังปรากฏให้เห็น โดยเฉพาะคนใกล้ชิดและการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆในกองทัพ จนทำให้ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันทั่วโลกประจำปี 2559 ของประเทศหล่นมาอยู่ที่อันดับ 101 จาก 76

ไม่มีใครเชื่อว่ารัฐประหารจะสามารถแก้ปัญหาประเทศหรือปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันได้ อย่างที่ ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ศาสตราภิชาน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวปาฐกถาหัวข้อ “จะต่อสู้กับคอร์รัปชันอย่างไรดี?” ในงานสัมมนา 100 ปีป๋วย อึ๊งภากรณ์ โดยยืนยันว่า รัฐประหารไม่อาจแก้ปัญหาคอร์รัปชันได้ เพราะหลายครั้งที่คณะรัฐประหารอ้างว่าทำเพื่อแก้คอร์รัปชัน แต่เอาเข้าจริงก็แก้ไม่ได้สักครั้งเดียว บางครั้งอาจจะเห็นความพยายาม แต่ก็เป็นแค่มาตรการระยะสั้น ที่สำคัญรัฐบาลแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหารมักปรับเปลี่ยนสถาบันต่างๆให้หวนกลับสู่ระบบปิด สู่ค่านิยมอุปถัมภ์ที่เอื้อต่อการทุจริตแบบต่างๆ โดยเฉพาะ state capture หรือ Regulatory capture ยิ่งส่งผลให้การแก้ปัญหาคอร์รัปชันยากขึ้นไปอีก

ความยุติธรรมแบบไทยๆ

ภายใต้ “ระบอบพิสดาร” ซึ่งรัฐบาล คสช. วาดฝันสวยหรูว่าจะปฏิรูปประเทศทุกด้าน ทุกองค์กร ให้ประเทศไทยมั่นคง มั่งคั่ง และเป็นมหาอำนาจ แต่ผ่านมาเกือบ 3 ปี ก็ยังไม่เห็นการปฏิรูปอะไรที่เป็นรูปธรรม นอกจากการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และการใช้อำนาจไล่ล่าจับกุมคุมขังฝ่ายที่เห็นต่าง แม้แต่นักศึกษาและภาคประชาชนที่ต้องการแสดงความคิดเห็นอย่างสงบหรือตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชันยังถูกดำเนินคดีและคุมขัง

คดีของพรรคเพื่อไทยและคนเสื้อแดงเข้าสู่กระบวนการกฎหมายอย่างรวดเร็วและหลายคนถูกจำคุกหรือถูกขังจนลืม แต่คดีของคนเสื้อเหลืองที่เกิดก่อนคนเสื้อแดงวันนี้แทบไม่คืบหน้า เช่นเดียวกับกลุ่มนกหวีด

โดยเฉพาะกระบวนการยุติธรรมที่เห็นความแตกต่างชัดเจนในการปฏิบัติ โดยคดีรับจำนำข้าวรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รัฐบาล คสช. ใช้มาตรา 44 ออกคำสั่งทางปกครองเรียกค่าเสียหายแล้วยังให้อำนาจกรมบังคับคดียึดทรัพย์อีก ขณะที่คดีทุจริตระบายข้าวสารในสต็อกรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลับล่าช้าและมีปัญหาสารพัด สะท้อนถึงการใช้อำนาจขององค์กรอิสระและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าตำรวจ อัยการ หรือตุลาการ ว่าทุกอย่างเป็นไปตามหลักนิติรัฐหรือเป็นกระบวนการยุติธรรมแบบไทยๆภายใต้ระบอบพิสดารและระบบอุปถัมภ์

ปรองดองแบบทหาร

ขณะที่ประเด็นร้อนที่น่าสนใจขณะนี้คงหนีไม่พ้นการสร้างความปรองดอง ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์นั่งเป็นประธาน และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นรองประธานคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) แม้จะมีคำถามว่าทำไมเพิ่งมาเอาจริงเอาจังขณะนี้ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของรัฐบาล คสช. แต่ทุกฝ่ายก็ขานรับหากรัฐบาล คสช. จริงใจและทำจริง เพราะทุกฝ่ายต้องการให้บ้านเมืองกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยที่ทุกกลุ่มทุกฝ่ายเคารพกติกา ไม่ใช่ขี้แพ้ชวนตี หรือมีผลประโยชน์แอบแฝงแล้วสร้างสถานการณ์ให้เกิดการรัฐประหาร ซึ่งรัฐประหารทั้ง 2 ครั้งที่อ้างความขัดแย้งของประชาชนและฝ่ายการเมืองนั้น ลึกๆแล้วก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในรากเหง้าความขัดแย้งคือฝ่ายที่ต้องการกำจัดอดีตนายกฯทักษิณและพวกให้สิ้นซาก

การที่ พล.อ.ประวิตรเป็นหัวเรือใหญ่ในการขับเคลื่อนทำให้หลายฝ่ายมองในแง่ดีว่า อาจได้ข้อยุติความขัดแย้งก่อนการเลือกตั้ง แต่ถ้าไม่มีอะไรเป็นรูปธรรม ความขัดแย้งก็จะยิ่งฝังลึก แม้จะมีการเลือกตั้ง แต่สุดท้ายอำนาจก็ไปอยู่ที่นายกฯคนนอก หรือมีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติก็จะเป็นหายนะของประเทศมากกว่า

รัฐบาล คสช. กำหนดกรอบเบื้องต้นว่าจะได้ความเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกกลุ่มทุกฝ่ายภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่เริ่มกระบวนการพูดคุยเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาจาก 4 คณะทำงานโดยการรับฟังความคิดเห็น โดยให้กองทัพ ผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รับฟังความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ รวมถึงนำผลการศึกษาแนวทางปรองดองที่ นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส และนายคณิต ณ นคร อดีตประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ได้ศึกษาไว้มาผสมผสานร่วมกันว่าจะอยู่กันอย่างสันติในอนาคตอย่างไร

วิธีและแนวทางการทำงานไม่ต่างจากในอดีตจนมีคำถามว่าสุดท้ายจะเป็นการพายเรือในอ่างที่วนไปวนมาหาทางออกไม่เจอหรือเจอแต่ไม่กล้าแก้หรือไม่ ซึ่ง นพ.ประเวศได้แนะนำว่า อย่าคุยเรื่องความปรองดองหรือความขัดแย้งในอดีต เพราะจะไม่สำเร็จ ต้องคุยเรื่องอนาคตที่ดีและต้องไม่มีการหาจำเลย คือวางอดีตไว้ข้างหลังแล้วปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการที่จะร่วมมือกันสร้างสิ่งดีๆในอนาคตได้อย่างไร ซึ่งก็คือการละลายพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง แต่ไม่ใช่ “ได้หน้าลืมหลัง”

เก๋าๆทั้งน้าน!

อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายก็กังวลถึงแนวคิดและท่าทีของ พล.อ.ประยุทธ์ แม้จะบอกว่าการทำงานของ ป.ย.ป. ก็คือ ครม. จะยึดถือหิริโอตตัปปะ ไม่โกหก ปากกับใจตรงกัน จะไม่มีการเกี๊ยะเซียะนิรโทษนักการเมือง ทุกอย่างยืนตามกฎหมาย และอย่าจับทหารเซ็นสัญญาว่าจะไม่ปฏิวัติ ทั้งยังขอร้องสื่ออย่าเป็นปากเป็นเสียงให้กับคนที่ไม่ได้หวังดีกับชาติบ้านเมือง

ท่าทีของ พล.อ.ประยุทธ์สะท้อนชัดเจนถึงคณะกรรมการชุดต่างๆที่ส่วนใหญ่เป็นทหาร จึงทำให้หลายฝ่ายไม่มั่นใจว่ารัฐบาล คสช. มีความจริงใจที่จะสร้างความปรองดองจริงหรือไม่

นางพะเยาว์ อัคฮาค กล่าวว่า การปรองดองไม่มีวันสำเร็จหากทหารมองไม่เห็นว่าตัวเองเป็นคู่ขัดแย้ง เช่นเดียวกับนางอังคณา นีละไพจิตร ถามว่า หากความขัดแย้งเกิดจากการรัฐประหาร รัฐบาลจะสร้างการปรองดองอย่างไร

นายสมบัติ บุญงามอนงค์ แกนนำกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง กล่าวว่า การให้อภัยทุกฝ่ายเป็นโอกาสที่ดีที่สังคมจะมีการวิพากษ์กัน เพราะที่ผ่านมาสังคมไทยวิพากษ์ไม่เป็น แต่มุ่งไปที่การทะเลาะกันมากกว่าตัวประเด็น การนิรโทษกรรมจึงควรทำในเรื่องที่ไม่ขัดแย้งกันก่อน อาทิ คดีของมวลชน คดีเล็กๆน้อยๆที่ทำแล้วไม่ทะเลาะกัน ส่วนแกนนำก็ต้องพิสูจน์กับสาธารณะว่าเหตุการณ์นั้นๆมีผลข้างเคียงหรือไม่ อาจแสดงความรับผิดชอบต่างๆที่ทำให้ใครตาย การออกมายอมรับผิดแล้วขออภัยกันคิดว่าสังคมยอมรับได้ ขณะเดียวกันต้องให้ความยุติธรรมกับคนตายและครอบครัวด้วย เพราะกระบวนการปรองดองต้องมีความยุติธรรมด้วย

นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ให้ความเห็นว่า ความปรองดองจะสำเร็จอย่างแท้จริงต้องเริ่มต้นอย่างถูกวิธีและมีจิตใจที่ยอมรับความแตกต่าง พร้อมอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจและเคารพกัน อำนวยความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย ความคิดเห็นที่หลากหลายจะส่งผลให้เกิดทางออกที่รับฟังจากทุกฝ่าย เพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดอคติในการอยู่ร่วมกัน แต่ความปรองดองจะเกิดขึ้นได้ในสังคมที่เป็นประชาธิปไตย ไม่ใช่เกิดขึ้นในสังคมที่ใช้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่จะบังคับหรือสั่งการให้คนรักกันและปรองดองกันขณะที่บาดแผลจากการเลือกปฏิบัติยังไม่คลายจางลง

ความปรองดองจึงเหมือนถนนสายสำคัญของประเทศ แม้จะยังเป็นแค่ถนนลูกรัง แต่รัฐบาล คสช. โดยเฉพาะ พล.อ.ประยุทธ์ต้องแสดงความจริงใจ พูดจริงทำจริงตามสัญญาก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อให้ทุกฝ่ายเชื่อมั่นว่ารัฐบาล คสช. และกองทัพมีความจริงใจที่จะรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกฝ่ายเพื่อนำไปปรับใช้อย่างแท้จริง ไม่ใช่ “ตั้งธง” ให้ทุกฝ่ายต้องเดินตาม “พิมพ์เขียว” ที่กำหนดไว้ และต้องไม่มองคนอื่นที่เห็นต่างเป็นคนไม่ดีไปหมด

ถนนลูกรังสายปรองดองที่ คสช. สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ขัดแย้งทุกคนทุกฝ่ายเดินตามโรดแม็พโดยลืมไปว่ากองทัพภายใต้การนำของผู้กุมอำนาจที่ต่อเนื่องมานานหลายทศวรรษล้วนแล้วแต่มีส่วนร่วมในการขัดแย้งด้วยทั้งสิ้น ถนนสายปรองดองจึงไม่ใช่ถนนราดยางพาราที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ อีกทั้งรถทุกคันที่ถูกชักลากจูงเชื้อเชิญมา ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่มีทางเลือกให้มาใช้ถนนสายปรองดอง ก็ล้วนแต่ระดับที่ต้องถูกโจ๋การเมืองถามว่า “มึงเก๋าเหรอ?” แทบทั้งนั้น

ยุทธศาสตร์เพื่อจับมือสร้างความปรองดองกันให้จบๆแล้วเดินหน้าสู่การเลือกตั้งจึงมีโอกาสเป็นเพียงวาทกรรม “ซื้อเวลา” หรือ “หาทางลง” มากกว่าที่จะเกิดขึ้นได้จริง โดยยังไม่นับรวมปัญหา “รัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง(ฝ่ายตรงข้าม)” ที่แก้ได้อย่างยากเย็นแน่ๆสำหรับสภาที่มาจากการเลือกตั้ง แต่แก้ได้ง่ายๆถ้าอยากแก้ แม้จะผ่านประชามติไปแล้ว หากเป็นสภาที่มาจากการแต่งตั้งนั้น ยังไม่รู้ว่าจะกลายเป็น “รัฐธรรมนูญระเบิดเวลา” หรือไม่

บนถนนลูกรังสายปรองดองที่ไม่รู้จะสิ้นสุดตรงไหน จะเชื่อมสู่ถนนใหญ่ หรือวิ่งไปสุดสายแล้วเจอทางตันท่ามกลางกฎจราจรที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ บวกกับคนที่อยู่ในรถแต่ละคันที่ล้วนแล้วแต่เตรียมพร้อมจะ “ยิงแม่งเลย” มากกว่าจะเจรจาภาษาดอกไม้ คงไม่จบลงง่ายๆ เพราะทุกคนทุกฝ่าย..เก๋าๆทั้งน้าน!!??


You must be logged in to post a comment Login