วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

TDRI วิจัยพบเงินสะพัดวัดกว่าแสนล้าน

On February 22, 2017
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้เผยแพร่วิดีโอ (21 ก.พ.2560 )รายการ คิดยกกำลังสอง ซึ่งเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส โดย สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ได้นำงานวิจัย ของ ผศ.ดร.ณดา จันทร์สม จากคณะพัฒนาเศรษฐกิจ นิด้า เกี่ยวกับ การบริหารการเงินของวัด

ชี้จุดรั่วระบบภาษีผ่านใบอนุโมทนาบัตร

“เมื่อถึงฤดูยื่นแบบภาษี ภงด.91 ก็ดี ภงด.90 ก็ดี อย่างแรกบุคคลธรรมดา จะลดหย่อนภาษีของตัวเองได้ถ้าเกิดมีใบอนุโมทนาบัตร ซึ่งออกมาจากวัด แต่ว่าที่ผมเห็นอยู่และได้ยินมา น่าเป็นห่วงเหลือเกินว่าในอนุโมทนาบัตรนั้น ส่วนใหญ่คนได้มาง่ายกันเหลือเกิน หลายคนก็ยืนใบโดยไปขอวัดมา วัดให้มาเป็นปึกเลยว่าโยมจะกรอกอะไรก็กรอกไป ซึ่งตรงนี้แสดงว่าเป็นจุดรั่วไหลสำคัญในระบบเสียภาษีของไทย แต่มันยังบอกอะไรอีกมากเกี่ยวกับวัดของไทยด้วย” สมเกียรติ กล่าว

เงินสะพัดวัดทั่วประเทศกว่าแสนล้าน

“วัดในเมืองไทยเอาเฉพาะวัดที่มีพระอยู่ปัจจุบันก็มีเกือบ 4 หมื่นวัด ทางอาจารณ์ ณดา จันทร์สม ไปสำรวจมาเมื่อปี 2555 พบว่า วัดโดยเฉลี่ยมีรายได้ปีละ 3.2 ล้านบาท และมีรายจ่ายประมาณ 2.8 ล้านบาท เมื่อคูณกับรายได้ของวัดกับจำนวนวัดที่่มีอยู่ในประเทศไทยก็คาดกันว่าแต่ละปีจะมีเงินหมุนเวียนในวัดประมาณ 1-1.2 แสนล้านบาท” สมเกียรติ กล่าว

One Step เจ้าอาวาสเพียงคนเดียวตั้ง

สำหรับกลไกในการบริหารจัดการการเงินของวัดนั้น สมเกียรติ กล่าวว่า วัดแต่ละวัด ตั้งชาวบ้าน ฆราวาส ที่เรียกว่าไวยาวัจกร ซึ่งก็คือชาวบ้านที่ไปช่วยงานของวัด ส่วนใหญ่วัด 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ มีไวยาวัจกรเข้าไปช่วย แต่ว่าส่วนใหญ่เหมือนกันตั้งโดยเจ้าอาวาสเพียงคนเดียว แล้วก็มีคณะกรรมการวัดสำหรับวัดส่วนใหญ่ ส่วนใหญ่ก็เป็นการตั้งโดยเจ้าอาวาสอีกเหมือนกันและคณะกรรมการวัดก็ไม่ค่อมีบทบาทมากมายในการดูแลเงินวัดสักเท่าไหร่  โดยสรุปแล้ววัดส่วนใหญ่ในประเทศไทยไม่ได้มีโครงสร้างดูแลบริหารเงินอย่างเป็นระบบ เรียกได้ว่าชาวบ้านไม่ค่อยได้เข้ามาเกี่ยวข้องเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นก็แปลว่าพระในวัดน่าจะดูแลกันเองในเรื่องเงิน

มาตรฐานวัดใครวัดมัน

หัวใจของเรื่องการเงินคือเรื่องบัญชี เรามาดูว่าวัดทำบัญชีรับจ่ายกันอย่างไร 74% บันทึกบัญชีรับจ่ายกันทุกวัด แปลว่าวัดส่วนใหญ่มีระบบบัญชีอยู่ แต่อย่าลืมว่า 1 ใน 4 ของวัดไม่บันทึกบัญชีรับจ่ายรายวัน  และมีส่วนน้อยที่รายงานการเงินกันทุกเดือน คือเพียงประมาณ 25% ประมาร 60% มีการตรวจบัญชีโดยผู้ตรวจบัญชี แต่วัดที่เหลือก็ยังไม่มีผู้ตรวจบัญชี แม้กระทั่งวัดที่มีการทำบัญชีมีการทำรายงานการตรวจบัญชี แต่ว่าการทำบัญชีก็ทำโดยมาตรฐานของวัดใครวัดมัน ไม่ใช่บัญชีโดยมาตรฐานของสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ มีวัดเพียง 4% เองที่มีมาตรฐานบัญชีตามของ สนง.พุทธศาสนา มีวัดส่วนน้อยเพียง 36% ที่มีระบบตัดสินใจในการลงทุน วัดแต่ละวัดจะมีทีธรณีสงฆ์และทรัพย์สินเยอะ ก็ต้องมีกระบวนการดูแล แต่จำนวนมากก็ยังไม่มีระบบในการดูแล เพราะฉะนั้นถึงแม้วัดไทยทำบัญชี แต่บัญชีก็ไม่ค่อยได้มาตรฐาน ตรวจบัญชีไม่ทั่วถึง และไม่มีระบบบริหารทรัพยสินอย่างเป็นเรื่องเป็นราว” สมเกียรติ กล่าว
สมเกียรติ กล่าวด้วยว่า สำหรับตัวอย่างวัดที่มีการบริหารจัดการทางการเงินที่ดีนั้น เช่น วัดปทุมวนารม วัดสวนแก้ว วัดญารเวศกวัน เป็นต้น

แนะปฏิรูปทั้งระบบ

สมเกียรติเสนอปฏิรูปทั้งระบบเนื่องจากวัดไทยส่วนใหญ่ยังไม่มีระบบบริหารการเงินที่ดี เพราะฉะนั้นหน่วยงานที่กำกับดูแลวัดก็คือ สนง.พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ควรให้วัดรายงานการเงินตามมาตรฐานที่กำหนด มหาเถรสมาคมเอง ควรออกกฎตั้งกรรมการวัดให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในกระบวนการการคัดเลือก ไม่ใช่ให้เจ้าอาวาสเพียงคนเดียวทีไปตั้งกรรมการวัด รัฐและสังคมควรจะต้องช่วยฝึกผู้บริหารเงินให้วัดด้วย เพราะอาจไม่มีความรู้ว่าเข้าใจในการบริหารเงิน และประชาชนควรไปช่วยเป็นกรรมการวัดด้วย

You must be logged in to post a comment Login