- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 2 hours ago
- อย่าไปอินPosted 3 days ago
- ปีดับคนดังPosted 4 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 5 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 6 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 7 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
‘พม่า’ผลักดันสันติภาพ
ความพยายามผลักดันให้เกิดสันติภาพขึ้นในพม่า นับจากภาครัฐและกลุ่มติดอาวุธบางส่วน บรรลุข้อตกลงให้เริ่มการเจรจาตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปี 2011 เผชิญทางตัน การขับเคลื่อนชะงักต่อเนื่อง ทำให้ยังหาทางออกจากความขัดแย้งไม่ได้
ความขัดแย้งบ่อยครั้ง ที่รุนแรงถึงขั้นต่อสู้กันด้วยอาวุธ ระหว่างกองทัพรัฐบาลกับชนกลุ่มน้อยติดอาวุธ เป็นปัญหาใหญ่ที่สุดของพม่า หากมองในแง่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ
เพราะเมื่อไม่มีสันติภาพ ก็ไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งการบังคับใช้กฎหมายก็อยู่ในเกณฑ์ไม่แน่นอน
การสร้างสันติภาพจึงเป็นปฐมบทที่ต้องดำเนินการให้สำเร็จ เพื่อให้กลไกต่างๆ ในด้านการพัฒนาประเทศ เดินหน้าต่อไปได้
ความสำคัญดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งที่ “ล้อมกรอบ” นางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐของพม่า ทำให้ไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากต้องเดินหน้าผลักดันให้เกิดสันติภาพขึ้นในประเทศต่อไป
ซูจีเป็นแกนนำในการขับเคลื่อน โดยมีหลายองค์กรเป็น “ลูกมือ” ช่วยดำเนินการ ส่วนหนึ่ง ได้แก่ ศูนย์สร้างความปรองดองและสันติภาพแห่งชาติ (National Reconciliation and Peace Center: NRPC) และคณะกรรมการร่วมเฝ้าติดตามการยุติสู้รบ (Union Joint Ceasefire Monitoring Committee : JMC-U)
ช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลได้อนุมัติงบดำเนินการแสวงหาสันติภาพรอบใหม่ ประมาณ 13 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งได้รับบริจาคจากสหประชาชาติ และประเทศชั้นนำอีกส่วนหนึ่ง
งบส่วนนี้จะใช้เป็นทุนปฏิบัติงาน 4 อย่าง คือผลักดันให้ยุติการสู้รบ จัดโครงการเปิดเจรจากับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง กำหนดแผนส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพ และสนับสนุนกิจกรรมของ NRPC
งานแรกของกระบวนการ คือการผลักดันให้ยุติสู้รบ ถือเป็นขั้นตอนยากที่สุด เนื่องจากต้อง “กล่อม” ชนกลุ่มน้อยติดอาวุธถึง 15 กลุ่ม ให้ยอมลงนาม โดยแต่ละกลุ่มเสนอเงื่อนไขแตกต่างกันในรายละเอียด กลายเป็นปัญหาที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้
สำหรับแผนดำเนินการครั้งใหม่ปีนี้ แม้สถานการณ์คล้ายจะสรุปซ้ำรอยเดิมเหมือนในอดีต แต่ซูจีและทีมงานไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากต้องพยายามต่อไปอย่างมีความหวังตลอดกรอบระยะเวลาดำเนินการ 18 เดือน
หากพม่าสามารถฟื้นสันติภาพกลับมาได้ ไม่เพียงส่งผลดีต่อชาวพม่า แต่เพื่อนบ้านอย่างประเทศไทย ก็จะมีผลพลอยได้ในด้านการค้าการลงทุน รวมทั้งจะช่วยให้ปัญหาพรมแดนลดน้อยลง
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ฝ่ายเกี่ยวข้องต้องการคำตอบมากที่สุด ยังคงเป็นเป้าหมายเดิมคือ “เมื่อไรพม่าจะสร้างสันติภาพได้สำเร็จ”
You must be logged in to post a comment Login