- อย่าไปอินPosted 22 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
ค่าใช้จ่ายสุดโหดของพ่อแม่ / โดย ภูริวรรณ วรานุสาสน์
คอลัมน์ : China Today
ผู้เขียน : ภูริวรรณ วรานุสาสน์
หวาง ไห่เฟิง กำลังตัดสินใจว่าควรจะสมัครคอร์สเรียนคณิตศาสตร์ให้กับลูกชายวัยประถม 5 ของเธอดีหรือไม่ หากสมัคร คอร์สคณิตศาสตร์นี้ก็จะเป็นคอร์สที่ 5 ของลูกชายของเธอ ถัดจากวิชาภาษาอังกฤษ วรรณกรรมคลาสสิกจีน บาสเก็ตบอลและหมากรุกจีน
หวางกล่าวว่า สำหรับคอร์สเรียนที่เธอสมัครให้ลูกชายเธอนั้น นับว่ายังน้อยหากเทียบกับเพื่อนร่วมชั้นคนอื่นๆของลูกชายวัย 10 ขวบของเธอ เพราะเพื่อนๆส่วนใหญ่จะมีเรียนพิเศษกันประมาณคนละ 7-8 วิชา
เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ทางหนังสือพิมพ์เมโทรเอ็กซ์เพรส ในมณฑลเจ๋อเจียงได้แผยแพร่ภาพของผู้ปกครองที่นั่งรอลูกๆเรียนพิเศษกันเป็นทิวแถว และมีการส่งต่อกันในโปรแกรม WeChat (คล้ายกับโปรแกรมสนทนาไลน์) ซึ่งภาพดังกล่าวได้กลายเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างร้อนแรงในหมู่พ่อแม่ผู้ปกครองและนักการศึกษาถึงประเด็นที่ว่า เด็กๆควรกระหน่ำเรียนพิเศษกันแบบนี้หรือไม่
รายงานระบุว่า ผู้ปกครองที่สมัครเรียนคอร์สพิเศษให้ลูก ไม่ใช่เพราะต้องการเพิ่มคะแนนสอบในช่วงสั้นๆเท่านั้น หากแต่ต้องการผลในระยะยาว กล่าวคือ ให้เด็กๆเตรียมพร้อมสำหรับการเข้าแข่งขันสอบเข้ามหาวิทยาลัย อันเป็นสนามสอบใหญ่ที่สุดของชีวิตนักเรียนมัธยมปลาย
จากกฎหมายการศึกษา เยาวชนในประเทศจีนไม่จำเป็นต้องสอบเมื่อสำเร็จระดับชั้นประถมศึกษาและต้องการเลื่อนชั้นในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หากแต่จะต้องเข้าเรียนในโรงเรียนใกล้บ้านที่ครอบครัวของเด็กลงทะเบียนหูโข่ว หรือการลงทะเบียนใบอนุญาตให้อยู่อาศัยถาวร
แต่หากเด็กคนใดต้องการสอบเข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียง เด็กๆก็จำเป็นต้องสอบคัดเลือกโดยโรงเรียนเหล่านั้นเอง โดยเนื้อหาที่ใช้สอบจะเป็นวิชาที่เคยเรียนมาในระดับประถมศึกษา โดยเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์
ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้เกิดการแข่งขันกันในหมู่นักเรียนและผู้ปกครอง ทำให้เกิดวงจรธุรกิจสอนพิเศษขึ้น
อย่างกรณีของหวาง ลูกชายของเธอจะต้องเรียนพิเศษทุกวันหลังเลิกเรียนและในวันหยุดสุดสัปดาห์ โดยเฉลี่ย 2-4 ชั่วโมงต่อวัน หมายความว่า ลูกชายของหวางจะต้องใช้เวลาเรียนพิเศษทั้งหมด 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งหวางยอมรับว่า ไม่ใช่แค่ลูกชายเธอนั้นที่เครียด ตัวเธอเองก็เครียดไม่แพ้กัน
ทางการจีนพยายามรณรงค์ให้ “ลดภาระงานให้เด็กนักเรียน” กันมาหลายปี โดยเฉพาะกฎกระทรวงของกระทรวงศึกษาธิการที่ออกมาเมื่อปี ค.ศ. 2013 ที่ห้ามไม่ให้โรงเรียนหรือครูสั่งการบ้านนักเรียนในระดับประถมศึกษา ครูอาจารย์ไม่สามารถสอนพิเศษหลังเลิกเรียน และห้ามไม่ให้มีการสอบใดๆในเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3 ขณะที่นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 สามารถมีสอบที่จัดโดยโรงเรียนได้ภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง ใน 3 วิชาได้แก่ ภาษาจีน ภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์
จุดมุ่งหมายของกฎกระทรวงเหล่านี้ก็เพื่อให้เด็กๆได้ผ่อนคลายหลังเลิกเรียน แต่กลับกลายเป็นว่า เวลาสำหรับการพักผ่อนและการไปวิ่งเล่นออกกำลังกายของเด็กๆกลับหมดไปกับการเรียนพิเศษ ที่พ่อแม่ผู้ปกครองเชื่อว่าจะเป็นการพัฒนางานอดิเรกและความเข้มแข็งอย่างดนตรีและศิลปะ บางส่วนก็เพื่อการสอบเข้าโรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียง
ซวง ปิงฉี รักษาการณ์ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการศึกษาในศตวรรษที่ 21 กล่าวว่า สาเหตุที่นโยบายลดภาระการเรียนของเด็กกลับกลายเป็นเพิ่มภาระให้เด็กเรียนพิเศษเป็นเพราะระบบการศึกษาของจีนไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงการขาดความสมดุลของทรัพยากรทางการศึกษาของจีนเอง
You must be logged in to post a comment Login