- อย่าไปอินPosted 14 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 1 day ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 4 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
จีนลุ้นเป็นผู้นำชาติไฮเทค
ด้วยเป็นประเทศใหญ่ มีทรัพยากรมากพอ ทำให้โครงการส่วนใหญ่ที่จีนดำเนินการ เป็นแผนงานยักษ์ระดับ “เปลี่ยนโลก”
หนึ่งในโครงการระดับใหญ่ดังกล่าวของจีน ที่อยู่ระหว่างการผลักดัน คือแผนก้าวสู่การเป็นมหาอำนาจด้านอุตสาหกรรมไฮเทคในปี 2025 หรืออีก 9 ปีข้างหน้า โดยดำเนินการตามยุทธศาสตร์ ‘Made in China 2025’ ที่เปิดม่านเมื่อ 2 ปีที่แล้ว (เริ่มเดือนพฤษภาคม ปี 2015)
จีนดำเนินโครงการนี้ โดยมีอีกหนึ่งจุดประสงค์สำคัญ นั่นคือ การเปลี่ยนภาพลักษณ์ของประเทศ จากชาติที่เป็น “โรงงานของโลก” ผลิตสินค้าคุณภาพต่ำ ก้าวสู่ประเทศไฮเทค ผลิตสินค้ามีคุณภาพสูง
เท่าที่ผ่านมา จีนประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการนี้ระดับหนึ่ง ขณะปีนี้ จีนกำหนดแผนปฏิบัติการเข้มข้นขึ้น โดยนายกรัฐมนตรีหลี เค่อเฉียง แถลงต่อที่ประชุมประจำปีของสภาประชาชนแห่งชาติ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมาว่า จะใช้งบขับเคลื่อนแผนนี้ 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (10.5 ล้านล้านบาท)
อุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง (High-Tech Industries) ที่เป็นเป้าหมายการวิจัยและผลิตเชิงพาณิชย์ของจีน ประกอบด้วยวัสดุนวัตกรรม ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ชิพคอมพิวเตอร์แบบวงจรเบ็ดเสร็จ ชีวเภสัชกรรม (Bio-pharmacy) และระบบโทรศัพท์ 5G
นอกจากนั้น จีนยังมีแผนผลิตเครื่องบิน หุ่นยนต์ทำงานภาคอุตสาหกรรม รถยนต์ไฟฟ้า รางรถไฟ เรือเดินทะเล และเครื่องจักรทำการเกษตร เป้าหมายเพื่อให้พึ่งพาตนเองได้ โดยไม่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
จีนใช้มาตรการง่ายๆ ในการผลักดันแผนนี้ ประกอบด้วยการเปิดสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้ภาคเอกชน ช่วยเหลือเงินทุนภาคเอกชนเข้าซื้อกิจการของคู่แข่งต่างชาติ ทั้งที่ทำธุรกิจอยู่ในจีน และในต่างประเทศ และตั้งกองทุนส่งเสริมการวิจัย
สำหรับการเข้าซื้อกิจการของคู่แข่ง ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเทคโนโลยีก้าวหน้า โดยมีรัฐบาลอุดหนุนทุน ถูกตำหนิจากหอการค้าสหภาพยุโรป (อียู) รวมทั้งประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลีว่า จีนใช้ “ทางลัด” ในการพัฒนาเทคโนโลยี และเป็นการแข่งขันที่ไม่ยุติธรรม เนื่องจากภาคเอกชน มีรัฐบาลเป็นพี่เลี้ยงด้านเงินทุน
อีกหนึ่งมาตรการที่จีนถูกตำหนิ คือกติกากำหนดให้บริษัทต่างชาติ มอบเทคโนโลยีสำคัญให้จีน เพื่อแลกกับการเข้าถึงตลาดภายในประเทศ โดยหอการค้าอียูและสหรัฐมองว่า เป็นการกีดกันทางการค้า
แม้จะมีอุปสรรคอยู่บ้าง แต่ดูเหมือนจีนจะไม่หวั่นไหว ยังคงหนุนภาคเอกชนให้เดินตามแผนต่อไป
เป้าหมายเพื่อครองตลาดไฮเทคภายในประเทศให้ได้ 80% ในอีก 9 ปีข้างหน้า
You must be logged in to post a comment Login