- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
ดีไม่ถึงที่สุด
คอลัมน์ : โลกวันนี้มีประเด็น
พลันที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ออกมาไล่บี้ให้กรมสรรพากรประเมินเพื่อจัดเก็บภาษีย้อนหลังกับนักการเมือง 60 ราย ก็มีความน่าสนใจ
ความน่าสนใจไม่ได้อยู่ที่รายชื่อของนักการเมืองที่ปรากฏ ซึ่งมีชื่อของนักการเมืองดังๆหลายคน เช่น นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล, นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร
แต่ความน่าสนใจกลับอยู่ที่เหตุผลที่ สตง.ใช้กล่าวอ้างในการไล่บี้ให้กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีกับนักการเมืองเหล่านี้
เหตุผลที่ สตง.แจ้งต่อกรมสรรพากรให้ดำเนินการคือหลังพ้นตำแหน่งนักการเมืองเหล่านี้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น โดยทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นนั้น ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา39 อยู่ในบังคับต้องเสียภาษี และเมื่อ สตง.ตรวจแบบภ.ง.ด.แล้ว นักการเมืองส่วนใหญ่จะแจ้งรายการเสียภาษีเฉพาะเงินเดือนเท่านั้น ไม่ได้นำทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นมาเสียภาษี จึงเป็นการเสียภาษีที่ไม่ถูกต้องครบถ้วน และถือเป็นการหลีกเลี่ยงภาษี
แน่นอนว่านอกจากการตรวจสอบเพื่อประเมินภาษีแล้ว นักการเมืองเหล่านี้ต้องถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบว่าร่ำรวยผิดปรกติหรือไม่ ตามว่าทราบว่าป.ป.ช.ได้ทำการตรวจสอบไปแล้วส่วนหนึ่งยังไม่พบความร่ำรวยผิดปรกติ ที่เหลืออยู่ระหว่างการตรวจสอบ ซึ่งแน่นอนว่าการตรวจสอบว่าร่ำรวยปิดปรกติหรือไม่กับการประเมินเพื่อเรียกเก็บภาษีจากทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นคนละส่วนกัน
สำหรับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการตรวจสอบนักการเมืองจากปากคำของ นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ให้สัมภาษณ์ไว้ระบุว่า จังหวะที่มีการปฏิรูปบ้านเมือง มีนักการเมืองที่ว่างเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เขาต้องแสดงทรัพย์สินทั้งตอนเข้ารับตำแหน่ง ออกจากตำแหน่ง และออกจากตำแหน่งครบ 1 ปี เราดูแล้วว่ามีนักการเมืองกลุ่มหนึ่งควรให้ความสนใจ โดยเราคัดกรองมา 113 รายชื่อ และเมื่อตรวจสอบลึกแล้ว มีผู้ที่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 5 ล้านบาท ประมาณ 60 รายชื่อ จึงแจ้งไปยังกรมสรรพากรตั้งแต่ปี 2558 และติดตามมาเรื่อยๆ โดยยืนยันว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องปรกติ ไม่ใช่เรื่องการเมืองใดๆทั้งสิ้น
“เราไม่สรุปว่าหนีภาษี หากตรวจแล้วเสียไม่ครบก็ปรับไป แต่ต้องเรียกให้ปรับตามอายุความ ซึ่งการเรียกเก็บภาษีมีอายุความ 5 ปี เราสามารถตรวจสอบและย้อนหลังหากช้าไปก็จะช้าไปเรื่อยๆ แล้วต้องมาใช้ปาฏิหาริย์อะไรอีก เริ่มที่ 2558 เราต้องเร่งดำเนินการเพราะเราเห็นว่ารายได้ปี 2557-2556 เพิ่มขึ้น เราไม่อยากให้ใช้ปาฏิหาริย์จึงต้องเร่งรัดไป ที่ผ่านมาหน่วยงานจัดเก็บสงสัยมีงานเยอะ เลยต้องเร่งรัดในช่วงนี้ไม่เช่นนั้นก็จะเดือดร้อน ต้องใช้อำนาจพิเศษ ขอให้ใช้อำนาจปรกตินี่แหละ แต่ต้องขยันหน่อย หากครบกำหนดแล้วไม่ดำเนินการก็ต้องมีคนรับผิดชอบ”
ถ้าว่ากันจริงๆ เรื่องนี้ก็ต้องชื่นชมการทำงานของ สตง.ที่ขยันขันแข็งเอาการเอางาน โดยเฉพาะที่ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่สองมาตรฐาน และไม่ได้ตรวจสอบแต่นักการเมืองเท่านั้น แต่ตรวจสอบทุกอาชีพ
อย่างไรก็ตาม หากข่าวยังออกมาในทำนองมุ่งตรวจสอบแต่นักการเมืองฝ่ายเดียวก็คงห้ามที่จะให้คิดว่าเลือกปฏิบัติหรือสองมาตรฐานไม่ได้
หากอยากให้ประชาชนสรรเสริญได้อย่างเต็มใจ อยากให้ออกมาพูดถึงการตรวจสอบอดีตรัฐมนตรี รัฐมนตรีในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือบรรดาอดีตนายทหารบิ๊กๆหลายคน ที่มีทรัพย์สินมหาศาลโดยที่ประชาชนสงสัยว่าทรัพย์สินเงินทองเหล่านั้นมีแหล่งที่มาอย่างไร มีแหล่งรายได้สัมพันธ์กับทรัพย์สินเงินทองที่มีหรือไม่
สตง.ทำหน้าที่ได้ดีแล้ว แต่ยังดีไม่ถึงที่สุด
You must be logged in to post a comment Login