- อย่าไปอินPosted 14 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 1 day ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 2 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 4 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
อินโดฯรุกธุรกิจเครื่องบิน
อินโดนีเซียมีความหวังจะประสบความสำเร็จ ในการผลิตเครื่องบินโดยสารจำหน่าย หลังขึ้นเป็นประเทศผู้นำด้านอุตสาหกรรมอากาศยานในกลุ่มประเทศอาเซียน
อินโดนีเซียประกอบธุรกิจด้านอากาศยานมานานกว่า 40 ปี โดยมีรัฐวิสาหกิจ คือบริษัท
Indonesian Aerospace (IAe) หรือ PT Dirgantara Indonesia (PTDI) ในภาษาอินโดนีเซีย เป็นผู้ผลิตรายหลัก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองบันดุง และมีบริษัทย่อย คือ National Space and Aviation Agency (Lapan) เป็นฝ่ายออกแบบรวมทั้งดำเนินการพัฒนา
ปัจจุบัน PTDI มีลูกจ้างกว่า 4,300 คน ทำหน้าที่ “รับจ้าง” ผลิตชิ้นส่วนให้บริษัทแอร์บัส (Airbus) ประกอบด้วยชิ้นส่วนเฮลิค็อปเตอร์ รุ่น H215 และ H225 รวมทั้งเครื่องบินโดยสาร Airbus A380 และ Airbus A350 XWB
นอกจากนั้น PTDI ยังผลิตเครื่องบินทหาร และเครื่องบินขนส่งพาณิชย์จำหน่ายมาแล้วหลายรุ่น
ด้วยประสบการณ์ที่มีมายาวนาน อีกทั้งมีบุคลากรผู้ชำนาญการเพียงพอ กระตุ้นให้ PTDI ก้าวรุดหน้าไปอีกขั้น ด้วยการเปิดโครงการพัฒนาเครื่องบินโดยสาร N219 เมื่อปี 2013
N219 เป็นเครื่องบินใบพัด (Turboprop) ขนาดเล็ก 19 ที่นั่ง PTDI โปรโมตหวังกระตุ้นยอดขายไว้ล่วงหน้าว่า เป็นเครื่องบินสไตล์ “ออฟโรด” ใช้โดยสารก็ได้ ขนส่งก็ดี สามารถขึ้นลงรันเวย์ระยะสั้น พื้นผิวขรุขระได้ เหมาะสำหรับใช้เดินทางสู่พื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร
แม้โครงการนี้จะคืบหน้าแบบล้มลุกคลุกคลาน ซึ่งอุปสรรคสำคัญคือการพัฒนาด้านความปลอดภัย ให้ได้มาตรฐานสากล ทำให้โครงการยืดเยื้อมาถึงปัจจุบัน
แต่ด้วยความมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อต่อปัญหา ทำให้ PTDI มีแนวโน้มประสบความสำเร็จในการผลิตเครื่องบินโดยสารรุ่นแรก
ทั้งนี้ นายโมฮามัด นัตเซียร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิจัย เทคโนโลยี และการศึกษาชั้นสูง ของอินโดนีเซีย คาดว่าจะทดลองบิน N219 เที่ยวแรกได้ ปลายเดือนเมษายนนี้ หรือไม่ก็ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม
หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน PTDI จะผลิตเครื่องบินโดยสาร “Made In Indonesia” รุ่นแรก จำหน่ายปีหน้า ในเบื้องต้นจะรับออเดอร์เฉพาะจากลูกค้าภายในประเทศเท่านั้น
จากนั้น จึงจะทยอยตีตลาดอาเซียน เอเชีย และภูมิภาคอื่นตามลำดับ
นอกจากมีคุณสมบัติเด่นสไตล์ “ออฟโรด” แล้ว แม่ไม้เด็ดอีกอย่าง ที่อินโดนีเซียเตรียมไว้สู้กับคู่แข่งด้านการตลาด คือเรื่องของราคา
คาดว่าจะเคาะประมาณ 5.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (192 ล้านบาท) ซึ่งถูกกว่าคู่แข่งสำคัญ ได้แก่ เครื่องบินรุ่น DHC-6 Twin Otter ของแคนาดา ประมาณ 20%
You must be logged in to post a comment Login