- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
Maturity-Enlightenment ภาวะหลังทันสมัยแบบไทยๆ / โดย เรืองยศ จันทรคีรี
คอลัมน์ : กรีดกระบี่บนสายธาร
ผู้เขียน : เรืองยศ จันทรคีรี
ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาสังคมปัญญาชนไทยได้วิวาทะกันมากเกี่ยวกับข้อเขียนของผู้ใช้นามแฝง “ใบตองแห้ง” และยังถูกขานรับจากอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ โดยเฉพาะอาจารย์นิธิถึงกับบอกว่า “…ประเทศไทยในระยะนี้เหมือนกับลำแสงที่มืดมน และกลายเป็นความไร้อนาคต ปัญหาทั้งประเทศไม่ได้อยู่ที่ คสช. เท่านั้น แต่อยู่ที่ความอัปลักษณ์ของสังคมไทยทั้งระบบ ต่อให้ คสช. จากไปก็ไม่แน่ใจว่าปัญหาของชาติบ้านเมืองจะดีขึ้น…”
สำหรับความคิดดังกล่าวนี้ผมค่อนข้างจะเห็นด้วย ซึ่งความจริงก็เคยเห็นมาตั้งแต่ ศ.ดร.ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งเป็นภาษาอังกฤษชื่อว่า “The order of things and archeology” เกี่ยวข้องกับเรื่อง Postmodern เป็นหนังสือที่ผมคิดว่ามีคุณค่ามาก สำหรับภาษาไทยถ้าใครสนใจเรื่อง Postmodern จริงจังคงพอหาซื้อได้
ความจริงปัญหาในสังคมไทยลึกลับซับซ้อนมากกว่านั้น ถ้าเชื่อตามซามูเอล ฮันติงตัน ซึ่งเป็นผู้ที่ศึกษาอย่างจริงจังตั้งแต่โลกเปลี่ยนการเผชิญหน้าในสงครามเย็นมา ประเด็นสำหรับประเทศไทยอยู่ที่ว่าเราจะเข้าใจความเป็น Postmodern หรือหลังทันสมัยกันได้ไม่ง่าย? เพราะที่จริงแล้วมีบางคนบอกว่าเรายังไม่ได้ทันสมัยเลย แต่ก็มีอีกหลายคนบอกว่ายิ่งกว่าหลังทันสมัยเสียแล้ว
การที่จะวิเคราะห์ว่าไทยเป็นประเทศหลังทันสมัยหรือไม่และเป็นอย่างไรต้องใช้ 2 ทฤษฎีมาวิเคราะห์คือ ทฤษฎีแรก Marxist และทฤษฎีที่ 2 Modernization
พอสรุปได้ว่าถ้าสังคมไทยจะเป็นสังคมทันสมัยต้องมีคุณสมบัติอยู่ 4 ประการคือ 1.จะต้องเป็นสังคมอุตสาหกรรม 2.จะต้องมีความเป็นเมือง 3.จะต้องมีความเป็นตะวันตก และ 4.จะต้องมีชนชั้นกลางเกิดขึ้น
ด้วยเหตุผลที่มีชนชั้นกลางก็หมายถึงว่าระบบกระบวนการผลิตจะต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย ในขณะนี้ยุทธศาสตร์ 4.0 จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายว่าระบบทุนของเราจะขับเคลื่อนไปอย่างไร มีบางคนตั้งข้อสังเกตว่า สังคมไทยยังมีลักษณะพื้นฐานอยู่ 3 ประการในขณะนี้คือ 1.มีความขัดแย้ง 2.มีความไร้ระเบียบ และ 3.มีความสัมพันธ์กันในแบบพหุภาคี ซึ่งเป็นการพูดแบบสุภาพและเป็นวิชาการ แต่ถ้าพูดกันตรงๆก็คือ สังคมมั่ว กล่าวคือ การที่จะหลุดพ้นเข้ามาเป็นสังคมหลังทันสมัย ผู้คนในสังคมต้องมีวุฒิภาวะเพียงพอ แต่ในสังคมไทยยังคงผูกติดอยู่กับความคิดแบบโบราณ อยู่กับความคิดแบบอนุรักษ์นิยม ซึ่งสืบต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว ขณะที่สังคมในประเทศยุโรปได้เข้าสู่ช่วงเวลาของการใช้เหตุและผล เป็นช่วงที่เรียกว่า Enlightenment หรือยุคของแสงสว่างแห่งภูมิปัญญา
สังคมไทยไม่น่าตื่นตัวในการใช้เหตุและผลด้วยตัวเอง แต่เสมือนถูกบังคับให้ทันสมัยจากภายนอก ตรงนี้เองเราจึงมีคำตอบของความเป็นทันสมัยและหลังทันสมัยแบบไทยๆว่า เป็นสังคมของสิ่งที่ไม่น่าจะเข้ากันได้แต่ดันมาอยู่กันได้ ตรงนี้เองคือปัญหาใหญ่
มีผู้ยกเอานิทานเรื่องหนึ่งมาเล่าให้ฟังคือเรื่อง “หนุมานกับอุลตร้าแมน” สิ่งที่ไม่น่าจะอยู่กันได้ แต่ต้องมาอยู่กันให้ได้ในสังคมไทย ตรงนี้เองคือปัญหาใหญ่และน่าจะเป็นต้นเหตุของปัญหาความยุ่งยากทั้งปวง เหมือนกับการปกครองที่เป็นทั้งเผด็จการและประชาธิปไตยไปพร้อมๆกัน ซึ่งไม่รู้จะอยู่กันไปได้อย่างไร แต่ก็ต้องอยู่ให้ได้
สังคมที่เป็น modern ต่อไปก็ต้องยอมเป็น postmodern อย่างเลี่ยงไม่ได้ ทีนี้สังคมไทยจะกลายเป็น postmodern แบบใดก็คงเกี่ยวเนื่องไปจากความเป็น modern ที่ไร้ระเบียบนั่นเอง เพราะเราเป็น modern ที่มาจากความไร้ระเบียบ จัดกลุ่มจัดประเภทไม่ได้ บางทีเราอาจเป็น postmodern ที่แปลกประหลาดจนอาจต้องเรียกเป็น beyond postmodern ที่ไม่เหมือนใครในโลกนี้ก็ได้ เมื่อมองอย่างนี้แล้วจึงทำให้ผมเข้าใจอาจารย์นิธิที่มองปัญหาว่ากำลังอยู่ในลำแสงที่มืดมนของอนาคต เสมือนอยู่ในสภาวะเสี่ยงสูงที่จะเป็นรัฐล้มเหลวหรือใกล้สิ้นชาติอะไรอย่างนั้น
ตอนนี้จะเป็นบรรดานักปราชญ์หรือแม่น้ำกี่ร้อยสายก็ตาม อาจจะตอบโจทย์หาทางออกให้กับสังคมไทยยากมากในแบบโคตรยากเลย อาจจะเหลือเพียงทางเดียวคือ ต้องใช้ “ญาณวิทยา” (epistemology) มาเป็นทางออกก็ได้ หรือแปลอีกความหมายก็เป็นตามบุญตามกรรรม เพราะเราใกล้อยู่กับ black hole of Thailand นั่นเอง
อีกข้อหนึ่งผมมองว่าเหตุที่ทำให้เราจัดประเภทจัดกลุ่มไม่ได้อาจจะสืบเนื่องจากสิ่งที่อิมมานูเอล คานท์ เคยกล่าวว่ามนุษย์เดินมาพร้อมกับสิ่งที่เป็น innate idea และสิ่งนี้เองที่เป็นสภาวะของจิตนิยมอัตวิสัยคือ ทุกคนทุกฝ่ายล้วนคิดเองเออเองไปหมด คือทุกคนใหญ่กันหมดและถูกกันหมดนั่นเอง ถ้าไม่บอกว่าเป็นหลุมดำก็ไม่รู้ว่าจะเรียกอะไรแล้ว
ในขณะนี้หลายคนมองแบบไม่มีความหวัง แต่ผมเห็นว่าสังคมไทยพอจะมีความหวังอยู่ แต่เราต้องทำความเข้าใจมันอย่างจริงจัง ในเหตุการณ์ตอนนี้เหมือนกับสังคมที่กำลังเผชิญหน้ากับสภาวะการยุบตัวของดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาของมันเองจนกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า “หลุมดำ”
หลุมดำหรือเส้นเหตุการณ์เหนือขอบฟ้ามีมวลของมันที่แน่นมากและมีแรงดึงดูดที่มหาศาล โดยมีคุณสมบัติที่แม้แต่แสงก็ถูกดึงดูดหายไป หมายความว่ามันจะดึงดูดทุกสิ่งทุกอย่างหายไปหมดทั้งแนวคิดและทุกทฤษฎี เมื่อถูกนำมาใช้ก็ไม่สามารถตอบคำถามได้ เพราะถูกดูดหายเข้าไปในหลุมดำหมด ผมเข้าใจว่าภาวะหลังทันสมัยของประเทศไทยเป็นอย่างนี้เอง
You must be logged in to post a comment Login