- อย่าไปอินPosted 18 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
‘แลม’ผู้นำหญิงคนแรกฮ่องกง
การเมืองฮ่องกงมีสีสันขึ้นอีกระดับ หลังนางแคร์รี แลม ชนะเลือกตั้งผู้บริหารสูงสุด สร้างประวัติศาสตร์เป็นสตรีคนแรก ที่ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำเขตปกครองพิเศษของจีนแผ่นดินใหญ่แห่งนี้
แลมคว้าชัยการเลือกตั้ง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม ที่ผ่านมา ด้วยคะแนนท่วมท้น 777 เสียง ขณะคู่แข่งอีก 2 คน ได้คะแนน 365 เสียง และ 21 เสียง
เกาะฮ่องกงเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีน แต่จากการที่เป็นสังคมประชาธิปไตยภายใต้การปกครองของอังกฤษมานาน จีนจึงให้สิทธิปกครองตนเอง ภายใต้นโยบาย “1 ประเทศ 2 ระบบ” (One country, two systems)
อย่างไรก็ตาม แม้จะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่ระบบเลือกตั้งของฮ่องกงมีคณะผู้เลือกตั้ง 1,194 คน ทำหน้าที่โหวตเลือกผู้บริหารสูงสุด ประชาชนไม่มีสิทธิลงคะแนน
สำหรับชัยชนะของแลม เป็นไปตามโผ เนื่องจากเป็นผู้สมัครที่พี่ใหญ่จีน “ส่งเข้าประกวด” ทำให้สตรีแกร่ง วัย 59 ปี สร้างประวัติศาสตร์เป็นผู้หญิงคนแรก ที่ได้นั่งเก้าอี้ผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง
แลมมีกำหนดเข้าบริหารงานอย่างเป็นทางการ แทนนายเหลียง ชุนอิ้ง วันที่ 1 กรกฎาคมนี้ โดยมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี
การสร้างประวัติศาสตร์ของแลม เป็นจุดสตาร์ตที่มีสารพัดปัญหา รอประลองพลังและความสามารถ อยู่ข้างหน้า
ที่สำคัญคือปัญหาการแบ่งขั้วการเมืองในสังคม และปัญหาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะราคาที่อยู่อาศัยพุ่งสูง สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนในวงกว้าง
ภาวะความแตกแยกทางการเมืองในสังคม เกิดจากกลุ่มคนรุ่นใหม่มองว่า จีนไม่เปิดทางให้ฮ่องกงเป็นสังคมประชาธิปไตย ตามสัญญาที่ให้ไว้ในวันที่อังกฤษส่งมอบฮ่องกงให้จีน
โดยจีนบงการการบริหารฮ่องกงเบ็ดเสร็จ กลุ่มคนรุ่นใหม่จึงลุกขึ้นมาชุมนุมต่อต้าน ที่เรียกว่า “การปฏิวัติร่ม” (Umbrella Revolution) ขณะขั้วที่นิยมจีน มองการเคลื่อนไหวดังกล่าว ว่าเป็นการป่วนเมือง
แลมประกาศว่า ภารกิจแรกที่จะทำในฐานะผู้นำฮ่องกง คือการสมานรอยร้าวดังกล่าว ตามด้วยการคงความเสมอภาค เสรีภาพสื่อมวลชนรวมทั้งการแสดงออกของประชาชน พิทักษ์สิทธิมนุษยชน และการปฏิบัติตามกฎหมาย
แลมเป็นความหวังใหม่ของชาวฮ่องกงส่วนหนึ่ง ขณะกลุ่ม “ปฏิวัติร่ม” รู้สึกตรงกันข้าม โดยมองว่า แลมเป็นเพียง “หุ่นเชิด” ของจีน และเป็นฝันร้ายของฮ่องกง
ท่าทีดังกล่าวของกลุ่ม “ปฏิวัติร่ม” เป็นหนึ่งในความท้าทายสำคัญ ที่หลายฝ่ายรอลุ้นว่า แลมและทีมงานฝ่ายบริหาร จะจัดการได้มากน้อยแค่ไหน
You must be logged in to post a comment Login