- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
ไม่สง่างาม
คอลัมน์ : โลกวันนี้มีประเด็น
ถูกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐประหารจับใส่โหลดองห้ามยุ่งการเมือง 5 ปี ไปอีกรายสำหรับ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อที่ประชุมสนช.มีมติท่วมท้นด้วยคะแนน 231 เสียง ต่อ 4 เสียง และงดออกเสียง 3 คะแนนให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง
เหตุแห่งการถอดถอนคือ นายสุรพงษ์ ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวหาว่าออกหนังสือเดินทางให้กับดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นการกระทำที่มิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542
โทษของการถูกถอดถอนคือห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองและตำแหน่งในทางราชการเป็นเวลา 5 ปี
นายสุรพงษ์จะเป็นนักการเมืองคนสุดท้ายที่ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งโดย สนช. และในอนาคตสภาจะไม่มีอำนาจถอดถอนนักการเมืองอีก ทั้งนี้ เนื่องจากร่างรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับผ่านประชามติที่รอประกาศใช้โอนอำนาจการถอดถอนนักการเมืองไปให้ศาลฎีกาเป็นผู้ทำหน้าที่แทน
การถอดถอนนายสุรพงษ์ครั้งนี้เป็นเรื่องไม่เหนือไปกว่าความคาดหมาย
แต่มีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่าการถอดถอนทำถูกต้องตามกระบวนการและขั้นตอนหรือไม่ เมื่อ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ หนึ่งในทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย เปิดประเด็นว่าการประชุมสนช.เพื่อแถลงปิดคดีถอดถอนนายสุรพงษ์ในวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมานั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากมี สนช.นั่งประชุมอยู่ในห้องเพื่อฟังการแถลงปิดคดีไม่ถึงครึ่งหนึ่งของจำนวนสนช.ที่มีทั้งหมด 250 คน ซึ่งประเมินกันตามสายตาน่าจะมีประมาณ 50 คน
ทั้งนี้ เคยมีคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญที่ 2/2551, 3/2551 และ 4/2551 เป็นบรรทัดฐานไว้ชัดเจนแล้วว่าองค์ประชุมหมายถึงจำนวนสมาชิกที่นั่งอยู่ในห้องประชุม โดยต้องมีเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด องค์ประชุมไม่ได้หมายถึงจำนวนสมาชิกที่ลงชื่อเข้าประชุมแต่ตัวเองไม่ได้อยู่ในที่ประชุม
เมื่อวันแถลงเปิดคดีมีสนช.ไม่ถึง 50 คน จึงไม่ถือเป็นองค์ประชุม เพราะไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มีอยู่ทั้งหมด 250 คน จึงถือว่ากระบวนการพิจารณาถอดถอนในวาระแถลงปิดคดีไม่ชอบ
แม้จะมีคำแย้ง แม้จะมีคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเป็นบรรทัดฐาน แต่สนช.ก็เดินหน้าโหวตลงมติถอดถอนนายสุรพงษ์ได้และถือว่ามติมีผลแล้ว
โดยมีคำอธิบายง่ายๆจากกูรูกฎหมายฝั่งรัฐบาลคือ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ที่ระบุว่า
“องค์ประชุมจะมีปัญหาเมื่อมีการนับ เมื่อไม่มีการนับแม้จะยกเรื่องนี้มาทักท้วงก็ไม่มีผล”
ทั้งนี้ นายวิษณุเชื่อว่าหากมีการนับองค์ประชุมกันจริงก็จะไม่มีปัญหา เพราะเมื่อ ประธานสนช.กดออดเรียกนับองค์ประชุม สนช.ที่นั่งอยู่นอกห้องก็สามารถเดินเข้ามาให้นับองค์ประชุมได้
ก็เป็นคำชี้แจงที่ตรงไปตรงมา
คำถามคือหากมั่นใจว่ามีสนช.กระจายตัวอยู่ในรัฐสภามากพอที่จะทำให้องค์ประชุมครบตามที่กฎหมายกำหนดคือเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด 250 คน ทำไมตอนนายสุรพงษ์เสนอนับองค์ประชุมจึงรุมคัดค้านไม่ให้ทำโดยอ้างว่านายสุรพงษ์เป็นคนนอกไม่ได้เป็นสมาชิกสนช. ไม่มีสิทธิเสนอนับองค์ประชุม ใช้เวลาโต้แย้งนับชั่วโมงเพื่อดึงเวลาให้ สนช.เดินทางมาห้องประชุมจนมีจำนวนเกินกึ่งหนึ่งจึงลงมติไม่ให้นับองค์ประชุม
นายสุรพงษ์ไม่ได้เป็นสมาชิกสนช.ก็จริง แต่ในเมื่อเป็นจำเลยที่ต้องถูกถอดถอน แค่ต้องการรู้ว่าสนช.อยู่ในห้องประชุมฟังแถลงปิดคดีมีเกินกึ่งหนึ่งหรือไม่ ทำไมไม่มีสิทธิ์ตรงนี้
ที่ลงมติกันท่วมท้น 231 เสียงให้ถอดถอนนั้นไปเอาข้อมูลที่ไหนมาประกอบการตัดสินใจเมื่อไม่ได้นั่งฟังการแถลงปิดคดีในที่ประชุมสภา
You must be logged in to post a comment Login