- อย่าไปอินPosted 19 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
อังกฤษเริ่มขบวนการBrexit
อังกฤษภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีเทเรซา เมย์ ได้ยื่นหนังสือแจ้งความจำนงต่อสหภาพยุโรป (อียู) ขอดำเนินการแยกตัวจากอียู ที่เรียกว่าแผน “Brexit” อย่างเป็นทางการ เมื่อวันพุธที่ 29 มีนาคม ที่ผ่านมา
อังกฤษ ซึ่งเป็นแกนนำของสหราชอาณาจักร(ยูเค) มีกรอบเวลาดำเนินการ 2 ปี หากการเจรจาข้อตกลงใหม่กับอียูเป็นไปอย่างราบรื่น สามารถตกลงเงื่อนไขทั้งหมดได้ตามที่กำหนดไว้ โดยไม่มีการ “ต่อเวลา” เพิ่ม
อังกฤษและยูเคจะเป็นอิสระจากอียู วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562 (ปี 2019)
สำหรับการเจรจา คาดว่าจะเริ่มนัดแรก กลางเดือนพฤษภาคมนี้ โดยประเด็นสำคัญที่ 2 ฝ่าย ต้องทำข้อตกลงกันใหม่ ประกอบด้วยเรื่องการค้าการลงทุน สิทธิของต่างด้าว ด้านความมั่นคง และกระบวนการยุติธรรม
ด้านการค้า ยูเคมีแผนออกจากตลาดอียู หรือ “Single market” ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้า ธุรกิจด้านบริการ และเงินทุนของประเทศสมาชิกอียูทั้งหมด โดยยูเคจะชดเชยด้วยการเจรจาทำสัญญาการค้าเสรีกับอียู
การออกจากตลาดอียู ถือเป็นมาตรการที่นักวิเคราะห์มองว่า จะส่งผลทำให้เกิดความไม่แน่นอนค่อนข้างสูงในช่วงแรก ๆ เนื่องจากผู้ประกอบการหลายประเทศของอียู ต้องย้ายฐานธุรกิจออกจากยูเค ขณะการส่งออกและนำเข้าสินค้า ก็อาจเผชิญภาวะชะงักงันเช่นกัน
ส่วนเรื่องสิทธิต่างด้าว ประเด็นที่ต้องเจรจากัน คือการคุ้มครองสิทธิพลเมืองอียูในยูเค และพลเมืองยูเคที่อยู่ในอียู โดยมีรายละเอียดที่ต้องทำความเข้าใจกันหลายอย่าง
ขณะด้านความมั่นคง ประเด็นที่ต้องเจรจากัน ประกอบด้วยข้อตกลงเรื่องการข้ามพรมแดน การพิจารณาหมายจับของอียู การย้ายสำนักงานอียูออกจากยูเค และสัญญาความร่วมมือด้านข้อมูลข่าวสาร
กระบวนการยุติธรรม เป็นอีกภาคส่วนหนึ่ง ที่ยูเคจะออกจากระบบของอียู และมีแผนจัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กรขึ้นมาทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย เมื่อมีข้อพิพาทกับอียู
สำหรับประเด็นที่นานาชาติ รวมทั้งประเทศไทย เฝ้าติดตามมากที่สุด ได้แก่ เรื่องการค้าการลงทุนว่า จะมีผลกระทบต่อประเทศของตนมากน้อยแค่ไหน
ในส่วนของประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญมองว่า อาจได้รับผลกระทบด้านการส่งออกในระยะสั้น จาก “แรงกระเพื่อมติดพัน” กล่าวคือ หากอียูซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย ได้รับผลกระทบ จะทำให้เกิดแรงติดพันกระเพื่อมมาถึงไทย
ขณะตลาดหุ้นและตลาดการเงิน ก็อาจได้รับผลกระทบระยะสั้นเช่นกัน ในช่วงที่นักลงทุนยังขาดความมั่นใจ
สรุปแล้ว แผน “Brexit” มีแนวโน้มสูงที่จะส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ส่วนพลังจะแรงแค่ไหน ขึ้นอยู่กับผลการเจรจาของอียูและยูเค
You must be logged in to post a comment Login