- อย่าไปอินPosted 18 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
ส่องผลงาน‘ซูจี’ฟื้นฟูพม่า1ปี
การที่นางอองซาน ซูจี นำพรรคเอ็นแอลดี (NLD : National League for Democracy) จัดตั้งรัฐบาลพลเรือนชุดแรกในรอบหลายสิบปีของพม่า เมื่อปีที่แล้ว
ถือเป็นประวัติศาสตร์ ที่สร้างปรากฏการณ์ตามมาหลายกรณี ที่สำคัญส่วนหนึ่ง ได้แก่ ความคาดหวังว่าพม่าจะเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และชาวพม่าส่วนใหญ่ ตั้งความหวังกับซูจีไว้สูงลิ่ว
มีไม่น้อยที่ถึงขั้นมีความรู้สึกว่า ซูจีเป็น “เทพ” มีพลังอำนาจ สามารถ “เสก” ให้เศรษฐกิจพม่ารุ่งเรือง ช่วยให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น
ซูจี ซึ่งเป็นผู้นำรัฐบาลพม่าตัวจริงในภาคปฏิบัติ เข้าบริหารประเทศด้วยบทบาทที่ปรึกษาแห่งรัฐ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
โดยเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ พร้อมรัฐบาลชุดใหม่ เมื่อ 30 มีนาคม ปีที่แล้ว และอีก 7 วันต่อจากนั้น คือวันที่ 6 เมษายน สตรีแกร่งแห่งลุ่มน้ำอิรวดี ก็ควบตำแหน่งที่ปรึกษาแห่งรัฐ
หลังทำงานครบ 1 ปี นักวิเคราะห์และสื่อชั้นนำของโลกหลายค่าย ทำการตรวจสอบผลงานของซูจี และมีการให้คะแนนด้วยมุมมองแบบสรุป ปรากฏว่า เสียงข้างมากโหวตให้ซูจี “สอบตก”
นักวิเคราะห์เสียงข้างมากไม่ปฏิเสธว่า พม่ามีปัญหาสารพัดที่ยืดเยื้อมานาน ทำให้หยั่งรากลึกยากต่อการแก้ โดยเฉพาะปัญหาชนกลุ่มน้อยติดอาวุธ ซึ่งมีหลายสิบกลุ่ม และประเทศปกครองด้วยเผด็จการทหารมานาน ทำให้ระบบต่าง ๆ ของประเทศ ล้าหลังไร้ประสิทธิภาพ
นอกจากนั้น ประเทศยังถูกซ้ำเติมจากการทุจริตคอร์รัปชันของผู้มีอำนาจ ไล่ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ระดับบนลงมาถึงระดับล่าสุด
อย่างไรก็ตาม ด้วยเห็นว่า เท่าที่ผ่านมา ซูจีมีศักยภาพสูงในการต่อสู้กับความอยุติธรรมและเผด็จการ รวมเป็นที่รู้จักของนานาชาติในวงกว้าง ทำให้ผู้สังเกตการณ์และชาวพม่าฝากความหวังไว้กับสตรีแกร่งคนนี้
แต่ 1 ปีผ่านไป กองเชียร์ส่วนหนึ่งเริ่มไม่มั่นใจว่า ซูจีจะทำให้ “ความฝันบรรเจิด” ของตนเป็นจริงได้
ขณะนักวิเคราะห์เสียงข้างมากมองว่า ซูจีเดินแผนผิดพลาด จากการไปเน้นสร้างสันติภาพ คือแผนพยายามสร้างความปรองดองกับชนกลุ่มน้อยติดอาวุธ มากกว่าให้ความสำคัญกับเรื่องปากท้องของประชาชน
และที่ผู้สังเกตการณ์โหวตให้ซูจี “สอบตก” เนื่องจากแผนที่เน้นก็ยังไปไม่ถึงไหน
ขณะการขับเคลื่อนเศรษฐกิจก็ด้อยพลัง ส่วนหนึ่งเนื่องจากนักลงทุนต่างชาติสับสนและไม่มั่นใจกับมาตรการของรัฐบาล ทำให้การลงทุนตรงของต่างชาติ (Foreign Direct Investment) ในปีนี้ มีอัตราลดลงครั้งแรกในรอบ 4 ปี
เมื่อผลงานปีแรก “สอบไม่ผ่าน” ทำให้กองเชียร์ต้องลุ้นหนักในปีนี้ว่า ซูจีจะแก้มือสร้างผลงานได้เป็นชิ้นเป็นอันมากน้อยแค่ไหน
You must be logged in to post a comment Login