- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 1 month ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 1 month ago
- โลกธรรมPosted 1 month ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 1 month ago
- สลายความเกลียดชังPosted 1 month ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
เอเชียจ่อ‘ผู้นำเศรษฐกิจโลก’

ด้วยประเทศในภูมิภาคเอเชียปัจจุบัน ยังคงพึ่งพาตลาดการค้าการลงทุน และผู้บริโภคในภูมิภาคตะวันตกเป็นหลัก โดยเฉพาะสหรัฐและสหภาพยุโรป (อียู)
เมื่อตลาดหลักเข้มงวดการนำเข้าสินค้า โดยใช้มาตรการกีดกันทั้งแบบตรงไปตรงมา และแบบแยบยล ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเอเชียได้รับผลกระทบทั้งรุนแรงและเบาบาง ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ
ปีเตอร์ หว่อง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ธนาคาร HSBC ประจำสำนักงานใหญ่ที่ฮ่องกง เรียกระบบเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันว่า “East-West Corridor” ประเทศตะวันออกคือเอเชีย เป็นผู้ผลิตสินค้า และส่งไปขายในประเทศตะวันตก
แต่อีกไม่นาน ปีเตอร์ หว่อง คาดว่า ระบบเศรษฐกิจโลกจะเปลี่ยนเป็น “East-East Corridor” ชาติเอเชีย “ทำเองใช้เอง” คือผลิตเองและมีตลาดเอเชียด้วยกันรองรับ ไม่ต้องพึ่งพาตลาดส่งออกในตะวันตก
อีกทั้งจะก้าวขึ้นเป็นภูมิภาคหลักของเศรษฐกิจโลกแทนชาติตะวันตก
ปีเตอร์ หว่อง ระบุข้อมูลรองรับการคาดการณ์ของตนว่า ปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันภูมิภาคเอเชียสู่สถานะผู้นำเศรษฐกิจโลก ประกอบด้วยสัญญาข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ของอาเซียน และโครงการเส้นทางเชื่อมต่อนานาชาติ “One Belt, One Road” ของจีน
โดยมีชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อคล่องตัว เป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญด้านการบริโภค
ซีอีโอของ HSBC ระบุว่า การค้าขายระหว่างกันของชาติเอเชียในปัจจุบัน มีมูลค่ามากกว่าการค้าขายกับประเทศนอกภูมิภาคเล็กน้อย ขณะในปี (ค.ศ.) 2020 มูลค่าการค้าขายระหว่างกันจะเพิ่มเป็น 2 เท่า ของการค้าขายกับประเทศนอกภูมิภาค
ส่วนชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่สำคัญ ปัจจุบันชาติตะวันตกมีประมาณ 1,000 ล้านคน ขณะเอเชียจะทะลุจำนวนดังกล่าวในปี 2020 และในปี 2025 หรืออีก 8 ปีข้างหน้า ชาติเอเชียจะขึ้นเป็นภูมิภาคการค้าการลงทุนหลักของโลกแทนชาติตะวันตก
การเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลกของเอเชียจะมั่นคงขึ้นตามลำดับ จากจำนวนชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้น คาดว่าในปี 2030 จะมีมากถึง 65% ของยอดชนชั้นกลางทั่วโลก ขณะอเมริกาเหนือรวมกับยุโรปจะมีประมาณ 30%
มุมมองดังกล่าว เป็นการคาดการณ์เศรษฐกิจในภาพรวมระดับมหภาคของเอเชีย
ขณะสัดส่วนของพัฒนาการแยกเป็นรายประเทศ ย่อมแตกต่างกันไป
ดังนั้น การที่เพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกันมั่งคั่ง จึงไม่ได้หมายความว่า ประเทศของตนจะมีมาตรฐานด้านการครองชีพในระดับอยู่ดีกินดีเสมอไป
You must be logged in to post a comment Login