- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 1 month ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 1 month ago
- โลกธรรมPosted 1 month ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 1 month ago
- สลายความเกลียดชังPosted 1 month ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
‘จีน-พม่า’ขนส่งน้ำมันมิติใหม่

โครงการ “หนึ่งแนวเขตหนึ่งเส้นทาง” (One Belt, One Road) ของจีน เป็นเมกะโปรเจกต์ทางเศรษฐกิจ ที่นักสังเกตการณ์ทั่วโลก ติดตามพัฒนาการด้วยความสนใจ
หัวใจของ “One Belt, One Road” คือการสร้างเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างจีนกับนานาชาติ จุดประสงค์เพื่อขับเคลื่อนการค้าการลงทุนให้เติบโต และขยายอาณาเขตกว้างไกลออกไป
ปัจจุบัน มีหลายโครงการภายใต้แผน “One Belt, One Road” โดยท่อส่งน้ำมันดิบจากพม่าสู่จีน เป็นโครงการหนึ่งของเมกะโปรเจกต์นี้ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2008 และแล้วเสร็จปี 2014 แต่ไม่สามารถเปิดใช้งานได้ เนื่องจากจีนอ้างว่าพม่า “เคาะ” ค่าธรรมเนียมสูงเกินไป
แต่ในที่สุด 2 ประเทศก็บรรลุข้อตกลง ทำให้จีนใช้ท่อส่งได้ตั้งแต่ 10 เมษายน เป็นต้นมา
ท่อส่งน้ำมันดิบที่วางคู่ไปกับท่อส่งก๊าซธรรมชาติแห่งนี้ มีจุดเริ่มต้นจากท่าเรือน้ำลึกเกาะมาเดย์ (Made Island) ของเมืองจ้าวผิ่ว (Kyaukpyu) รัฐยะไข่ ซึ่งอยู่ในเขตอ่าวเบงกอล ทะเลอันดามัน ทางภาคตะวันตกของพม่า ไล่ยาวขึ้นไปถึงโรงกลั่นที่นครคุนหมิง มณฑลยูนนานของจีน รวมระยะทาง 771 กิโลเมตร
สำหรับท่อส่งก๊าซ ซึ่งขยายไปถึงนครหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างสีจ้วง รวมความยาว 2,806 กิโลเมตร จีนใช้ส่งก๊าซตั้งแต่ปี 2013 หรือเมื่อ 4 ปีที่แล้ว
ผู้ประกอบการที่ใช้บริการท่อส่งนี้ ซึ่งส่วนของท่อส่งน้ำมันดิบ สามารถรองรับการส่งน้ำมันได้ปีละ 22 ล้านตัน ได้แก่ PetroChina บริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจ China National Petroleum Corporation มีเรือคลาสใหญ่สุดชื่อ United Dynamic เป็นเรือหลักในการขนส่ง
จีนได้ประโยชน์ชัดเจนจากโครงการนี้ โดยใช้เป็นทางลัดขนส่งน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางและแอฟริกา ช่วยประหยัดต้นทุน อีกทั้งเดินทางถึงจุดหมายเร็วขึ้น
แตกต่างจากเส้นทางเดิม ที่ต้องเดินเรืออ้อมจากทะเลอันดามัน ผ่านช่องแคบมะละกา ซึ่งอยู่ระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ออกสู่ผืนน้ำกว้างของทะเลจีนใต้
จีนได้ประโยชน์เป็นกอบเป็นกำ ส่วนพม่า นักวิเคราะห์มองว่า จะได้ประโยชน์ในระยะสั้นไม่มากนักจากค่าธรรมเนียม และส่วนแบ่งน้ำมัน แต่จะส่งผลดีต่อพม่าในระยะยาว โดยเฉพาะการได้ประสบการณ์จากจีนด้านก่อสร้างระบบพื้นฐานของโครงการพลังงาน
ผู้เชี่ยวชาญของจีน ยกความสำเร็จของโครงการนี้ เป็นแนวทางแนะประเทศที่ยังลังเลไม่ยอมร่วมมือกับจีนตามแผน “One Belt, One Road” ทำนองว่า
ควรตัดสินใจร่วมมือกับจีนโดยเร็ว เพื่อจะได้ประโยชน์ร่วมกัน
You must be logged in to post a comment Login