- อย่าไปอินPosted 21 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
‘ทรัมป์’ชูแผนกระหน่ำลดภาษี
การปฏิบัติหน้าที่ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ เท่าที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะเรียกเสียงฮือฮาได้ในวงกว้าง เนื่องจาก “กล้าทำ” ในสิ่งที่คาดไม่ถึง
ปฏิบัติการล่าสุดของทรัมป์ ยังคงรักษามาตรฐานด้านพลังดึงดูดความสนใจไว้ได้แบบแรงไม่มีตก
นั่นคือ แผนลดภาษีครั้งใหญ่ ซึ่งนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐ ระบุว่า เป็นแผนลดภาษีและปฏิรูประบบภาษีครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ
ถือเป็นแผน “จัดหนักจัดเต็ม” หรือแผน “ลดกระหน่ำ” ของผู้นำสหรัฐที่ชื่อ “โดนัลด์ ทรัมป์”
กล่าวเฉพาะส่วนสำคัญที่เกี่ยวกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ประกอบด้วยแผนลดภาษีภาคธุรกิจ หรือภาษีนิติบุคคล จากปัจจุบัน 35% ลงไปที่ 15%
แผนลดภาษีการนำเงินได้เข้าสหรัฐ เพื่อกระตุ้นให้บริษัทสหรัฐในต่างประเทศ ส่งรายได้ดังกล่าวเข้าสหรัฐ โดยแผนนี้ยังไม่เปิดเผยตัวเลขที่เตรียมลด คาดว่าอาจลดจากปัจจุบัน 35% ลงไปที่ 15% หรือไม่ก็ 10%
อีกรายการหนึ่ง คือแผนเรียกเก็บภาษีเงินได้เฉพาะส่วนที่ทำได้ในสหรัฐ โดยเปลี่ยนจากกฎระเบียบปัจจุบัน ที่บริษัทสหรัฐต้องจ่ายภาษีเงินได้ ซึ่งได้จากทุกสาขาในต่างประเทศทั่วโลก
และรายการสุดท้าย คือแผนปรับเปลี่ยนมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมส่งออกและนำเข้าสินค้าผ่านด่านพรมแดน ซึ่งยังไม่เปิดเผยรายละเอียด
ทีมงานรัฐบาลเตรียมนำร่างนี้ เข้าพิจารณาและลงมติในสภาคองเกรส เป็นลำดับต่อไป
นายแกรี โคห์น ประธานคณะที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจประจำทำเนียบขาว ให้เหตุผลที่ดำเนินโครงการนี้ว่า เพื่อกระตุ้นการจ้างงาน การลงทุน และการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
แม้จะเป็นแผน “ดูดี” สำหรับฝ่ายเห็นด้วย แต่ฝ่ายคัดค้านกลับมองว่า เป็นมาตรการเสี่ยงต่อการผลักประเทศลงสู่ “หุบเหว” แห่งการขาดดุลงบประมาณ เนื่องจากทำให้ภาครัฐขาดรายได้จำนวนมหาศาล
เมื่อ “ขาใหญ่” อย่างสหรัฐขยับ โดยเฉพาะการขยับทางเศรษฐกิจ มักจะเกิดแรงกระเพื่อมรู้สึกได้ในวงกว้างและไปได้ไกลทั่วโลก ทำให้ประเทศขนาดย่อมอย่างไทย ยากที่จะหลบมุมรอดพ้นแรงกระทบได้
สำหรับผลเชิงบวก ภาคส่วนในไทยที่จะได้ประโยชน์โดยตรง ได้แก่ บริษัทของไทยที่มีสาขาอยู่ในสหรัฐ และบริษัทสหรัฐที่เข้ามาประกอบธุรกิจในไทย
อย่างไรก็ตาม ด้วยโครงการนี้เป็นแผนงานใหญ่ มีความซับซ้อนสูง จึงคาดกันว่าสภาคองเกรสจะใช้เวลาถกเถียง ปรับปรุงเนื้อหานานหลายเดือน บางรายการอาจยืดเยื้อไปถึงปีหน้า
ขณะนักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งมองว่า มีหลายรายการที่ไม่น่าจะผ่านมติสภา
You must be logged in to post a comment Login