- ปีดับคนดังPosted 5 hours ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 day ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 3 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 3 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 7 days ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 1 week ago
- หนีกรรมไม่พ้นPosted 2 weeks ago
Busan Times บ้านเค้าแมว / โดย วรวุฒิ สารพันธ์
คอลัมน์ : Inspire Living
ผู้เขียน : วรวุฒิ สารพันธ์
สถาปนิกแดนโสม เกาหลีใต้ ที่ชื่อ มูน ฮูน (Moon Hoon) มีผลงานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ถ้าดีไซน์แบบธรรมดาไม่แหวกแนวถือว่าไม่ใช่ผลงานของมูน ฮูน
บ้านหลังนี้เป็นหลักฐานหนึ่งที่ยืนยันความเป็นตัวตนดังกล่าวของสถาปนิกคนนี้
มูน ฮูน ออกแบบบ้านโครงสร้างแปลกตาหลังนี้ให้ครอบครัวคนรุ่นใหม่ที่ปูซาน เมืองชายทะเลชื่อดังในภาคใต้ของเกาหลีใต้
เจ้าของบ้านทำงานในธุรกิจรักษาความปลอดภัย ซึ่งเป็นอาชีพที่ผู้ทำงานต้องตื่นตลอดเวลาในกะกลางคืน ทำให้มูน ฮูน ปิ๊งไอเดีย ออกแบบบ้านทรงนกเค้าแมวหรือนกฮูกมานำเสนอ ตั้งชื่อบ้านว่า “Busan Times”
เจ้าของบ้านเห็นดีเห็นงามด้วย งานก่อสร้าง “บ้านนกเค้าแมว” จึงเริ่มขึ้น
บ้าน 4 ชั้นครึ่ง สร้างบนแปลงที่ดินกว้าง 49 ตารางวา ภายในตัวบ้านมีพื้นที่ใช้ประโยชน์ 286 ตารางเมตร
โฉมภายนอกที่สะดุดตานอกจากโครงสร้างคล้ายนกฮูก ซึ่งบางคนมองว่าคล้ายหุ่นยนต์แล้ว ยังเด่นด้วยรูปทรงเหลี่ยม ด้านข้างด้านหนึ่งมีส่วนยื่นออกมาต่างระดับกัน และใช้ปูนเปลือยโดยไม่แต่งแต้มสี
สำหรับส่วน “หัว“ นก คือส่วนบนสุดของบ้าน ถ้าเปิดไฟตอนกลางคืน มองจากด้านหน้าคล้ายนกฮูกจ้องดูแลความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา
เอกลักษณ์อีกส่วนหนึ่งคือหน้าต่างกระจก ออกแบบไว้รอบด้านจำนวนมาก ประตูเข้าภายในตัวบ้านก็ใช้กระจกเช่นกัน และมีลานสนามหญ้ากว้างอยู่บนชั้น 3
สำหรับห้องต่างๆในแต่ละชั้น เริ่มจากชั้นแรกออกแบบเป็นห้องโถงใหญ่ห้องเดียว ใช้เป็นห้องพบปะเจรจาทางธุรกิจ นอกจากนั้นก็มีห้องสุขาและห้องเก็บของอยู่ด้านหลัง
ชั้น 2 ประกอบด้วยห้องนอนแขก 3 ห้อง พื้นที่ตรงกลางแบ่งเป็น 2 ส่วน แต่ละส่วนประกอบด้วยโซนครัว โต๊ะอาหาร และห้องรับแขก
ชั้น 3 เป็นพื้นที่ส่วนตัวของครอบครัว โดดเด่นด้วยลานสนามหญ้ากว้างสำหรับใช้พักผ่อนและออกกำลังกาย ส่วนห้องประกอบด้วยห้องพักผ่อน โซนครัว และโต๊ะอาหาร
ส่วนบริเวณ “คอ” นก มีห้องพร้อมหน้าต่างกระจกยื่นออกมาที่มุมด้านขวา ถือเป็นส่วนครึ่งชั้นของบ้าน จัดเป็นห้องเด็กเล่น
ขณะที่ชั้นบนสุดประกอบด้วยห้องนอนพ่อแม่ ห้องแต่งตัว ห้องสมุด ห้องน้ำ และห้องนอนลูกอยู่ด้านหลังสุด โดยห้องนอนลูกออกแบบหลังคากระจกทรงกลมขนาดเล็กไว้เหนือที่นอน เป็นลูกเล่นสำหรับใช้รังสรรค์อารมณ์ให้เด็กๆส่วนหนึ่ง
สถาปนิกผู้ออกแบบบอกว่า โดยปรกติแล้วเป็นคนกลัวนกฮูก แต่ภูมิใจกับผลงานนี้ เนื่องจากสามารถสะท้อนอาชีพของเจ้าของบ้านได้อย่างเด่นชัด
You must be logged in to post a comment Login